พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อสานฝันผู้ประกอบการสตาร์ตอัพรุ่นใหม่ ฟรีตั้งแต่ส.ค.นี้ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล. โดยสำนักวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRIS) ได้ร่วมกับธนาคารกรุงไทย (KTB) ทรู ดิจิทัล พาร์ค และพาร์ทเนอร์กว่า 10 ราย อาทิ บริษัท บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด บีทูเอส จำกัด แอมาซอน เว็ปเซอร์วิส แห่งเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (Asia Pacific and Japan Amazon Web Services) กลุ่มบริษัทในเครือเซนทรัล เป็นต้น จัดตั้ง “Creator Space (NEXT)” แหล่งพัฒนานวัตกร – สตาร์ทอัพ ครบวงจร จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้คำปรึกษาและบ่มเพาะนวัตกร สู่การเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรผู้ประกอบการขึ้นในประเทศ ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของเทคโนโลยี ทั้งด้านการวิจัย การให้ความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแนะนำการประกอบธุรกิจ การขอสิทธิบัตร และการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยศูนย์ที่ทรู ดิจิทัล พาร์ค เปิดให้บุคคลที่สนใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เข้าใช้พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟรี ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ เป็นต้นไป อาทิ การเสวนาด้านโรโบติกและเอไอในเดือนสิงหาคม การเวิร์คชอปด้านโดรนในเดือนตุลาคม เป็นต้น “Creator Space (NEXT)” ได้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของนวัตกร ผ่านรูปแบบ การเวิร์คชอป การอบรมออนไลน์ เสวนา และคลาสรูม เป็นต้น และมีฟังก์ชันการบริการใน 6 ด้าน ได้แก่ 1)       ด้านนวัตกรสัมพันธ์ (Human Resources) พื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา นักวิจัย และผู้ที่สนใจ กับนวัตกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาสู่สตาร์ทอัพในภาคธุรกิจดิจิทัล 2)       ด้านพื้นที่สร้างสรรค์และกิจกรรม (Maker Space and Offline Activities) พื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม การเวิร์คชอป การเทรนนิ่ง การแข่งขันสร้างสรรค์ไอเดีย หรือแฮกคาร์ธอน (Hackathon) เป็นต้น 3)       ด้านชุมชนดิจิทัล (Online Community) พื้นที่ในการสร้างแบรนด์ และพัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการสนับสนุนจากเครือข่ายในชุมชนดิจิทัล และการแข่งขันทางธุรกิจในโลกออนไลน์ 4)       ด้านความรู้และเทคนิคจากพาร์ทเนอร์ (Knowledge & Technical Partners) พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีการสร้างสรรค์ ระหว่างพาร์ทเนอร์และนวัตกร นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจดิจิทัล 5)       ด้านความร่วมมือกับภาครัฐ (Government) การสนับสนุนเงินทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อกระตุ้นการลงทุนในโครงการสตาร์ทอัพ ส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ 6)       ด้านการสนับสนุนทางการเงิน (Financial Support) การสนับสนุนทางการเงิน และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับองค์กรภาคเอกชน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อยอดเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ สจล. ยังได้เผยเทรนด์ธุรกิจดิจิทัลดาวรุ่ง4กลุ่ม แห่งปี 2563คือ กลุ่มฟินเทคและเทคโนโลยีบล็อกเชน กลุ่มนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ กลุ่มโรโบติกและเอไอ และกลุ่มสมาร์ทซิตี้ สู่การพัฒนาชุมชนผู้ประกอบการ บนพื้นที่ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมดิจิทัล ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเปิดให้บริการฟรี สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ สจล. ธนาคารกรุงไทย ทรู ดิจิทัล พาร์คและพาร์ทเนอร์กว่า10แห่ง ได้ร่วมเปิดCreator Space (NEXT) ดังกล่าว ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ทรูดิจิทัล พาร์ค สุขุมวิท 101กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 เว็บไซต์www.kmitl.ac.th หรือ www.facebook.com/kmitlofficial