สกู๊ปพิเศษ / แทนคุณ จิตต์อิสระ ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดีเป็นที่จับตามองอย่างยิ่งระหว่างประเทศไทยของเราไม่มีการเลือกตั้งและไม่มีสิ่งที่เรียกว่าผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งมานานพอควรอย่างน้อยก็ห้าปีเต็ม นานพอที่จะทำให้เกิด New voter ที่เมื่อ 5 ปี ที่แล้วยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งยังไม่รู้อีโหนอีเหน่ทางการเมืองเพราะอายุ 13 ปีแน่นอนอาจไม่ทั้งหมดอาจมีบางคนที่สนใจ ดังนั้น ทำให้คนที่จะมาเป็นผู้แทนราษฎรได้รับการจับตามองคนที่มาเป็นผู้แทนทั้งจากคุณสมบัติความรู้ความสามารถหรืออะไรก็ตามที่จะทำให้การประชุมสภาผู้แทนราษฏรในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักที่สำคัญที่สุดของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนแต่เท่าที่สังเกตดูในช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา เท่าที่ติดตามการประชุมดูเหมือนว่าความสนใจของประชาชนนอกจากการเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในที่สุดก็ได้ชวน หลีกภัย กลับมาเป็นสมัยที่สองและการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วประเมินจากเนื้อข่าวต่างๆจะเน้นหนักไปที่การปฏิบัติการของผู้แทนผู้ทรงเกียรติบางท่าน ที่แสดงออกไม่เหมาะสมตั้งแต่เรื่องการแต่งกายถึงความเหมาะสมว่าในช่วงที่กำลังขอความร่วมมือเรื่องการไว้ทุกข์ให้กับรัฐบุรุษและประธานองคมนตรี คือ ท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เรื่องวิวาทะระหว่างผู้แทนหญิงถึงขั้นด่าทอกันผ่านสื่อ เรื่องความเหมาะสมของผู้แทนชายที่กลายเป็นการแสดงออกมีแนวคิด "ต่ำตม" อยากเห็นผู้หญิงตบกันมากกว่าห้ามปราม ไปจนถึงแนวคิดซ้ายตกขอบผ่านการขุดคุ้ยของนักสืบออนไลน์ ที่นำภาพในอดีตก่อนจะมาเป็นผู้แทนย้อนไปนานตั้ง 9 ปี ลอกคราบถอดเปลือกเปลือยแนวคิดและพฤติกรรมต่อสถาบันกันเลยทีเดียว ที่จริงเรื่องการเมืองการปกครองกับทัศนคติของคนเป็นผู้แทนแม้จะมีบทบัญญัติออกเป็นระเบียบกฎหมายมากมาย ก็มิอาจบังคับใช้กับคนที่มีฝักใฝ่แนวคิดที่ไม่ต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ในการปกครองได้มิดชิด แต่กระนั้นก็ตามการมีแนวคิดแบบนั้นก็มิอาจนับว่าเป็นอาชญากรรมหรือเป็นสิ่งต้องห้ามหรือต้องปิดกั้นตำหนิกันรุนแรงแม้พื้นที่ในการแสดงออกถึงเรื่องการไม่เห็นด้วยจะมีน้อยจนแทบไม่มีก็ตาม ประเด็นไม่ได้อยู่ที่มีทัศนคติอย่างไรเท่านั้นแต่อยู่ที่การแสดงออกต่อความคิดเห็นของตนเองในสถานภาพผู้แทนราษฏรมากกว่า สังคมไทยคาดหวังและให้คุณค่ากับผู้แทนในฐานะผู้ทรงเกียรตินั้นหมายความว่าจะทำอะไรก็ต้องให้เกียรติและคนเป็นผู้แทนก็ต้องทำตัวให้มีเกียรติ คำว่ามีเกียรติเป็นคำที่ต้องตีความว่าทำอย่างไรถึงเรียกว่ามี "เกียรติ" อาจหมายความว่าเป็นผู้ที่น่าเคารพน่านับถือทั้งพฤติกรรมและสถานภาพทางสังคม โดยเฉพาะตัวพฤติกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนกำลังจดจ้องอย่างมากปรากฏการณ์ของคนรุ่นใหม่ที่มาทำหน้าที่ผู้แทน ที่ไม่เคยทำมาก่อนตั้งแต่งานพื้นที่ที่ต้องไปร่วมงานบวชงานศพงานแต่งงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่งานตามประเพณีเช่นงานวันเด็กงานสงกรานต์งานวันพระใหญ่น้อยงานตรวจเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ประสบภัยในเขตเลือกตั้งของตนเช่นน้ำท่วมเป็นต้นยังไม่นับรวมงานประชมสภา ที่ต้องเตรียมข้อมูลไว้อภิปรายอย่างหนักเพื่อให้ประชาชนเกิดภาพจำและได้ประโยชน์สูงสุดในการทำงาน งานของผู้แทนเรียกว่างานที่มีเกียรติเพราะป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชนจึงได้รับการยอมรับและยกย่องให้เกียรติ กลับมาที่ประเด็นเรื่อง "เกียรติ" กับการแสดงออกถึงความจงรักภักดีหรือทัศนคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเราพูดได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ให้เกียรติคนที่ทำความดีให้กับส่วนรวมอย่างมากมาก่อนแต่เดิมเราเป็นอย่างนั้นใครเสียสละใครทำความดีเราก็ยกย่องและมีความผูกพันยิ่งเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งมีความชัดเจนสังคมไทยและคนไทยส่วนใหญ่ให้"เกียรติ" หรือเทิดพระเกียรติอย่างสูงสุดเนื่องจากถือว่าได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและมีอีกสถานภาพหนึ่งคือเป็นสมมติเทพ เพราะถือว่าเทพคือผู้ปกป้องคุ้มครองจนเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองไปด้วยในที ดังนั้นการละเมิด "เกียรติ" ของพระมหากษัตริย์ก็เหมือนกับการละเมิดในศรัทธาและการให้คุณค่าของเทพที่เป็นที่ยอมรับในสมมติบัญญัตินั้นๆไปในตัว การมีความอิสระเสรีภาพในการแสดงออกก็ต้องมีเพราะเป็นตัวชี้วัดและการให้คุณค่าของเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตยที่ไทยก็ต้องถือปฏิบัติและส่งเสริมให้เกิดขึ้น แล้วอะไรคือจุดสมดุลและตัดสินว่าการแสดงความคิดเห็นและการให้เกียรติต่อสิ่งที่เราไม่เห็นด้วยจะทำได้อย่างไรและสำหรับผู้ที่เป็นแนวร่วมที่สนับสนุนแนวความคิดที่แตกต่างนั้นจะทำอย่างไรไม่ให้กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวได้ การที่มีความเห็นต่อสถาบันที่คนส่วนใหญ่เคารพนับถือถ้ากระทำด้วยความระมัดระวังเป็นไปด้วยท่าทีที่สุภาพเหมาะสมหรือให้ทัศนคติที่ทำให้เกิดการปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปกระทำด้วยความระมัดระวังไม่เป็นการละเมิดหรือดูหมิ่นแสดงออกถึงความอาฆาตมาตร้ายทำให้เป็นที่เกลียดชัง คิดว่าก็น่าจะเป็นกรอบที่กว้างและให้ความชัดเจนในการแสดงออกต่อสถาบันที่มีเกียรติอันสูงสุดจากผู้แทนซึ่งก็เป็นผู้มีเกียรติเช่นเดียวกัน เพราะถ้าหาแบ่งของความสมดุลที่ไม่ล้ำเส้นกันละกัน เปิดเสรีภาพให้วิพากษ์วิจารณ์ได้แต่ไม่กลายเป็นการอาฆาตหรือทำให้เกิดความรังเกียจและขณะเดียวกันเอะอะอะไรก็ยัดเยียดคำว่า "ล้มเจ้า" จนเฝือจนถูกมองว่ากลายเป็นเครื่องมือสำหรับเล่นงานฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ถามว่าคนไทยหรือหน่วยความมั่นคงรู้ไหมว่า "กระบวนการล้มเจ้า" มีจริงไหมถ้าล้มเจ้าแปลว่าทำให้สลายหายไปหมดก็ต้องตอบว่ามีจริงอยู่แล้วคนที่คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นแบบบางประเทศแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า มีบางส่วนที่หยิบเอาคำว่า"ล้มเจ้า" ไปใช้โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะนำ "เจ้า" มาทำให้เป็นเครื่องมือในการโจมตีหรือตำหนิฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความไม่เหมาะสมในทุกกรณี ดังนั้น ความเหมาะสมสำหรับผู้แทนผู้ทรงเกียรติหากไม่ยอมรับ "เกียรติ" ของผู้อื่นไหนเลยจะเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจและให้ "เกียรติ" กับตนเองได้จึงอยากฝากผู้แทนที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมรับและไม่เข้าใจทัศนคติเรื่อง "เกียรติ" ที่คนรุ่นหนึ่งได้บ่มเพาะสั่งสอนมายาวนาน ทำให้การแสดงออกก็ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมบางอย่างหรือคติบางอย่างของสังคมส่วนหนึ่ง เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งเพราะอีกบางส่วนก็ถือว่าความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำได้นานนับวันต่อไปแนวคิดสองอันนี้ก็ต้องหาจุดสมดุลให้เจอว่าความไม่เท่าเทียมกันจะไม่สร้างปัญหาให้กับความเท่าเทียมกัน หรือจะแบ่งเส้นแบ่งที่เหมาะสมได้อย่างไรในอนาคตจะเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์และต่อสู้กันสักยกครับ