คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ลงพื้นที่พบกลุ่มผู้เรียน อศ.กช.(อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท) และลงพื้นที่แปลงผักซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการยกระดับเกษตรกรให้เกิดองค์ความรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ขณะที่เกษตรเผย หลังได้เข้าโครงการโรงเรียน(อศ.กช.) วันที่14 สิงหาคม2562 เวลา 11.00น ที่แปลงผักบ้านหนองบัวชุม ต.นาภู อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ลงพื้นที่พบกลุ่มผู้เรียน อศ.กช.(อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท) พร้อมฟังบรรยายสรุป และลงพื้นที่แปลงผักซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการยกระดับเกษตรกรให้เกิดองค์ความรู้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งใคร ๆ ก็สามารถเรียนได้ ตั้งแต่อายุ 17-70 ปีบริบูรณ์ โดยโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) เดิมเป็นโครงการอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท สำหรับประชาชนวัยทำด้านด้านอาชีพเกษตรกรรม โดยรับผู้ที่จบการศึกษากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาประดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ ประเภทวิชาเกษตรกรรม หลักสูตร 5 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยสถานศึกษาจัดครูไปสอนที่แหล่งเรียนรู้ชุมชนและในฤดูกาลที่ว่าจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท และเปลี่ยนหลักสูตรเป็นรับผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาต่อประดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรกรรม หลักสูตร 3 ปี และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หลักสูตรอาชีพศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคนไทยจะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม ได้รับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้จัดการเรียนการสอนโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) ให้กับเกษตรกร เพื่อการพัฒนาให้มีคุณวุฒิวิชาชีพเกษตรกร สาขางานการเกษตรระดับ ปวช. และพัฒนาความรู้ตลอดจนทักษะอาชีพทางเกษตรให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้ในปีการศึกษา 2558 ได้จัดการเรียนการสอนแบบฐานอาชีพ (Project Based Learning) หรือกระเช้าอาชีพ โดยการบูรณาการรายวิชากับฐานอาชีพการเกษตร เรียน 6 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 1 อาชีพ ตลอดหลักสูตรรวม 6 อาชีพ ใช้เวลาเรียน 3 ปี ประกอบด้วย ด้านการผลิตพืช เลือกเรียน 2 อาชีพ ได้แก่ การเพาะเห็ด การปลูกผักอินทรีย์ การปลูกข้าวโพดระบบแม่นยำ และการขยายพันธุ์พืช ด้านการผลิตสัตว์ เรียน 2 อาชีพ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ (โค-กระบือ) และการเลี้ยงสัตว์ปีก ด้านการผลิตสัตว์น้ำ เลือกเรียน 1 อาชีพ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงกบ การเพาะเลี้ยงปลา ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ 1 อาชีพ นางจุฬาลักษณ์ บินไธสง อศ.กช.หนองบัวชุม ต.นาภู อ.ยางสีสุราช เปิดเผยว่าโดยเริ่มต้นทำเกษตรปลอดสารในปี พ.ศ..2559 จากที่ดินสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ ห่อนหน้านี้เคยเป็นสนามฟุตบอลโดยกลุ่มกลุ่มกัน19คนลงขันคนละ500บาท ซึ่งมีการปลูกผักที่กินได้ เช่น ผักบุ้ง ผักสลัด ต้นหอม ผักกาด คะน้า ตนเองมีพื้นที่ปลูกผักทั้งหมด 10 แปลง ก่อนที่จะมาเรียน อศ.กช. ก็เหมือนต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างปลูกผัก ใครจะปลูกอะไรก็แล้วแต่ แต่พอได้มาเรียน ก็ได้รู้ว่าผักชนิดไหน ควรปลูกเวลาไหน การปรับปรุงบำรุงดินต้องทำอย่างไร การผลิตปุ๋ยหมัก การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ต้องทำอย่างไร ซึ่งแปลงผักที่แบ่งกันกับเพื่อนบ้านทุกแปลงจะเป็นแปลงปลอดสารเคมี มีการปรับปรุงดินคือเอาแกลบดิบ แกลบดำ ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ มาบำรุงดิน จากนั้นนำผลผลิตลงปลูก ส่วนปุ๋ยบำรุงผัก จะทำขึ้นมาเอง โดยการทำจากกากถั่วเหลือง เปลือกสับปะรด EM น้ำซาวข้าวกับน้ำตาลผสมรวมกัน 15 วันและนำมารดในแปลงผัก วิธีการปลูกผักโดยการหลอกล่อแมลงคือปลูกผักแต่ละชนิดโดยไม่ซ้ำแปลง จากที่เคยปลูกผักบุ้งเมื่อเก็บผักบุ้งไป ก็จะปลูกผักชนิดอื่นขึ้นมาแทนเนื่องจากแมลงจะมาไข่ที่ผักบุ้ง หากปลูกซ้ำแปลงเดิมแมลงที่เกิดขึ้นก็จะมากินผักในแปลงเดิม เรียกว่า การปลูกผักหลอกล่อแมลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ จนตอนนี้แปลงผักของตนและแปลงของเพื่อน ๆ ที่อยู่บริเวณนี้อีกหลายสิบแปลง มีการผลิตผักอินทรีย์ปลอดสารเคมี 100% สามารถส่งผลผลิตขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่กรุงเทพฯ มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว ลูกหลานไม่ต้องไปทำงานที่อื่น มาช่วยกันปลูกผ้า สร้างความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า อศ.กช. ถือเป็นทางรอดของเกษตรกรไทยทุกคน ตนเองยืนยันคำนี้ เพราะดิฉันเป็นเด็กบ้านนอก เป็นคนอีสานนึกอยู่ตลอดเวลาว่าทำไมเกษตรกรแม้กระทั่งลูกชาวไร่ชาวนาก็ไม่อยากให้ลูกเรียนเกษตรกรเพราะอะไร แต่วันนี้เรามีคำตอบแล้วว่าอาชีพเกษตรคืออาชีพที่ยั่งยืน แต่ขอเพิ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เนื่องจากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สามารถสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรไทยตามนโยบายที่เคยให้ไว้อยู่ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อครั้งที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ก็มองเห็นว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสร้างงานสร้างเงินสร้างคุณภาพชีวิต และเป็นการจุดประกายกระตุ้นเตือนให้พวกเราไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็สามารถที่จะเข้าโครงการ อศ.กช. นี้ได้ และเมื่อเข้ามาแล้วก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด และสามารถจับเงินล้านได้จริงภายใน 5 ปี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน มีจิตอาสาที่จะทำเพื่อชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้ได้สั่งการให้ทุกวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทุกแห่งปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นในพื้นที่ของวิทยาลัยเองปลูกต้นไม้มีค่า เช่น พะยูง สัก ปลูกไม้ท้องถิ่น ปลูกไม้กินได้ โดยจะเริ่มหน้าฝนนี้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มป่าให้กับชุมชนไปพร้อมกัน