เมื่อเร็วๆ นี้ที่ สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา อำเภอควนขนุน จ.พัทลุง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. พร้อมทีมนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. ลงพื้นที่เยี่ยมชมสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด อ.ควนขนุนจ.พัทลุง โดยมีนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายสมศักดิ์ บุญโยม รักษาราชการแทนสหกรณ์จังหวัดพัทลุง ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำยางข้นพาราฟิต ParaFIT เพื่อใช้แปรรูปเป็นหมอนและที่นอนยางพาราที่ได้คุณภาพจากฝีมือเกษตรกรชาวสวนยาง จ.พัทลุง ทั้งนี้มีคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ พร้อมสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ให้การต้อนรับ
น.ส.ปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส หนึ่งในทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้พัฒนาน้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และลดระยะเวลาการบ่มน้ำยางพาราข้น สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่มีคุณภาพดี ทดแทนการใช้น้ำยางพาราข้นทางการค้า ที่ใชกันอยูในปจจุบันมีสวนผสมของแอมโมเนีย ซิงกออกไซด (ZnO) และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ (TMTD) ชวยปองกันไมใหน้ำยางเกิดการบูดเนา แต่แอมโมเนียเปนสารเคมีที่ระเหยงาย มีกลิ่นฉุนรุนแรง ทำลายสุขภาพ สรางมลภาวะ ตอสิ่งแวดลอม และทำใหน้ำยางพาราขนมีสมบัติไมคงที่ ซิงกออกไซด์มีสวนประกอบที่เปนโลหะหนัก อีกทั้งเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด เปนสารที่กอใหเกิดสารไนโตรซามีน (สารกอมะเร็ง) และต้องมีขั้นตอนการบมน้ำยางพาราขนและขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราขนใหอยูในระดับเหมาะสมก่อนจะนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพาราได้
ดังนั้นทีมวิจัยเอ็มเทค ได้ทดลองผลิตน้ำยาง ParaFIT โดยใชเครื่องจักรอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตน้ำยางพาราขน และทดสอบสมบัติของน้ำยาง ParaFIT ที่ไดตามข้อกำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก. 980-2552 และ ISO 2004-2017) กระทั่งได้สูตรน้ำยาง ParaFIT ซึ่งมีปริมาณแอมโมเนียต่ำกวา 0.20% โดยน้ำหนักน้ำยาง (น้ำยางพาราขนทางการคามีปริมาณแอมโมเนีย 0.3-0.7% โดยน้ำหนักน้ำยาง) ช่วยให้ระยะเวลาการบมน้ำยางพาราขนลดลง กอนนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑยาง ทำให้ไมตองมีขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราขนกอนนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพารา จึงช่วยลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิต ลดกลิ่นฉุนของแอมโมเนียในโรงงาน เปนมิตรตอคนและสิ่งแวดลอม
นายอนันต์ จันทร์รัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อต้นปี 2560 สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ได้เริ่มดำเนินการผลิตและแปรรูปหมอนจากน้ำยางข้น 60% ที่ซื้อมาจากบริษัทเอกชน แต่ยังประสบปัญหาขาดทุน ต่อมาช่วงกลางปี 2560 ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. เข้ามาสอนการผลิตน้ำยางข้น 60% จึงสามารถเริ่มรับน้ำยางสดจากสมาชิกสหกรณ์ฯ นำมาผลิตน้ำยางข้น 60% ที่แอมโมเนียต่ำมากสำหรับการผลิตโฟมยาง หรือน้ำยางพาราข้น ParaFIT ใช้เองได้จนถึงปัจจุบัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนได้ ทำให้สามารถผลิตหมอนยางพาราได้และช่วยลดเวลาในการบ่มน้ำยางจากเดิม 21 วัน เหลือเพียง 3 วัน จึงชวยลดเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อน้ำยางพาราสด (3-6 ล้านบาทในแต่ละรอบ) และช่วยลดความเสี่ยงที่น้ำยางจะเกิดการบูดเน่า อีกทั้งผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราที่ผลิตจาก ParaFIT ยังมีคุณภาพดี มีเนื้อสัมผัสที่นุ่น เนียน สีขาวสวย โดยไม่ต้องนำไปผ่านการฟอก และมีกลิ่นน้อยลง
ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสหกรณ์ฯ มีสมาชิก 299 ครอบครัว นำน้ำยางข้น ParaFIT แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา ภายใต้แบรนด์ ‘ตะลุงลาเท็กซ์’ โดยหมอนยางพารา รุ่น ‘เปี่ยมสุข’ ประกอบด้วย หมอนหนุน หมอนรองคอ หมอนเด็ก ที่นอนเด็ก และหมอนข้าง มียอดจำหน่ายดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราที่ไม่คงที่ เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 20 ตำแหน่ง เกิดกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตไม่น้อยกว่า 100 ครอบครัว ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ใกล้เคียงใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแพรกหา ตำบลนาขยาด อ.ควนขนุน และตำบลชุมพล อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ครอบคลุมพื้นที่สวนยางราว 3,000 ไร่ และเป็นแหล่งผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่ใหญ่ที่สุดใน จ.พัทลุง
ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป สหกรณ์ฯ มีแผนจะใช้น้ำยางข้น ParaFIT ในการผลิตตามยอดสั่งจองสินค้าล่วงหน้า (ออเดอร์) เนื่องจากได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าหลัก ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายที่ทำสัญญาร่วมกัน และลูกค้าที่รอรับซื้อจากสหกรณ์ฯ เพื่อส่งออกไปยังลูกค้าที่ประเทศจีน นอกจากนั้นแล้วสหกรณ์ฯเตรียมปรับปรุงเครื่องจักรให้พร้อมสำหรับการรับผลิตตามออเดอร์สินค้าให้ได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 ใบ หรือประมาณ 800 ใบต่อวัน โดยขณะนี้มีออเดอร์หมอนยางพาราอยู่ที่ 50,000 ใบ ที่ต้องรอส่งมอบให้ลูกค้า อย่างไรก็ตามคาดว่าหลังจาก ParaFIT ได้รับการตอบรับจากลูกค้า สหกรณ์ฯ จะสามารถรวบรวมน้ำยางสดจากสมาชิกสหกรณ์ฯ ในราคาน้ำยางสดนำราคาน้ำยางสดในท้องถิ่นได้
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราหรือยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตได้มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี แต่สัดส่วนการใช้ยางพาราในประเทศยังมีไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตและการส่งออก ดังนั้นการดำเนินการเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาด้านบุคลากรและเทคโนโลยี จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมยางของประเทศ ดังนั้นทีมวิจัยได้ลงพื้นที่และทำงานร่วมกับ สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี จนกระทั่งเกิดเป็นผลงานน้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ คือ ParaFIT สำหรับการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราโดยเฉพาะ ทำให้สามารถผลิตสินค้าจากยางพาราขายสู่ท้องตลาดแล้วกว่า 5 เดือน (ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2562) มีการผลิตน้ำยาง ParaFIT มากถึง 4.5 ตัน
“การนำนวัตกรรมน้ำยางข้น ParaFIT มาใช้กับสหกรณ์ฯ คือการนำนวัตกรรมในการใช้สารเคมี ที่มีความปลอดภัยกับคนทำงานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ช่วยลดต้นทุน ซึ่งหัวใจสำคัญเมื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราแล้ว ช่วยลดระยะเวลาในการผลิตสั้นลงจาก 21 วัน เหลือเพียง 3 วัน มูลค่าเงินลดลง 5-6 ล้านบาทต่อ 2 ตันน้ำยาง โดยสิ่งที่จะทำต่อจากนี้ คือผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่แล้วจะยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานอุตสาหกรรมรองรับ ตั้งแต่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ระดับประเทศ ระดับสากลและต่อไป” ดร.จุลเทพ กล่าว
นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวภายหลังลงพื้นที่ ว่า จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ปลูกยางพาราเกือบ 1 ล้านไร่ อาชีพหลักของเกษตรกรคือปลูกยางพารา ซึ่งจากการลงพื้นที่ชมกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา พบว่า สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด มีความเข้มแข็งที่จะแปรรูปน้ำยาข้น เป็นผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา ซึ่งได้นวัตกรรมการผลิตน้ำยางข้น ParaFIT จาก เอ็มเทค สวทช. ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ยางพารามีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการช่วยลดต้นทุน การรักษาสุขภาพของผู้ผลิตจากการใช้แอมโมเนียที่ต่ำกว่าทั่วไป คุณภาพหมอนแข็งแรง ยืดหยุ่น และ ช่วยลดระยะเวลาการผลิตจาก 21 วันเหลือเพียง 3 วัน ดังนั้นนวัตกรรม ParaFIT คือโจทย์สำคัญที่จะยกระดับราคายางพารา
โดยในเบื้องต้นจังหวัดพัทลุงจะคิดร่วมกับ สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ เพื่อหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งผลิตจากยางพาราและเป็นที่ต้องการของตลาด เน้นเรื่องสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพาราให้มีมากขึ้น โดยปัจจุบันสหกรณ์ฯ ที่รับน้ำยางอยู่วันละ 2 ตันต่อวัน คาดว่าจะรับได้เพิ่มขึ้นเป็น 8 ตันต่อวัน ซึ่งจะทำให้ชาวสวนยางจังหวัดพัทลุงสามารถขายยางได้มากขึ้นได้ราคาดีขึ้น และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นด้วย