บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS)ร่วมสนับสนุนงาน “Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019”งานแฟร์สุขภาพ “เฮลท์แคร์ 2019”ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นงานที่รวมพันธมิตรสุขภาพจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มุ่งหวังให้ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพและรู้เท่าทันโรคในมิติต่างๆอย่างครบวงจร เมื่อวันที่ 27-30 มิ.ย.62 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยบริษัทในเครือ BDMS ได้นำกลุ่มธุรกิจสนับสนุนโรงพยาบาลได้แก่ บริษัทเอ.เอ็น.บี.ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช) (ANB),บริษัทสหแพทย์เภสัช (Medipharma),บริษัทเซฟดรัก เซ็นเตอร์ (Save Drug)และบริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health)ร่วมออกร้าน โดยนำสินค้าด้านสุขภาพของบริษัทในเครือมาจัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาการใช้ยา พร้อมนำนวัตกรรม HAPYBOT หุ่นยนต์บริการขนส่งสำหรับโรงพยาบาล มาร่วมโชว์ภายในงาน นายวิฑูรย์ อุทัยกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางไกล N Health ตัวแทนจำหน่าย HAPYBOT หุ่นยนต์บริการขนส่งสำหรับโรงพยาบาลกล่าวว่า จุดเด่นของ HAPYBOT คือการนำระบบขนส่งอัตโนมัติ Automatic Guided Vehicles (AGV's) มาช่วยทำงานซ้ำๆภายในโรงพยาบาล ซึ่งสิ่งที่ HAPYBOT มีความแตกต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไปคือ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางที่มีลักษณะพิเศษได้ สามารถเลือกเส้นทางเดินที่ดีที่สุด หรือหาเส้นทางสำรองอัตโนมัติ รวมไปถึงการติดตามงานที่มีสถานการณ์แตกต่างกันไป เพื่อช่วยขนส่งวัสดุ เอกสารสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จากการทดลองภายในรพ.กรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย พบว่ามีอัตราการเกิดอุบัติเหตระหว่างปฏิบัติหน้าที่คิดเป็นอัตราส่วน 0% ขณะที่รูปร่างหน้าตาของตัวหุ่นยนต์เป็นมิตร มีเซ็นเซอร์มากมายรอบตัว เพื่อวัดระยะทางแบบทันที ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ภายในตัว ทำให้มีหน่วยการประมวลผลความเร็วสูง สามารถทำงานได้ตลอดเวลา มีความโดดเด่นในด้านของความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่สามารถสั่งงานได้สะดวก ตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน โดยจะเริ่มใช้งานจริงภายในปีนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 10 ตัวในเครือรพ.กรุงเทพ โดยปัจจุบันจากการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ในแต่ละวันที่มีมากกว่า 1,000 รายการ ประกอบด้วย ตัวอย่างทางพยาธิวิทยา เลือด เนื้อเยื้อ ของเหลวที่ต้องส่งตรวจ ยา และเอกสารที่ต้องขนส่งโดยบุคลากรที่มีความรู้และมีประสบการณ์ ทำให้การขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าวต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ขณะเดียวกันต้องรับความเสี่ยงจากการสัมผัสหรือติดเชื้อ ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว HAPYBOT จึงตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจโรงพยาบาลที่ต้องการลดความสิ้นเปลืองในด้านของบุคลากร และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อขณะกำลังปฏิบัติงาน สำหรับ HAPYBOT เกิดจากการวิศกรไทยร่วมกับโรงงานผลิตหุ่นยนต์ประเทศจีน โดยใช้โครงสร้างหุ่นยนต์จากจีนและเกาหลีสร้างส่วนสมองการทำงานหลายชุดเข้าด้วยกัน โดยโปรแกรมเมอร์คนไทย พร้อมระบบเรียกลิฟต์ โดยสารลิฟต์ เปิดประตู โดยใช้งานง่าย สามารถสั่งผ่านหน้าจอด้าบนเครื่อง หรือสั่งผ่าน Tablet มือถือ หรือเชื่อมการทำงานผ่าน API กับระบบอื่นๆ มีประตูเลื่อนไฟฟ้าและระบบล็อคช่องเก็บของ โดยประตูจะเปิดต้นทางและปลายทางเมื่อถึงจุดหมายยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆอีกด้วยเช่ย เดินนำไปสู่ปลายทาง หรือเป็นไกด์ ซึ่งจะเดินหลายจุดต่อเนื่องพร้อมทั้งอธิบายระหว่างเดินหรือหยุดพูด ณ จุดที่กำหนดไว้ เมื่อเสร็จสิ้นการทำงานจะกลับมายังจุดชาร์พลังงานอัตโนมัติ นอกจากนี้ HAPYBOT ยังใช้แผนที่ที่สร้างขึ้นด้วยตัวเองมากำหนดแผนการเดินทางอัตโนมัติทันทีเมื่อรับคำสั่งให้ปฏิบัติงาน โดยใช้เซ็นเซอร์หลายชุดมากในการวิเคราะห์หลบหลีกอุปสรรค์และสิ่งกีดขวาง มีเทคโนโลยีการสื่อสารกับส่วนควบคุมลิฟต์ของอาคาร เพื่อสามารถเรียกลิฟต์ กดชั้น รับรู้สถานะ และข้อมูลของลิฟต์แบบเป็นปัจจุบัน