ตามที่ทราบโดยทั่วกัน ถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” ปราชญ์แห่งการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนปราชญ์แห่งการอนุรักษ์ดินและป่าต้นน้ำ ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (Royal Rainmaking and Agricultural Aviation) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บูรณาการร่วมกับกรมชลประทาน (Royal Irrigation) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมป่าไม้ (Royal Forest) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำ “โครงการสร้างความร่วมมือ เพื่อการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการ พื้นที่โครงการเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี” ซึ่งเป็นพื้นที่เสด็จทรงงานที่สำคัญในหลายเหตุการณ์ ทั้งนี้ เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการตั้งแต่พื้นที่ป่าต้นน้ำการบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศ การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภค-บริโภคและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่เขื่อนแก่งกระจาน เนื่องจากเป็นสถานที่ ที่ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า โครงการสร้างความร่วมมือ เพื่อการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการ พื้นที่โครงการเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จะทำให้ทราบสถานการณ์ในพื้นที่ ทั้งสถานการณ์น้ำ พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน พื้นที่โครงการเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และวางแผนการดำเนินงานในการปฏิบัติการฝนหลวง และแผนการบริหารจัดการน้ำ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งการบริหารจัดการน้ำ ป่าต้นน้ำ และการบริหารจัดการน้ำพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ ตลอดจนเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ ภายใต้โครงการโปรยเมล็ดพันธ์พืชในพื้นที่ป่าต้นน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โครงการโปรยเมล็ดพันธ์พืชในพื้นที่ป่าต้นน้ำเขื่อนแก่งกระจาน ให้สามารถประเมินน้ำฝนและผลสัมฤทธิ์ โดยสามารถเติมน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน และเสริมน้ำฝนเพื่อเพิ่มพื้นที่ความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรม อันรวมถึงการวางแผนอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการ และการประเมินผล สำหรับระยะเวลาการดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน 2560 “สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้ 3 หน่วยงานเกิดการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำ และป่าต้นน้ำน้ำ อย่างบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม บุคลากรมีการพัฒนาด้านแนวคิดและการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต ที่สำคัญคือได้ระบบการวางแผน ติดตามประเมินผล และการปรับแผนการปฏิบัติการฝนหลวง ให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำของประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไป” นอกจากนี้ ยังเป็นการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำร่วมกันระหว่าง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมชลประทาน และกรมป่าไม้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และกรมฝนหลวงจะได้นำข้อมูลไปปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวง ให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำของประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไปทั้งปัจจุบันและอนาคต ซึ่งภายใต้ในโครงการดังกล่าวจะมีกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชเพิ่มผืนป่าต้นน้ำบริเวณเขื่อนแก่งกระจาน ในพื้นที่รับน้ำเป้าหมาย 2,142.69 ตารางกิโลเมตร พื้นที่โปรยเมล็ดพันธุ์ 13,000 ไร่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ และใช้เมล็ดพันธุ์ในการเป็นจำนวน 890,000 เมล็ด ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์ไม้ประดู่ มะค่าโมง มะข้ามป้อม มะกอกป่าและยางนา โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน 2560 ด้วย นายไพบูลย์ แดงประดับ อาสาสมัครฝนหลวงอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ด้าน นายไพบูลย์ แดงประดับ อาสาสมัครฝนหลวงอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า จากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงส่งเสริมเรื่องการทำฝนหลวงในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน ก็พร้อมสมัครใจที่จะเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครฝนหลวง เพื่อสนองงานตามพระราชดำรัส ซึ่งมองเห็นปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำใช้ จึงมีพระราชดำริในการทำฝนหลวงขึ้น เพื่อให้พสกนิกร และเกษตรกรได้รับประโยชน์จากน้ำในการทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งพระองค์ ยังได้ส่งเสริมปลูกป่าต้นน้ำ โดยทรงเน้นแหล่งน้ำเป็นหลัก และปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์น้ำ ส่งเสริมปลูกหญ้าแฝก เพื่อบำรุงดิน ได้ตอบสนอง และร่วมช่วยเหลือ โดยการเป็นอาสาสมัครฝนหลวง “รู้สึกมีความปิติยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้สนองงานตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจาก พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือพสกนิกรในทุกรูปแบบ ไม่เคยเลือกชั้นวรรณะ ให้ความดูแลอย่างทั่วถึง และเสมอภาคกัน โดยเป็นแกนนำในการส่งเสริมปลูกป่า พร้อมจัดตั้งธนาคารต้นไม้ของอำเภอแก่งกระจาน ตามแนวคิดปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ต้นน้ำ ฟื้นฟูธรรมชาติในพื้นที่ เพราะน้ำทุกหยดมีคุณค่า ทั้งน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำในเขื่อน และน้ำจากฝนหลวง”