“อิทธิพล”รมว.วัฒนธรรม ประเดิมงานแรกประกาศผลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นปี62 ห่วงภ.ไทยเชิงพาณิชย์คุณค่าภาษาลดลง เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 62 ที่กระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวแถลงข่าวงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2562 ว่า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย และให้คนไทยทุกคนตระหนักรู้ว่าวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 ก.ค. ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและกรมศิลปากรได้คัดเลือกบุคคลและองค์กรเพื่อรับเข็มโล่เชิดชูเกียรติและมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยในวันที่ 26 ก.ค. มีการจัดนิทรรศการและมอบรางวัลที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า อยากให้คนไทยภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในภาษาไทย ที่แสดงออกในอารยธรรมและความเจริญ เป็นนโยบายหลักสำคัญของรัฐบาลชุดนี้เน้นการักษาเอกลักษณ์ของชาติ และแม้แต่ต่างชาติได้ใช้ภาษาไทย ยังรู้สึกว่าภาษามีความสวยงาม ทั้งนี้ขอเชิญชวนให้สื่อมวลชนทุกช่องทางร่วมกันรณรงค์ คำทักทาย คำบรรยาย ต่อจากสวัสดีในวันที่ 29 ก.ค. นี้ด้วยว่า วันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ สำหรับสิ่งที่น่าห่วงเป็นเรื่องเทคโนโลยี การรับภาษาต่างชาติมากขึ้น ทำให้การใช้ภาษาไทยมีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ ทำให้คุณค่าทางภาษาลดลง เช่น การแต่งเพลง คำกลอนภาพยนตร์ หรือสื่อต่างๆ จึงอยากให้เน้นสื่อความหมายที่แท้จริงที่จะสื่อถึงเรื่องนั้นๆ ไม่อยากให้ไปใช้ถ่ายทอดเชิงธุรกิจ และส่งภาพในเชิงลบ สำหรับบุคคลและองค์กรรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2562 มีดังนี้ 1.ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่ นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ 2.ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 17 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 15 ราย ได้แก่ นายกรนันสักก์ ตั้งหทัยชูหิรัญ ,นายกฤษฎา สุนทร ,นายคารม ธรรมชยาธร , แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข , นายธีระ ธัญไพบูลย์ , นายบุญมา ศรีหมาด , รศ.ปรมินท์ จารุวร , นายภาสวัฒก์ บุญจันทร์ , รศ.ยุรฉัตร บุญสนิท , รศ.เรไร ไพรวรรณ์ , นางวโรกาส มังกรพิศม์ , ผศ.วัลยา ช้างขวัญยืน , นายวิษณุ พุ่มสว่าง , ผศ.สมเกียรติ คู่ทวีกุล , นายอดิสรณ์ พึ่งยา และชาวต่างประเทศ 2 ราย ได้แก่ น.ส.เจือง ถิ หั่ง และนายอเล็กซ์ซานเดอร์ วิลส์ 3.ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 12 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 9 ราย ได้แก่ นายดำรงศักดิ์ บุญสู่ , นายดุสิต เชาวชาติ , นายปั่น นันสว่าง , พระครูสีลสาราภรณ์ (สมสิทธิ์ รกฺขิตสีโล) , นายมนตรี คงแก้ว , นายเมตต์ เมตต์การุณจิต , นางยินดี ตรีรัญเพชร , รศ.วีณา วีสเพ็ญ และ นางอบเชย ศรีสุข ชาวต่างชาติ 3 ราย ได้แก่ นายคริสโตเฟอร์ เชฟ , นายมาร์ติน วีลเลอร์ และนายอุดม สุขเสน่ห์ 4.ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประกอบด้วย ประเภทบุคคล คือ รศ.สืบพงศ์ ธรรมชาติ และประเภทองค์กร ได้แก่ กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , ชมรมโจ๊กปริศนาพนัสนิคม และ ศุมาสถาบันภาษาและวัฒนธรรม รางวัลเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูดการอ่าน การเขียน พ.ศ. 2562 10 รางวัล ดังนี้ นายกุมภารักษ์ น้อยคำ ร.ร.เบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี , น.ส.จันทิมา จิตนิยม ร.ร.บ้านไร่พิทยาคม จ.สุโขทัย , นายชินวัฒน์ อรัญทม ร.ร.กำแพง จ.ศรีสะเกษ , นายโชคชัย พลธานี มรภ.ชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ , นายต่อพงศ์ เชื้ออุ่น ม.ขอนแก่น , นายธีระวัฒน์ ชูรัตน์ ม.ธรรมศาสตร์ , นายภูริวัฒน์ เขนย ม.เชียงใหม่ , นายรณชัย หวังกวดกลาง มรภ.สุรินทร์ , น.ส.วรรณธิดา สามสี มรภ.ภูเก็ต และ นายสมชาย ทุนมาก ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก รางวัลการประกวดเพลง เพชรในเพลง 12 รางวัล ดังนี้ 1.รางวัลเชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินเพชรในเพลง ได้แก่ น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร) , รางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องเพลงอมตะ ได้แก่ เรือเอกหญิงสมศรี ม่วงศรเขียว , รางวัลเชิดชูเกียรติรายการโทรทัศน์ส่งเสริมภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แก่ รายการคุณพระช่วย , รางวัลเชิดชูเกียรติวงดนตรีสร้างสรรค์ภาษาไทยในเพลง ได้แก่ วงดิอิมพอสซิเบิ้ล 2.รางวัลประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงให้รักเป็นคำตอบ โดยนายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา , รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงเหงาจนเงาหนี โดยนายพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ (เท่ง เถิดเทิง) , รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่ เพลงสำนึก โดย นายพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ 3.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ เพลงกลับมาตรงนี้ โดยนายอุเทน พรหมมินทร์ , รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ เพลงเพลงพรแผ่นดิน โดยน.ส.ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ , รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ เพลงตำนานอโยธยา โดยนายธนพล สัมมาพรต (แจ๊ค ธนพล), รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ เพลงหอบฝันสู่เมืองใหญ่ โดยน.ส.พลอยชมพู ลอมเศรษฐี (ปะแป้ง พลอยชมพู) และรางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ เพลงเช’๒๐๑๘ โดยนายยืนยง โอภากุล