พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์ "ชื่อเสียงของ 'หลวงปู่ไข่' วัดเชิงเลน กรุงเทพฯ นั้น โด่งดังมาหลายทศวรรษ เพราะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สร้าง พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ " หลวงปู่ไข่ อินทฺสโร หลวงปู่ไข่ อินฺทสโร เป็นชาวแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยกำเนิด เกิดที่ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน ปี พ.ศ.2400 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เมื่อท่านอายุได้ราว 6 ขวบ โยมชายได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์ หลวงพ่อปาน วัดโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาบวชเป็นสามเณร ซึ่งนอกจากจะร่ำเรียนหนังสือหนังหาแล้ว ยังหัดเทศน์ จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติอีกด้วย ต่อมาเมื่อ หลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพ หลวงปู่ไข่จึงเดินทางไปอยู่กับ พระอาจารย์จวง วัดน้อย อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนอายุได้ 15 ปี พระอาจารย์จวงก็มรณภาพ ท่านจึงเดินทางไปอยู่ ณ สำนักสงฆ์ของพระอาจารย์รูปหนึ่ง ที่ วัดหงษ์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เรียนปริยัติธรรมอยู่ 3 ปีเศษ แล้วย้ายไปอยู่กับ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม พระปิดตาปู่ไข่พิมพ์ใหญ่ เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมี พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกระพ้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วขึ้นไปเรียนพระกรรมฐานต่อกับอาจารย์อีกรูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ริมภูเขา แขวงจังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับไปอยู่วัดลัดด่านอีกครั้ง จากนั้นยังธุดงค์ไปหาพระอาจารย์ เพื่อร่ำเรียนพระกรรมฐานวิปัสสนา ทางอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และในถ้ำที่จังหวัดกาญจนบุรีด้วย รวมเวลาในการออกธุดงค์เรียนพระกรรมฐานและวิปัสสนานานถึง 6 ปี พระปิดตาปู่ไข่พิมพ์ใหญ่หลัง หลวงปู่ไข่เล่าว่า ในระหว่างท่านอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงสาราสัตว์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกลดไว้ จนเมื่อเช้ามืดจึงต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะบิณฑบาตเป็นวัตรและฉันวันละหนเดียว พอศึกษาได้ระยะหนึ่ง ที่เห็นว่าจะช่วยเหลือสัตว์โลกได้พอสมควร ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่างๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่พอมืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นบ้า เสียจริต ท่านก็มีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน ท่านเดินธุดงค์อย่างนี้อยู่ราว 15 ปี ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านเป็นที่เลื่องลือขจรไปทั่ว จนทางกรุงเทพฯ มีผู้ไปนิมนต์ท่านไปอยู่ที่วัดบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี อยู่ได้ 1 พรรษา ท่านก็ออกเดินธุดงค์ในป่าอีกหลายปี ก่อนท่านจะมาอยู่วัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) ซึ่งเป็นวัดสุดท้าย พระปิดตาปู่ไข่-พิมพ์กลาง พระปิดตาปู่ไข่-พิมพ์กลาง ในปี พ.ศ.2460 วัตถุมงคลของท่านก็เริ่มออกสู่สายตาผู้มานมัสการเป็นครั้งแรก แต่ละครั้งที่ท่านสร้างจะมีจำนวนไม่มากนัก โดยยึดหลักว่า “หมดแล้วทำใหม่” วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีด้วยกัน 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ พระปิดตา เหรียญรูปไข่ และ พระอรหังกลีบบัว หลวงปู่ไข่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2474 วัดบพิตรพิมุข สำหรับ ‘พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก’ นั้น นับว่าเป็นพระปิดตาที่เป็นที่นิยมและแสวงหา แต่ก็หาได้ยากองค์หนึ่งในวงการทีเดียว เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ส่วน ‘เหรียญรูปไข่’ สร้างในคราวทำบุญอายุครบ 6 รอบ และ ‘พระอรหังกลีบบัว’ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผง มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ ครับผม