“รื่นรมย์ชมวังปารุสก์” เปิดประตูสู่กาลเวลาณ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ระหว่างวันที่ 5 - 7 กรกฎาคม 2562 เวลา 10.00 – 20.00 น. เปิดประตูสู่กาลเวลาณ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน” เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ภายในวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของพระตำหนักจิตรลดา ซึ่งมีสถาปัตยกรรมงดงามตามแบบยุโรป ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาจึงได้พระราชทานให้แก่พระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ โดยพระตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน เป็นจุดดึงดูดประชาชนให้เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน เป็นจำนวนมาก ​ เนื่องในโอกาสปีพุทธศักราช 2562 เป็นปีมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งพระองค์ ทรงมีพระเมตตาต่อเหล่าข้าราชการตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงได้พระราชทานโฉนดที่ดินวังปารุสกวันให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในทางราชการต่อไปหมายถึงการใช้เป็นที่ทำการพิพิธภัณฑ์ตำรวจของกองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วย ​ ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยพลตำรวจเอก จักรทิพย์ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจโทปิยะ อุทาโยผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงมีแนวคิดที่จะจัดงานภายใต้ชื่องาน “รื่นรมย์ชมวังปารุสก์” ดังเช่น ที่เคยจัดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง รูปแบบของการจัดงานจะเป็นการย้อนอดีตบรรยากาศของวังปารุสกวัน โดย เชิญชวนประชาชน นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานแต่งกายสวมชุดไทยย้อนยุค มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแสดง หุ่นกระบอก อันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย การเสวนาทางวิชาการเรื่องราวความเป็นมาของ วังปารุสกวันที่ประชาชนให้ความสนใจ การพาเข้าไปเยี่ยมชมพระตำหนักปารุสกวันของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ การเยี่ยมชมพระตำหนักจิตรลดา และอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจ(อาคารกระจก) ในบรรยากาศยามค่ำคืนไนท์ มิวเซียม นอกจากนี้ยังมีการแสดงความสามารถของสุนัขตำรวจให้ประชาชนได้รับชมด้วย พลตำรวจโทปิยะ กล่าวว่าการจัดงาน“รื่นรมย์ชมวังปารุสก์” เปิดประตูสู่กาลเวลาณ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวันวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่10 และเป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแก่ประชาชนทั่วไป เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจโทปิยะ กล่าวอีกว่าประวัติความเป็นมา ตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน (หน้าตำหนักฯ)วังปารุสกวัน หรือ วังปารุสก์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต มีเนื้อที่ทั้งหมด 33 ไร่เศษ ภายในพื้นที่มีตำหนักอยู่ 2 องค์ คือ ตำหนักจิตรลดาและตำหนักปารุสกวัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างตำหนักจิตรลดาขึ้น เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และให้สร้างตำหนักปารุสกวันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ภายหลังที่ทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร ตำหนักจิตรลดา ออกแบบโดยนายมาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno) นายช่างเอกชาวอิตาเลียนแห่งกรมโยธาธิการ ร่วมกับนายยี. ซัลวาโตเร (G. Salvatore) สถาปนิก นายเอมิลิโอ โจวันนี (Emilio Giovanni Gollo) และนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) วิศวกร ในระหว่างพุทธศักราช 2446-2449 ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2449 เป็นอาคารแบบอิตาเลียนวิลล่า สูง 2 ชั้น ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบสติลลิเบอร์ตี้ ของอิตาลี อันเป็นศิลปะสมัยใหม่ที่กำลังนิยมในยุโรป ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ส่งอิทธิพลมาสู่สยามประเทศ แสดงถึงการปรับใช้สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ตลอดจนโครงสร้างและวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ โดยออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้านายสยาม ในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานตำหนักจิตรลดาแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ พระอนุชา โดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ตรงหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน อันเป็นกรรมสิทธิ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ และโปรดให้รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน รื้อกำแพงคั่นกลางออก สร้างรั้วกำแพงโดยรอบภายนอกวังปารุสกวัน ประดับรูปจักรและกระบองซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถไว้ที่ประตูกำแพง ซึ่งได้เสด็จประทับอยู่ ณ ตำหนักปารุสกวัน ตลอดพระชนมายุ และตำหนักจิตรลดา ได้ตกแต่งไว้สำหรับเป็นเรือนรับแขก จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นที่ทำการและที่พัก โดยตำหนักปารุสกวันเป็นที่พักของพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่อยู่ของคณะราษฎร 14 คน ภายหลังกลายเป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญ รวมทั้ง“กรมตำรวจ” ได้ใช้เป็นสถานที่ทำงานของอธิบดีกรมตำรวจ ปัจจุบันตำหนักจิตรลดาอยู่ในความดูแลของฝ่ายพิพิธภัณฑ์ กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน พลตำรวจโทปิยะ กล่าวอีกว่า สำหรับประวัติหลุมหลบภัย AN AIR-RAID SHELTER (หน้าหลุมหลบภัย) พ.ศ.2484 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมีประเทศญี่ปุ่นและประเทศเยอรมันเป็นผู้นำในการทำสงครามโลกในครั้งนั้น ซึ่งตรงกับจอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประเทศญี่ปุ่นได้ขยายอำนาจในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศพม่าและอินเดีย (ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ยกพลผ่านประเทศไทย)เห็นได้จากการใช้กำลังแรงงานที่เป็นชาวต่างชาติจำนวนมากในการก่อสร้างทางรถไฟ (สายมรณะ) เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการขนส่งเสบียงอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังประเทศพม่า โดยใช้เส้นทางผ่านจังหวัดจันทบุรี ในขณะนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วย ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และอีกหลายประเทศ รวมถึงเสรีไทย คือ คนไทยที่ไปศึกษาอยู่ต่างประเทศ และไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลของจอมพล ป. ที่ให้ประเทศญี่ปุ่นใช้ประเทศไทย เป็นเส้นทางผ่านไปยังประเทศพม่า ดังนั้น จึงร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรปฏิบัติการโจมตีค่ายทหารของญี่ปุ่นในประเทศไทยอยู่ตลอดเวลาโดยต้องการให้ประเทศญี่ปุ่นถอนทหารออกจากประเทศไทยในระหว่างที่ทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทหารญี่ปุ่นนั้น ประชาชนคนไทยรวมทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการสร้างหลุมหลบภัยไว้ตามที่ต่างๆ ประวัติพิพิธภัณฑ์ตำรวจ (หน้าอาคารกระจก) พ.ศ. 2473 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจเป็นครั้งแรก โดยให้ขึ้นกับกรมตำรวจภูบาล ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมวัตถุของกลางที่คนร้ายใช้ในการกระทำ ความผิดทุกชนิด เพื่อให้ข้าราชการตำรวจทั่วไปหรือพนักงานสอบสวนใช้ศึกษาค้นคว้า ครั้นเมื่อเก็บรวบรวมวัตถุเพิ่มมากขึ้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจไปโดยปริยาย ในเวลาต่อมา จึงได้วางหลักเกณฑ์ในการเก็บรักษาวัตถุซ้ำ ๆ กัน และได้ตราเป็นหนังสือตราน้อยที่ 75/8270 ลง 11 ต.ค. 2473 ไว้เป็นทางปฏิบัติสำหรับการเก็บดูแลรักษา วัตถุของกลางในสมัยนั้นเก็บรักษาไว้ที่กองพลาธิการ และมีสถานที่ทำการจริงอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2475 ตามประกาศของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 17 พ.ย. 2475 เรื่อง ให้จัดแบ่งแผนกงานย่อยของกรมตำรวจ โดยแบ่งแผนกงานออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นกองบังคับการ ส่วนที่ 2 เป็นตำรวจนครบาล ส่วนที่ 3 เป็นตำรวจสันติบาล ส่วนที่ 4 เป็นตำรวจภูธร เฉพาะส่วนที่ 3 นั้น ให้กรมตำรวจภูบาล ตำรวจกองพิเศษ และตำรวจภูธรกลาง เป็นตำรวจสันติบาล และให้พิพิธภัณฑ์ตำรวจ โอนเข้าในสังกัดกองตำรวจสันติบาล (ประชุม ก.ม. ประจำศก เล่ม 45 หน้า 269– 387 พ.ศ. 2475) พ.ศ. 2484 แผนกพิพิธภัณฑ์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นแผนกที่ 5 กองวิทยาการ ตาม พ.ร.ฎ. จัดวางระเบียบราชการสำนักงานและ กรมในกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 5) ลง 10 ก.พ. 2484 มาตรา 6 โดยเรียกชื่อใหม่ว่า แผนกพิพิธภัณฑ์อบรมและค้นคว้าความรู้ในทางวิชาการ ตำรวจและย้ายที่ทำการไปที่อาคาร 4 กรมตำรวจ ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ ใน ขณะนั้นยังไม่มีการเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าชมแต่อย่างใด พ.ศ. 2491 แผนกพิพิธภัณฑ์อบรมและค้นคว้าความรู้ในทางวิชาการตำรวจ ถูกโอนสังกัดไปแผนกที่ 5 กองกำกับการ 1 กองบังคับการ สอบสวนกลางตาม พ.ร.ฎ. ระเบียบ ตร. กระทรวมหาดไทย ลง 29 ส.ค.2491 และเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดี (กม. ประจำศก เล่มที่ 61 หน้า 450 – 456 พ.ศ. 2491) พ.ศ. 2495แผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดีได้ย้ายสังกัดไปแผนกที่ 2 กองกำกับการ 2 กองพิเศษ และได้รวมงานของแผนกของหายได้คืนไว้ เป็นแผนกเดียวกัน เรียกชื่อใหม่ว่า แผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดีและของหายได้คืน (ตามระเบียบ ตร. ลง 8 พ.ค. 2495) พ.ศ. 2496 แผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดีและของหายได้คืนได้ย้ายสังกัดไปแผนกที่ 4 กองกำกับการ 1 กองวิทยาการ โดยรวมกิจการกอง บังคับการกองพิเศษกับ กองบังคับการ กองวิทยาการเข้าเป็นกองเดียวกัน เรียกว่า กองบังคับการกองวิทยาการ และได้ย้ายสถานที่ทำการไปรวมกับ กองทะเบียนรถยนต์ ณ อาคารชั้นล่างใกล้กับสนามมวยเวทีราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ ซึ่งสถานที่มีความเหมาะสม สามารถรองรับวัตถุของกลางที่เพิ่มได้เป็นจำนวนมาก กรมตำรวจจึงกระทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13ต.ค. 2496 ซึ่งตรงกับวันตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นประธานในพิธี ปรากฏว่ามีนิสิต นักศึกษา ประชาชน สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมากทุกวัน พ.ศ.2498 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ตราข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ 3/2498 ลง 24 ต.ค. 2498 เรื่องเกี่ยวกับ การส่งวัตถุของกลางในคดีอาญา ไปเก็บเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจและได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เขตขึ้นใหม่ รวม 9 เขต มีสถานที่ตั้งอยู่ในสังกัดกองกำกับการ วิทยาการเขต ของแต่ละภาคทั่วราชอาณาจักร และพร้อมกันนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นแผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดี พ.ศ. 2499วันที่ 11 เม.ย. 2499 กรมตำรวจได้ออกคำสั่งย้ายแผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดี ไปอยู่ที่กองวิทยาการ กรมตำรวจ ปทุมวัน ถนนพระราม 1กรุงเทพฯ เนื่องจากที่เดิมต้องการใช้เป็นสถานที่ทำการของ สปอ. (ซีอาโต) เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์และรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการบริหารงานให้เกิดความถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงได้แบ่งลักษณะงานพิพิธภัณฑ์ ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พิพิธภัณฑ์ตำรวจเกี่ยวกับคดี ได้แก่ วัตถุพิพิธภัณฑ์ซึ่งเกี่ยวกับคดีอาญาทุกชนิด เมื่อศาลตัดสินคดีถึงที่สุดแล้วจึงเก็บภาพหรือวัตถุไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ หากภาพหรือวัตถุนั้นพิจารณาแล้วไม่เป็นผลดีและเป็นตัวอย่างในทางไม่สมควรหรือไม่เหมาะสมก็จะไม่เปิดให้ประชาชนเข้าชม แต่จะให้ข้าราชการตำรวจหรือผู้มีหน้าที่ฝ่ายปราบปรามของ หน่วยงานต่างๆ หรือ พนักงานสอบสวนโดยตรงเท่านั้นเข้าชมและศึกษาหาความรู้ได้ และ2. พิพิธภัณฑ์ไม่เกี่ยวกับคดี ได้แก่ วัต