มาดูกันว่าพฤติกรรมของคนยุคดิจิทัลมีการแสดงออกในโลกโซเชียลอะไรกันบ้างที่เรียกยอดไลท์จากคนส่อง โดยมานุษยวิทยารวบรวมมา 10 ประเภท เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 62 ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) มีการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 13 หัวข้อ “มนุษย์ในโลกดิจิทัล”ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมฯ นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ. ศมส. กล่าวว่า พลังของโซเซียลทำให้คนไทยต้องเผชิญกับค่านิยมหรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อีกทั้งพฤติกรรมของคนยุคดิจิทัลมีการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะอย่างโจ่งแจ้ง โดยสามารถรวบรวม 10 อย่างมานำเสนอ ได้แก่ 1.การเซลฟี่ แสดงถึงอัตลักษณ์ในจินตนาการ กลายเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง 2.คาเมล่า อิสเฟิร์ต การเผยแพร่ภาพอาหารการกิน อย่างสาธารณะ 3.ไอจี สตอรี่ ความทรงจำ 24 ชั่วโมง 4.ไลน์ กรุ๊ป ชุมชนหน้าจอทำให้ผู้คนในสังคมต้องติดต่อกันผ่านโซเซียลมากขึ้น 5.สวัสดีวันจันทร์ การส่งต่อความสุขเพื่อยืนยันการมีตัวตน 6.มีการรื้อและสร้างความหมายใหม่เพื่อการวิพากษ์สื่อถึงอารมณ์ขัน ประชด เหน็บแนม และส่งต่ออันอย่างแพร่หลาย 7.แฮชแท็ก # โซเซียลมีเดียกับบทบาทการเมืองเชิงสาธารณะ จุดประสงค์ของการใส่เพื่อรวบรวมเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันไว้ 8.ไวรัล มาร์เก็ตติ้ง สื่อ สร้างโอกาสในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาไวรัล “แม่ฉันต้องได้กินกุ้ง” เป็นไลฟ์วิดีโอการขายอาหารทะเลที่มีการแชร์จำนวนมาก และไวรัลยังทำให้คนธรรมดากลายเป็นเนตไอดอลมียอดรับชมจำนวนมาก 9.ออฟไลน์ และออนไลน์ เมื่อตัวตนของเรามีมากกว่าหนึ่ง 10.เฟซบุ๊ก รีแอคชั่น ยอดไลท์ของเราไม่เท่ากัน ผอ.สมศ กล่าวอีกว่า จากการที่คนไทยก้าวสู่เป็นมนุษย์ยุคดิจิทัล ควรรู้เท่าทัน ด้วยการวิเคราะห์ และแยกแยะ การนำเสนอตัวตน การรับข่าว เพื่อไม่ให้เกิดภัยร้ายแก่ตนเอง ปัจจุบันพบเรื่องที่น่าห่วงอันเกิดจากโทษของโลกดิจิทัลจำนวนมากส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งการก่ออาชญากรรม การถูกล่อลวง การละเมิด การให้ข่าวโจมตี การโฆษณาชวนเชื่อ การสร้างกระแสของดารานักแสดง ทั้งหมดอาจจะเข้าข่ายผิดพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และมีโทษทางอาญาด้วย