เด็กๆขานรับสตูลโมเดลจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม 10 โรงเรียน นำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล โดยเชื่อว่าจะเป็นโมเดลด้านการศึกษาใหม่ในอนาคต หลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 โรงเรียนในพื้นที่ จ.สตูล 10 แห่งสมัครใจเป็นโรงเรียนนำร่อง ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนโครงงานฐานวิจัย และหลักสูตรภูมิสังคม ซึ่งขณะนี้หลายโรงเรียนมีหลักสูตรนำมาใช้ในการกระบวนการเรียนการสอนแล้วและมีความคืบหน้าไปมาก เมื่อวันที่ 8 ก.ค.2562 นายอัมพร พินะสา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรองเลขา กพฐ. พร้อม นายนายอุทัย กาญจนะ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านควนเก ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล ติดตามความคืบหน้าโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมกรรมการศึกษาของจังหวัดสตูล ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของท้องถิ่นและพื้นที่การศึกษา ได้เลือก 10โรงเรียนเป็นโรงเรียนแกนนำ ซึ่งขณะนี้ได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก นายอัมพร พินะสา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรองเลขา กพฐ. กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัตินวัตกรรมทางการศึกษา ขึ้นมาก็ทำให้ 10 โรงเรียนแกนนำของจังหวัดสตูลได้มีการขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้โรงเรียนทั้ง 10 แห่งมีหลักสูตรเป็นของสถานศึกษา มีการพัฒนาครูและลงสู่การจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยขณะนี้โรงเรียนทั้ง 10 แห่งสามารถจัดการเรียนการสอนได้แล้ว หลังจากเดินทางมาติดตามดูก็พบว่าที่โรงเรียนบ้านควนเก ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล มีพัฒนาการเป็นอย่างดี นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นที่น่ายินดี ซึ่งคิดว่าการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมก็จะทำให้ทุกคน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามในนักเรียนของเรา และจะเป็นรูปแบบ นวัตกรรม ที่มีความก้าวหน้าและเป็นแบบอย่าง ของระดับประเทศต่อไป ส่วนปัญหาอุปสรรคอาจจะมีในส่วนของการใช้พระราชบัญญัติฉบับใหม่ กลับแนวทางปฏิบัติอยู่เดิม ซึ่งอาจจะทำให้บางโรงเรียนไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก หลังมีการมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หลายประเด็นเช่นการใช้หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนเรื่องของระเบียบกฎหมาย ที่ปฏิบัติก็มีการซักซ้อม และคิดว่า คิดว่าในอนาคตข้างหน้าจะก้าวกระโดดได้ไวขึ้น การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสตูลมุ่งหวังเพื่อที่จะให้นักเรียนที่ใช้ตำราจากส่วนกลาง สำนักพิมพ์และครูก็จัดการเรียนการสอนตามหนังสือเรียน แต่นวัตกรรมตัวนี้ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวเขา จากธรรมชาติรอบข้าง ให้เห็นความสำคัญและตระหนักให้เห็นถึงทรัพยากรธรรมชาติรอบตัว รวมไปถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี ของท้องถิ่น เพื่อที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสังคมท้องถิ่นที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยทุกวัน ถือเป็นการศึกษาส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่าการศึกษาในตำรา จะทำให้นักเรียนได้ เครื่องมือในการเรียนรู้และนักเรียนจะได้นำเครื่องมือในการเรียนรู้มาพัฒนา ในการยกระดับคุณภาพชีวิต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรองเลขา กพฐ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับพื้นที่นวัตกรรมของจังหวัดสตูล น่าจะเป็นงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้น ที่เป็นรูปแบบในการแสวงหา การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเอาการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนา ในส่วนของ สพฐ จะทำการถอดรูปแบบนี้เชิงวิจัยเพื่อการเรียนรู้ หากประสบความสำเร็จจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ดช.ธีรวุฒิ เสนาธิป นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านควนเก กล่าวว่า สนุกที่ได้เรียนแบบนี้ ได้ออกพื้นที่ไปดูการปลูกผลสละ ได้เรียนรู้วิธีการปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การขาย สนุกกว่านั่งในห้องเรียน หากให้ทำเป็นอาชีพต่อไปก็อยากทำเป็นอาชีพเสริม นอกจากนี้ได้เรียนรู้การทำขนมพื้นเมือง ข้าวต้มสามเหลี่ยม รู้วิธีการทำ หลังคุณครูเปลี่ยนมาเรียนแบบนี้กล้าแสดงออกมากขึ้น คิดและลงมือทำมากยิ่งขึ้น