สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จัดนิทรรศการ “สิ่งที่มองไม่เห็น” (Invisible Things) นิทรรศการที่นำเสนอของใช้ในชีวิตประจำวัน จากประเทศเยอรมนี 25 ชิ้น และประเทศไทย 25 ชิ้น ที่ชวนให้ผู้เข้าชมนิทรรศการฯ ขบคิดและเข้าอกเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิด และวิถีชีวิตอันเป็นลักษณะเฉพาะของผู้คนทั้งสองประเทศ ผ่าน 50 สิ่งจัดแสดง ที่สะท้อนความเป็นเยอรมัน และความเป็นไทยได้อย่างเด่นชัด นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA กล่าวว่า “ประเทศเยอรมัน” มีผลิตภัณฑ์มากมายที่ออกแบบบนแนวคิดสร้างสรรค์ผสมกับอัตลักษณ์ที่น่าสนใจ มีแบรนด์สินค้าชั้นนำระดับโลกหลากหลายแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนทั่วโลก ซึ่งสะท้อนชัดเจนในมูลค่าทางเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศเยอรมนีที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง นิทรรศการนี้ ได้รวบรวม และจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของใช้ธรรมดาในชีวิตประจำวัน จาก 2 ประเทศ อย่าง “เยอรมนีและไทย” ทั้งหมด 50 รายการ ที่ดูเหมือนไม่มีอะไรพิเศษ แต่ทั้งหมดแฝงเรื่องราวน่าเรียนรู้ในหลากมิติ ทั้ง เสน่ห์ตัวตน  วัฒนธรรม  ความเชื่อ  ไลฟ์สไตล์ และความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงมุมมองต่อสิ่งของต่างวัฒนธรรม ผ่านคำถามว่าอะไรคือความเป็นไทย และอะไรคือเยอรมัน  ได้อย่างเด่นชัด โดยมีภัณฑารักษ์จากทั้ง 2 ประเทศ ประกอบด้วย นายฟิลิป คอนเวล-สมิธห์  นายมาร์ติน เรนเดล และ นายพิบูลย์ อมรจิรพร เป็นทีมผู้สร้างสรรค์นิทรรศการฯ เป็นผู้คัดเลือก อาทิ ‘จมูกตัวตลก’ จากเครื่องหมายอัศเจรีย์สีแดง สู่สัญลักษณ์สร้างความสุขให้ผู้คน (Fake Nose) จมูกทรงกลมสีแดง ขนาดใหญ่เทียบเท่าผลมะเขือเทศพันธุ์ลูกท้อของไทย หนึ่งในสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาใช้ในสร้างความสุขของผู้คนในประเทศเยอรมัน ในช่วงที่มีการจัดเทศกาลคาร์นิวัล เพื่อเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนเครื่องหมายอัศเจรีย์ และบอกใบ้ว่าทุกสิ่งที่ทำหรือพูดออกมาล้วนแต่ตั้งใจจะให้ตลก นับเป็นการสะท้อนถึงความเป็นชนชาติที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องตลกเป็นอย่างมาก ซึ่งขัดจากภาพจำของผู้คนจากทั่วโลกที่มองว่า ผู้คนในเยอรมันเป็นคนที่ตึงเครียด รองเท้าแตะเบียร์เคนชต็อก’ รองเท้าที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพผู้ใช้งาน มากกว่าแฟชั่น (Birkenstock sandals) แบรนด์รองเท้าเพื่อสุขภาพในตำนาน โดยเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลกอย่างต่อเนื่องถึง 245 ปี เหตุเพราะผู้ผลิตได้ทำการคัดสรรวัสดุคุณภาพดีมาใช้ในกระบวนการผลิต พื้นรองเท้าที่สามารถปรับพื้นผิวให้รับกับฝ่าเท้าของผู้สวมใส่ ซึ่งช่วยลดอาการปวดขา