ในยุคดิจิทัลที่สมาร์ทโฟนกลายเป็นปัจจัยที่ห้า ภัยคุกคามและความรุนแรงจากการใช้สื่อออนไลน์ จนเกิดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในยุคนี้ โดยเฉพาะเยาวชนที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและวิจารณญาณในการใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ (Cyberbullying), การถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและถูกล่อลวงโดยคนแปลกหน้าในอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งปัญหาเด็กติดเกม จึงนับเป็นปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามเทคโนโลยียุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกจิตสำนึกในการตระหนักและรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ จึงจัดงาน “AIS NETWORK for THAIs อุ่นใจ CYBER” ภายใต้แนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” เพื่อสร้างเครือข่ายในการร่วมรณรงค์ในการใช้สื่อดิจิทัลสร้างสรรค์แบบยั่งยืน พร้อมเปิดตัวโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ความรู้และความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะผู้ที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้เดินหน้าผลักดันการสร้างสังคมดิจิทัลที่สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” เปิดตัวโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมจากโลกดิจิทัล โดยเน้นใน 2 ด้าน คือ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทางดิจิทัล เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน และป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ได้แก่ การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทันดิจิทัล ด้วย DQ (Digital Quotient) แบบทดสอบทักษะและความฉลาดทางดิจิทัลและชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเอไอเอสได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation) ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิดกว้างเพื่อการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน โดยสามารถเข้ามาใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ www.ais.co.th/dq ด.ช. ชวิศ เพเวค ต่อมาคือ การพัฒนาระบบคัดกรองเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ด้วย AIS Secure Net บริการช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ให้แก่บุตรหลาน ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ, รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม สำหรับลูกค้าเอไอเอส ตอบโจทย์การใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เอไอเอส ยังร่วมมือกับ Google (กูเกิล) ในการนำแอปพลิเคชั่น Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกเครือข่าย โดยเป็นแอปพลิเคชั่นให้คำแนะนำ ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ของบุตรหลาน เช่น กำหนดระยะเวลาการใช้งานของบุตรหลาน, กำหนดการเข้าถึงเว็บไซต์อย่างเหมาะสม รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ ซึ่งเอไอเอสขอริเริ่มในการสร้างเครือข่ายประสานกับทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมกันเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน เพื่อการใช้สื่อดิจิทัลสร้างสรรค์แบบยั่งยืน ด.ช. ชวิศ เพเวค อายุ 11 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสายไหม กล่าวว่า “ได้ทดสอบ DQ (Digital Quotient) แล้ว เป็นแบบทดสอบที่สนุก ซึ่งจะได้ผลคะแนนออกมาทำให้เรารู้ว่าตัวเองยังขาดความเข้าใจ หรือยังต้องการคำแนะนำในการใช้สื่อออนไลน์ในด้านไหน ซึ่งได้รู้ว่าการโพสต์บางอย่างมีผลเสียทั้งกับตัวเองและคนอื่นมากกว่าที่คิด”