“นงนุช” CEO ฟาร์มสุขใจพร้อมสานฝันกลุ่มเกษตรกร "คืนถิ่นปลูกกัญชา พืชเศรษฐกิจไทย สู่ทองคำเขียว” ขณะที่ประธานโครงการเดินหน้าอย่างเต็มที่อีสาน เหนือ กลาง และ ใต้ เพื่อหวังให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย วันนี้ (17 มิ.ย.62) นางสาวนงนุช บัวใหญ่ หรือ “นางฟ้ากัญชา” CEO บมจ. ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนฟาร์มสุขใจ ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ประชาชนและกลุ่มเกษตรกรทั่วทุกภูมิภาคทั้งอยู่ภายใต้โครงการฟาร์มสุขใจ และองค์กรภาคีเครือข่าย เรียกร้องมาให้พวกเรารีบดำเนินการส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรได้ปลูกกัญชาตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกัญชา พ.ศ.2562 เพราะตอนนี้เกษตรกรทุกพื้นที่ทราบและชำนาญในการปลูกพืชเป็นอย่างดี ถ้ารัฐมีการอนุญาตปลูกกัญชาเกษตรกรเองคงไม่มีปัญหาในเรื่องปลูก พวกเราได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านกัญชากับประชาชน จนทุกวันนี้เกษตรกรมักจะเรียกตนว่า “นางฟ้ากัญชา” ล่าสุดนี้ก็ได้ลงนามข้อตกลงทำ MOU กับองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ ทุกเครือข่ายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกกัญชาทั้งตามกรอบกฎหมาย หรือ แบบเสรี ตามที่รัฐบาลจะออกกฎหมายออกมาส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูก ซึ่งทางเราก็ต้องการจะให้ ฟาร์มสุขใจสานฝันกลุ่มเกษตรกร “คืนถิ่นปลูกกัญชา พืชเศรษฐกิจไทย สู่ทองคำเขียว” ต่อไป นายดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ นายกสมาคมเครือข่ายกองทัพสีเขียวด้วยชีวิตพอเพียง ประธานคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ทสม.ระดับประเทศ และ ประธานโครงการ “ฟาร์มสุขใจ พัฒนากัญชาไทย เพื่อชนบทไทย มั่นคงและยั่งยืน” ได้กล่าวว่า ด้วยกลไกและเงื่อนไขใหม่ทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงและ มีความซับซ้อนเชื่อมโยงกันของปัญหามากขึ้นทั้งในระดับจุลภาค และมหภาค ทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบเดิมๆที่มุ่งเน้นการดำเนินงานแบบแยกส่วน และเฉพาะหน้าไม่ได้ผลแนวคิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ในกระแสโลกมุ่งเน้นที่การดำเนินการอย่างองค์รวม และการบูรณาการระหว่างภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีองค์กรหนึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรขับเคลื่อนหรือเจ้าภาพหลักในการดำเนิน ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนและทันท่วงที หากพิเคราะห์บริบทและแนวโน้มของสังคมไทยแล้ว เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือเครือข่าย ทสม.ซึ่งเป็นเครือข่ายหลักของภาคประชาชน ตามระเบียบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งและสนับสนุนหลักโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นองค์กรขับเคลื่อนมากที่สุด เนื่องด้วยปัจจัยภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ดังเช่น พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 มาตรา 16 และมาตรา 17 ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่าย ทสม.ตามยุทธศาสตร์ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สีเขียว” ในการกำจัดมูลฝอยและน้ำเสีย จัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ รวมทั้งคุ้มครองมลพิษ ดูแลและบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน และพื้นที่เรียนรู้ทางทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวถือว่าเป็นจุดแข็งอย่างมากสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่าย ทสม.ยังมีปัจจัยที่เข้มแข็งซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่าย ทสม.เช่น หน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมของบุคลากรท้องถิ่น และผู้นำของเครือข่าย ทสม.ยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร เช่น การวิเคราะห์ การวางแผน การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ การบริหารจัดการ ติดตามตรวจสอบและเผ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมการพัฒนาสารสนเทศและข้อมูล เป็นต้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่าย ทสม.สามารถรักษาจุดแข็งภายในและเสริมสร้างโอกาสภายนอกได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จะทำให้จุดอ่อนภายในด้านความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของบุคลากรลดลงตามลำดับ นายดิชฐ์พิเชษ กล่าวอีกว่า โครงการฟาร์มสุขใจพัฒนากัญชาไทยเพื่อชนบทไทยมั่นคงและยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์และกระบวนการทำงานเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแก่ผู้นำเครือข่าย ทสม.อำภอละ 50 คน รวมถึงผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยเน้นการจัดการแหล่งเรียนรู้สีเขียวในท้องถิ่น แปลงแผนนโยบายและแผนระดับชาติ ตามกรอบแนวคิด “คนไทย...หัวใจสีเขียว” ไปสู่แผนปฏิบัติการระดับจังหวัดและท้องถิ่น ให้ผู้นำเครือข่าย ทสม.ในระดับอำเภอ และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสามารถบริหารโครงการได้อย่างครบวงจร เพิ่มขีดความสามารถผู้นำเครือข่าย ทสม.ตลอดทั้งบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการรักษาและฟื้นฟูคุณภาพน้ำ ด้านการจัดการมูลฝอย ของเสียอันตรายและการใช้ประโยชน์จากของเสีย การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม และด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ และเพื่อประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายการพัฒนาผู้นำเครือข่าย ทสม.และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กับสมาคมเครือข่ายกองทัพสีเขียวด้วยชีวิตพอเพียง ร่วมกับเครือข่ายสถานีวิทยุและโทรทัศน์ “คลื่นสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม” และ บก.ปทส.รวมถึงสถาบันการศึกษาในพื้นที่ แล้วผนึกกำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ทั้ง อีสาน เหนือ กลาง และ ใต้ เพื่อหวังให้ กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย.