วัฒนธรรมจังหวัดลำพูนลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ “หมู่บ้านป่าป๋วย” หลังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านในเชิงรักษาวัฒนธรรมอันดีงามช่วยประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก ช่วยเพิ่มช่องทางการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนศิลปะโบราณที่คงความงดงามสืบมาชั่วหลายอายุคน และผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาลานธรรมพาไปดูหอไตรวัดป่าป๋วย ตั้งอยู่ เลขที่ 158 หมู่ที่ 3 บ้านป่าป๋วย ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านโฮ่ง ประมาณ 5 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทาง 106 สายลำพูน-ลี้ มุ่งหน้าไปทางอำเภอลี้ แล้วเลี้ยวขวาที่หอนาฬิกาบ้านโฮ่ง ตรงเข้าไปในหมู่บ้านป่าป๋วย ประมาณ 500 เมตร ผ่านศูนย์นวดแผนไทยบ้านป่าป๋วย วัดป่าป๋วยจะอยู่ทางซ้ายมือ นางสิริยา บุญญศิริพฤกษ์ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ตามประวัติ หอไตร วัดป่าป๋วย ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2445 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2445 โดยมีพระมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก พร้อมด้วยศิษย์ยานุศิษย์และศรัทธา มีนายพรม สิทธิกาล เป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่างผู้ออกแบบสร้างคือ พ่อหนานเป็ง พระแก้ว กว้าง 4 เมตร 90 เซนติเมตร ยาว 6 เมตร 70 เซนติเมตร สูง 7 เมตร 20 เซนติเมตรประโยชน์ สร้างไว้เป็นที่เก็บรักษาคำภีร์พระธรรมต่างๆในทางศาสนา คนโบราณเขาถือกันว่าคำภีร์พระธรรม ทางภาคเหนือส่วนมากจะเขียนด้วยอักษรพื้นเมือง หรือ ตั๋วเมือง ซึ่งถือกันว่าเป็นอักขระที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เวลาคนภาคเหนือจะเขียนผ้ายันต์ ลงตระกรุด หรือ เขียนคาถาต่างๆ มักนิยมเขียนอักขระพื้นเมือง (ตั๋วเมือง) ทั้งหมดด้วยเหตุนี้ คนโบราณท่านจึงสร้างหอไตรทางภาคเหนือเรียกว่า (หอธรรม) ไว้กับวัดต่างๆ เพื่อเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์พระธรรมดังกล่าวแล้ว หอไตรวัดป่าป๋วยโบรานสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอบ้านโฮ่ง คือ หอไตรวัดป่าป๋วยและหอไตรวัดดงฤาษี เป็นศิลปกรรมยุคหลัง ศตวรรษที่ 24 ลงมาเกิดจากแนวความคิดของแต่ละกลุ่มซึ่งบางครั้งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเป็นการนำเอาแบบของ ศิลปกรรมที่มีอยู่ดั้งเดิมมาผสมผสานกัน บ้างก็สร้างตามแนวความคิดเฉพาะตัว เป็นศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าก่อสร้าง มานานหลายร้อยปี หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน..