ผู้ก่อตั้ง บ.อีสท์ เวสท์ ซีด ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก มูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ ด้วยการตระหนักถึงความมุ่งมั่นที่ได้ทุ่มเทให้กับการปรับปรุงโภชนาการที่ดีขึ้นสำหรับผู้บริโภค และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรรายย่อยทั่วโลก
มร.ไมก์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และมร.เคนเน็ธ ควินน์ ประธานมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ (World Food Prize) ได้ประกาศให้ ม.ร.ไซมอน แนนน์ กรู๊ท ผู้ก่อตั้งบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด หรือเป็นที่รู้จักในนาม “ตราศรแดง” เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ (World Food Prize) ประจำปี พ.ศ. 2562 ในฐานะของผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ สุขภาพและการได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนเกษตรกรรายย่อยกว่า 60 ประเทศในเขตร้อน ซึ่งช่วยให้เกษตรกรรายย่อยขยับขยายจากการทำการเกษตรแบบยังชีพมาเป็นผู้ประกอบการ ณ กรุวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา
รางวัลมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ หรือที่รู้จักในชื่อ “รางวัลโนเบลในวงการอาหารโลก” ได้ยกย่องถึงความทุ่มเทตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ทศวรรษของ มร.กรู๊ท และบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชผักเขตร้อน โดยมีเกษตรกรรายย่อยเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และขยายต่อเนื่องไปทั่วภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา ผลงานของมร.กรู๊ท ได้แก่การฟื้นฟูและสร้างความยั่งยืนในตลาดพืชผักทั้งในชนบทและในเมือง ทำให้ผู้ผู้บริโภคกว่าหลายล้านครัวเรือนสามารถเข้าถึงผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีราคาที่เหมาะสมได้มากขึ้น
มร.เคนเน็ธ ควินน์ ได้กล่าวถึง มร.กรู๊ท ว่า “สิ่งที่ มร.กรู๊ทได้ทุมเทในช่วงเวลาที่ผ่านมา คล้ายกับเรื่องรวมของ ดร. นอร์แมน บอร์ลัก ที่ได้รับรางวัลเดียวกันก่อนหน้านี้ โดย มร.กรู๊ท อุทิศเวลาทั้งชีวิตของท่านเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนนับล้านทั่วโลก” “ท่านและบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ที่ท่านก่อตั้งขึ้น ได้พัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ทั่วโลก ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเกษตรกรจำนวน 20 ล้านคนในทุกๆ ปี ด้วยความทุ่มเทและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นี้ เราจึงเห็นสมควรมอบรางวัลมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์แก่ มร.กรู๊ท”
แรกเริ่มการปรับปรุงพันธุ์พืชผักเชิงพาณิชย์เป็นที่รู้จักแพร่หลายแต่ไม่รวมถึงประเทศในเขตร้อน เกษตรกรมากมายประสบปัญหาในการเพาะปลูกพืชที่ดี อันเนื่องมาจากเมล็ดพันธุ์คุณภาพต่ำที่เกษตรกรเก็บจากการเพาะปลูกไว้ใช้สำหรับการเพาะปลูกในหลายฤดูกาล ด้วยคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ส่งผลถึงรายได้ที่ลดน้อยลง อันนำไปสู่ความยากจนและการขาดสารอาหารที่ครบถ้วนของเกษตรกรรวมทั้งครอบครัวของพวกเขา มร.กรู๊ท เข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว ท่านเห็นหนทางที่จะทำลายวงจรความยากจนและช่วยให้เกษตรกรประสบความสำเร็จด้วยการส่งผ่านพืชผักที่มีมูลค่าและมีความหลากหลายไปยังพวกเขา
มร.กรู๊ท ได้ก่อตั้งโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม ซึ่งมาจาการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีดและองค์กรไม่หวังผลกำไรทั้งในและต่างประเทศ โครงการนี้ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมเชิงปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักไปยังเกษตรนับหมื่นคนทั่วโลกในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ มร.กรู๊ท ได้กล่าวถึงรางวัลนี้ว่า “รางวัลนี้เป็นรางวัลสำหรับเกษตรกรรายย่อยหลายล้านคนที่ประสบความสำเร็จจากการเพาะปลูกเพื่อการยังชีพสู่การเพาะปลูกเชิงธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อครอบครัวและชุมชน พวกเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการเพาะปลูกพืชผักในพื้นที่ที่ไม่ต้องใหญ่นัก เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มรายได้ การจ้างงานและปรับปรุงโภชนาการในชนบทได้ในเวลาเดียวกัน"
ศาสตราจารย์ ดร.Louise O. Fresco อธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัย Wageningen University and Research กล่าวว่า “ฉันภูมิใจที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของเรามีส่วนผลักดันการพัฒนาและการเติบโตของตลาดพืชผักเขตร้อนเนื่องจากความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายซึ่งถือเป็นจุดแข็งของแนวทางการทำงานตามวิถีของชาวดัตช์ ดร. บอร์ลักจะประทับใจในความมานะ มุ่งมั่นและทุ่มเท รวมถึงวิสัยทัศน์ของ ม.ร.ไซมอน กรู๊ท และแน่นอนว่า ความมั่นคงด้านอาหารที่แท้จริงนั้นไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงจำนวนแคลอรี่ที่ได้รับจากอาหาร แต่รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากพืชผักอีกด้วย
ทั้งนี้ มร.กรู๊ท จะขึ้นรับรางวัลมูลนิธิเวิลด์ฟู้ดไพรซ์ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 นี้ ซึ่งจะจัดขึ้นที่ ดิมอยน์ มลรัฐไอโอว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา