โลกการเงินในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในอดีตเมื่อพูดถึง “เงิน” จะนึกถึงกระดาษ หรือเหรียญ ที่มีมูลค่า ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน โดยมีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ตามสกุลเงินของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นรูปแบบนี้กันทั่วโลก แต่เมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมารูปแบบของเงินได้เปลี่ยนไป การใช้จ่ายในการซื้อขายสินค้าไม่ได้เป็นแบบเดิม มีการเกิดของเงินรูปแบบใหม่ ที่เรียกกว่า “ สกุลเงินดิจิตอล” หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) แน่นอนว่า “สกุลเงินดิจิตอล” ตัวแรกและมีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บิทคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งได้รวมเอาเทคโนโลยี เงินตรา คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และความเคลื่อนไหวทางสังคมมาไว้ในที่เดียวกัน โดยมีหลายแง่มุม เกี่ยวกับทางด้านเทคนิคค่อนข้างมาก และพัฒนาต่อไปได้อย่างรวดเร็ว แต่เนื่องเป็นดิจิตอลทั้งหมด และไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับเงินตรา ทั้งนี้ Bitcoin แตกต่างจากเงินแบบเดิม คือสามารถนำมาใช้ในการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าหากทั้งสองฝ่ายยินยอม ในลักษณะนี้มันก็เหมือนกับเงินดอลลาร์ ยูโร หรือเยน ที่สามารถถูกซื้อขายได้ในรูปแบบดิจิตอล แต่มันแตกต่างจากเงินตราที่เป็นดิจิตอลหลายอย่าง เช่น แก้ปัญหา “การจ่ายเงินซ้ำซ้อน” ของเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านการเข้ารหัสและสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจ ในเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ฟังก์ชั่นนี้จะถูกดำเนินการโดยธนาคาร ซึ่งให้พวกเขาสามารถควบคุมระบบแบบดังเดิมได้ ด้วย และเงินตราทั่วไป เช่น ดอลลาร์ ยูโร เยน ต่างมีจำนวนที่ไม่จำกัด: ธนาคารกลางสามารถสร้างขึ้นมาได้ตามที่ต้องการและพยายามที่จะควบคุมค่าของสกุลเงินหนึ่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ผู้ที่เป็นเจ้าของเงินตรา เป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่าย เป็นต้น ล่าสุดสกุลเงินดิจิตอล ได้เกิดขึ้นมาใหม่อีก 1 สกุลเงิน และมีแนวโน้มที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อตลาดเงินปกติทั่วโลก โดนคาดว่าจะปลี่ยนโลกสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ คือ “สกุลเงินลิบร่า” ( LIbra)ที่มี Facebook เป็นผู้ก่อตั้ง และวันนี้มีผู้ใช้ “เฟซบุ๊ก” ทั่วโลก 2,380 ล้านคน จากประชากรโลก 7,700 ล้านคน คิดเป็น 30% หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลก ถ้าเปรียบเฟซบุ๊กเป็นประเทศ ประเทศเฟซบุ๊ก ก็ใหญ่กว่าประเทศแม่หรัฐอเมริกา ที่มีประชากร 329 ล้านคน ใหญ่กว่า ยุโรป ที่มีประชากร 500 กว่าล้านคน ใหญ่กว่า จีน ที่มีประชากร 1,400 ล้านคน ทั้งนี้ “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก” เจ้าของ Social Media ชั้นนำอย่าง เฟซบุ๊ก ได้โพสประกาศเปิดตัว “ สกุลเงินดิจิตอล” ของตัวเองในชื่อสกุลลิบรา โดยมี 27 องค์กรหลากหลายแวดวงเป็น Partner และร่วมอยู่ใน Symposium มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า สกุลลิบราสร้างขึ้นเพื่อ ลดความยุ่งยากของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และเสริมศักยภาพให้กับคนทั้งโลก โดยอาศัยเทคโนโลยี Blockchain โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดการใช้เงินสด รวมถึงเป็นช่องทางช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดั้งเดิมทั้งธนาคารและสถาบันการเงิน เนื่องจากหลายครั้งที่คนเหล่านี้ไม่มีบัญชีธนาคารและกลับมี Smartphone และเล่น Facebook นอกจากนี้ยังเปิดตัว Calibra ซึ่งเป็น Digital Wallet ออกแบบให้ใช้งานแลกเปลี่ยน“ สกุลเงินดิจิตอล” รวมถึงเหรียญสกุลลิบรา อย่างง่ายดาย โดย Calibra จะถูกควบคุมตามกฎหมายของรัฐฯ เช่นเดียวกับ Wallet อื่นๆ และข้อมูลที่อยู่ใน Calibra จะถูกเก็บแยกจาก Facebook ทั้งนี้สกุลลิบราได้รับการสนับสนุนจาก Partner มากถึง 27 องค์กร ประกอบด้วยสถาบันการเงินอย่าง Mastercard, Paypal และ VISA รวมถึง E-Service อย่าง Booking, eBay, Spotify และ Uber รวมถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคม, Blockchain Community, Venture Capital และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า สกุลลิบราจะเปิดให้บริการภายในปี 2020 ส่วน Calibra เปิดให้บริการใน Chat Application อย่าง Massenger และ WhatApps รวมถึง Stand-Alone App ในปีเดียวกัน วันนี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กทั่วโลก 2,380 ล้านคน จากประชากรโลก 7,700 ล้านคน คิดเป็น 30% หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลก ถ้าเปรียบเฟซบุ๊กเป็นประเทศ ประเทศเฟซบุ๊ก ก็ใหญ่กว่าประเทศแม่ สหรัฐอเมริกา ที่มีประชากร 329 ล้านคน ใหญ่กว่า ยุโรป ที่มีประชากร 500 กว่าล้านคน ใหญ่กว่า จีน ที่มีประชากร 1,400 ล้านคน ขณะที่ “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้เชี่ยวชาญด้านสกุลเงินดิจิทัล กล่าวว่า กรุงเทพฯ มีโอกาสที่จะกลายเป็นเมืองที่มีผู้ใช้สกุลเงินลิบรา สูงที่สุดของโลก เพราะเป็นเมืองที่มีเครือข่ายและจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊ก มากเป็นอันดับ 1 ของโลกคือ 25 ล้านคน ขณะที่ภาพรวมประเทศไทยก็มีการใช้ เฟซบุ๊กสูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลก หรือกว่า 52 ล้านคน ทั้งนี้สกุลลิบรา ที่มีเฟซบุ๊กเป็นผู้ก่อตั้งร่วม พยายามหาพันธมิตรเพิ่มจากปัจจุบัน 27 ราย ให้เป็น 100 รายภายในปีหน้า เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการโอนจ่ายเงิน โดยที่ไม่เสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศกังวลถึงความเสี่ยงที่จีดีพีจะไหลไปอยู่ในสกุลเงินลิบรา แทน กรณีดังกล่าวได้มีการมองถึงแนวทางที่แบงก์ชาติแต่ละประเทศ จะสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ มี 2 แนวทาง คือการเป็นพันธมิตรกับสกุลเงินดังกล่าว เพื่อเข้ามามีส่วนดูแลพฤติกรรมการโอนเงินที่ไม่ชอบมาพากลได้ หรือไม่ก็สร้างสกุลเงินดิจิทัลขึ้นเป็นของตัวเอง แต่ต้องมีต้นทุนสูงมาก นอกจากนี้มีรายงานว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย” (ธปท.) กำลังติดตามการ ก่อกำเนิดของสกุลเงินลิบราอย่างใกล้ชิด เนื่องจากลิบราอาจเข้ามาแทนสกุลเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าบริการ ซึ่งใช้จ่ายกันในทุกวันนี้ โดยเป็นการเข้ามาดิสรัปการใช้จ่าย การชำระเงินบนโลกออนไลน์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง รวมทั้งผู้กำกับดูแลอย่าง ธปท. ต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตามสกึลเงินลิบรา ถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับคนทั้งโลก