และปวดหลังได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงดีไซน์ที่ทันสมัยสามารถนำไปแมชต์กับการแต่งกายได้ทุกเพศทุกวัย ·       ‘กระบอกตั๋วรถเมล์’  - ในเสน่ห์เสียงการเขย่ากระบอก อีกมุมคือนวัตกรรมที่เข้าใจผู้ใช้อย่างแท้จริง (Conductor’s Ticket Tubes) นวัตกรรมทรงประสิทธิภาพประจำรถเมล์ไทย เพื่อเป็นสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารเตรียมชำระค่าโดยสาร นอกจากนี้ กระบอกตั๋วยังมาพร้อมกับฟังก์ชันการใช้งานสารพัดประโยชน์ ทั้งด้านพื้นที่ที่สามารถใส่ตั๋วได้ทุกชนิดราคา และใส่เหรียญได้ทุกขนาด รวมไปถึงฝากระบอกที่สามารถทำหน้าที่ตัดหรือฉีกตัวคืนผู้โดยสาร เพื่อระบุว่าผู้โดยสารขึ้นและลงที่ระยะใด ·       ‘สติกเกอร์เปลี่ยนสีรถ’ สิริมงคลต้นทุนต่ำ แต่เพิ่มมูลค่าอบอุ่นใจเพียงแรกติด (Car Color Stickers) สติกเกอร์มงคลต้นทุนต่ำ อย่างสติกเกอร์ที่มีข้อความ ‘รถคันนี้สีแดง’ หรือ ‘รถคันนี้สีขาว’ ถือเป็นสิ่งที่สร้างการโต้เถียงแก่ผู้พบเห็น เพราะข้อความบนสติกเกอร์ย้อนแย้งกับความเป็นจริงของสีรถ แต่กลับสะท้อนความเชื่อเรื่องโชคลาง และสีมงคลของคนไทยได้เป็นอย่างดีว่า สติกเกอร์สีดังกล่าว ช่วยสร้างความอบอุ่นทางจิตใจ เป็นสิริมงคลกับเจ้าของรถ รวมถึงยังช่วยให้เจ้าของรถประหยัดงบไม่ต้องไปทำสีใหม่ทั้งคัน                 นอกจากนี้ ยังมีการฉายภาพยนตร์สั้นที่เล่าถึงการแลกเปลี่ยนมุมมองต่างวัฒนธรรมโดยกลุ่มนักศึกษาจากทั้งสองประเทศ คือ ทีมนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ ทีมนักศึกษาจากTechnische Hochschule Köln (Cologne University of Applied Sciences) ประเทศเยอรมนี โดยพร้อมเปิดให้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งแบบรายบุคคลและหมู่คณะ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน น.ส.มาเร็น นีเมเยอร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย กล่าวว่า นิทรรศการนี้ได้สัญจรไปจัดแสดงในหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี จีน และล่าสุดไทย ณ TCDC กรุงเทพฯ ซึ่งทุกครั้งของการเดินทาง สถาบันฯ ได้เตรียมมุมแปะกระดาษโพสอิท (Post It) เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมที่มีต่อประเทศเยอรมัน และเมื่อเดินทางไปจัดแสดงครบตามกำหนดแล้ว สถาบันเกอเธ่ จะรวบรวมทุกความคิดเห็นจากผู้เข้าชมทุกประเทศทั่วโลก มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการอีกครั้งในภายหลัง ณ ประเทศเยอรมนี เป็นลำดับต่อไป สนใจสามารถเที่ยวชมนิทรรศการได้ฟรี! ระหว่างวันที่ 13 มิ.ย.– 15 ก.ย.62 เวลา 10.30 - 21.00 น. (ทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์) ณ ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1 อาคารไปรษณีย์กลาง (ส่วนหลัง) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ โทรศัพท์  0-2105-7400 ต่อ 213-4 หรือติดตามรายละเอียดที่ tcdc.or.th และ #InvisibleThings