พื้นที่ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบที่ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีของดีมากมาย ครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนทรายขาวคุณภาพ ระดับ 5 ดาว ติดTop Five ระดับประเทศ ผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยหิน ส้มแขก ผ้าทอลายจวนตานี และรถจิ๊บนำเที่ยวโบราณสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โดดเด่น ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาได้การตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดเด่นที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงชุมชน 2 วิถี ไทยพุทธ และไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ในชุมชนมายาวนานพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากว่าร้อยปี
ที่แห่งนี้ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมาก อยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวแหล่งท่องเที่ยวอุทยานที่ด้านทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีผู้มาเยือนมากที่สุดอันดับ 1 ของประเทศ มี จุดชมวิวองค์พระใหญ่บนยอดเขา มีจุดน่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น ผาพญางูยักษ์ ถ้าวิปัสนาสมเด็จหลวงปู่ทวด ชุมชนได้ถูกผลักดันโดยหน่วยงานต่างๆมาปรับในชุมชนของตนเองมาปรับใช้พัฒนาให้เกิดอาชีพ ทั้งทางด้านภาษา การเป็นล่าม การเป็นมัคคุเทศก์ หรือไกด์ท่องเที่ยว การสร้างที่พัก การทำสินค้า O-Top และแปรรูปสินค้าที่หลากหลาย การบริการและจัดการบริหารการนำนักท่องเที่ยวมา เยี่ยมชมในพื้นที่ โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) อพท.
นายชนินทร์ เศียรอินทร์ ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทรายขาว และสมาชิกชุมชนท่องเที่ยวบ้านทรายขาว เปิดเผยว่าชุมชนของเราได้ร่วมพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่งสำหรับขุมชนต้นแบบการท่องเที่ยว จากชุมชนสู่ชุมชน เราจัดการชุมชนให้มีการท่องเที่ยวที่หลากหลายเช่นกิจกรรมชมสถาปัตยกรรม 2 ศาสนา คือ มัสยิดควนลางา มัสยิดโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 300 ปี ของศาสนาอิสลาม และวัดทรายขาว สร้างขึ้นในปีพศ.2300 ภายในวัดมีอุโบสถ อาคารแปดเหลี่ยมหลังคาทรงกลมแหลมยอดประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และมีที่พักแบบโฮมสเตย์ สามารถดูกิจกรรมชมสวนผลไม้ ด้วยการนำนักท่องเที่ยวนั่งรถจิ้บเข้าป่าลุยเยี่ยมชาวบ้านชาวสวนได้ทานอย่างอิ่มหนำสำราญ ผลไม้ในฤดูกาล ซึ่งมีรสชาติคุณภาพดีเลิศทั้ง ทุเรียน เงาะ ลองกองและมังคุด นอกจากนี้ ยังมีที่นี่ยังมีฐานการการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ ได้แก่การทอผ้าลายจวนตานี ผ้าทอดั้งเดิมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ส้มแขกแช่อิ่ม และกล้วยเส้นทรงเครื่อง มีอาหารท้องถิ่นไว้คอยบริการต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ได้ประทับใจ อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากท่องเที่ยวสำคัญๆของ จังหวัดปัตตานี เช่น วัดช้างให้ สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว วังยะหริ่ง และ มัสยิดกรือเซะ เป็นต้น
นายสุเทพ เกื้อสังข์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กล่าวว่า จากการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ได้ทำงานมาต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายปีนี้ เห็นว่าที่นี่มีความชัดเจนมากขึ้นไม่เฉพาะที่ปัตตานีเท่านั้น ทั้ง 3 จังหวัดสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก พื้นที่ สวยงามไม่แพ้ที่ไหน มีทรัพยากรทั้งทางทะเล ภูเขา วัฒนธรรม ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาเยือนได้ จากปี61 เริ่มขยายเป็น 6 ชุมชน และปี 62ต่อยอดไปอีก 6 ชุมชน ต่อไปด้วยการเชื่อมโยงกับแผนของทางศอ.บต.ได้กำหนดชุมชนตัวอย่างทั้ง3 จังหวัดอีก32 ชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ทำคือการเต็มเต็มเพิ่มสิ่งที่ขาด สู่การต่อยอดเพิ่มสิ่งที่ดีขึ้น ไปสู่ความยั่งยืนโดยแท้จริง จากที่เราได้ผลักดันตามแผนพัฒนาชุมชนโดยใช้เครื่องมือที่ครบมิติ 5 ด้าน คือ กลไกการจัดการแบบมีส่วนร่วม, การส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต, การฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น, การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและสุดท้ายคือการบริการและความปลอดภัย เมื่อชุมชนได้เข้าใจ และได้ปฏิบัติจนสำเร็จแล้วพวกเขาจะสามารถจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็งต่อไปข้างหน้าในปีถัดไปชุมชนต้นแบบจะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับอีก 32 ชุมชน เพราะในเรื่องภูมิสังคมที่คล้ายๆกัน จะดูแลกันได้ เป็นสิ่งที่คาดหวังไว้ว่าการจัดการท้องถิ่นจะพัฒนาสู่เศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนและแบ่งปันความรู้กันต่อๆไป