และยังไม่มีความชัดเจนในบางด้าน ดังนั้นผู้กำกับดูแลเช่น ธปท. เตรียมขอให้ เฟซบุ๊ค ประเทศไทย เข้ามาหารือ และเปิดเผยแผนในการนำสกุลเงินลิบรามาใช้ในปีหน้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีความรู้มากขึ้น รวมทั้งยังทำให้ ธปท. ได้ทราบถึงผลกระทบที่จะมีต่อระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยด้วย “ธนา โพธิกำจร” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานดิจิทัลแพลตฟอร์ม ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สกุลเงินลิบราถือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องใช้เวลาศึกษาพอสมควร แต่เบื้องต้นเชื่อว่าสกุลเงินนี้จะเข้ามาแทนที่การชำระเงิน การโอนเงิน ซึ่งส่งผลกระทบกับธนาคารพาณิชย์ทันที ทำให้ในอนาคตธนาคารอาจสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับธนาคารได้ “ฐากร ปิยะพันธ์” ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ผลกระทบจากการมาของสกุลเงินลิบรา เชื่อว่ามีผลต่อทั้งภาคธนาคาร และผู้ให้บริการบัตรเครดิต บัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพราะหากสกุลเงินลิบรา สามารถทำหน้าที่ชำระเงิน โอนเงิน ต่างๆ ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเชื่อว่า ผู้บริโภคก็อาจใช้บริการธนาคาร หรือบัตรเครดิตต่างน้อยลงในอนาคต อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น หากสกุลเงินลิบราถูกนำมาใช้จริงและเป็นที่นิยม จะต้องมีเงินกองทุนหนุนหลังอยู่มหาศาล เงินดังกล่าวใครทำหน้าที่ดูแล จากเดิมที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศดูแลอยู่ และ หากเงินกองทุนนี้หายไปการบริหารจัดการต่างๆ ใครดูแล เรื่องเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม แต่ประโยชน์แน่นอนว่า คนใช้บริการโอนเงินได้ไวขึ้น อาจไม่มีค่าธรรมเนียมการโอน หรือการซื้อของบนโลกออนไลน์ก็ทำได้ง่ายขึ้น “นริศ สถาผลเดชา” ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี กล่าวว่า หากมีการนำสกุลเงินลิบรามาใช้ คาดว่าจะมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ด้านแรก คือการเข้ามาดีสรัป ต่อการทำธุรกิจของแบงก์ให้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการโอนเงิน การชำระเงินระหว่างประเทศ ที่มีต้นทุนที่ถูก สามารถทำธุรกรรมได้เรียลไทม์ ตลอด 24 ชม. จากเดิมที่การโอนเงินระหว่างประเทศต้องใช้ระยะเวลา และมีต้นทุนสูงเฉลี่ย 1,000 บาทต่อรายการ ดังนั้นหากสกุลเงินลิบราเข้ามามีบทบาท กระทบมากต่อธุรกิจแบงก์ “สกุลเงินลิบราอาจทำให้ ธปท.สูญเสียอำนาจในการควบคุมปริมาณเงิน โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยน ที่แลกเป็นสกุลเงินต่างๆทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณเงิน และในที่สุดอาจกระทบต่อนโยบายการเงินได้ ดังนั้นหากลิบรา จะถูกนำมาใช้จริง ก็เชื่อว่า ต้องได้รับการเห็นชอบ และการสนับสนุนและดูแลภายใต้ธนาคารกลางประเทศนั้นๆ เพื่อดูแล การฟอกเงิน การควบคุมปริมาณเงินในประเทศ” สุดท้ายแล้ว “สกุลเงินลิบรา” ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในแวดวงการเงินโลกเสมือนจริง กำลังจะเข้ามามีบทบาทในโลกแห่งความจริง ซึ่งแวดวงการเงินคงต้องจับตามองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตั้งรับ...และหาทางควบคุมให้ได้ โดยเฉพาะ “ธปท.” ความหวังของ “แบงก์พาณิชย์ไทย” จะทำอะไรก็ต้องรีบทำ!!! ไม่เช่นนั้นจะได้เห็น “แบงก์พาณิชย์ไทย” ปิดตัวก็คราวนี้!!!