สัปดาห์พระเครื่อง / อ.ราม วัชรประดิษฐ์ หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมเขาสามยอด จ.ลพบุรี นับได้ว่าเป็นปูชนียธรรมสำคัญแห่งพระบวรพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะชาวเมืองลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ท่านเป็นพระเกจิที่รักสันโดษ มุ่งมั่นปฏิบัติกิจสงฆ์ตามครรลองแห่งพุทธธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน และสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนที่แวะเวียนมากราบสักการะด้วยความเคารพเลื่อมใสไม่ขาดสาย แม้เส้นทางการเดินทางจะไม่สะดวกสบายเฉกเช่นศาสนสถานทั่วๆ ไป เนื่องจากต้องเดินทางขึ้นไปบนเขาสามยอดสู่ ‘ปูชนียสถาน เขาสามยอด’ ก็ตาม หลวงปู่เรือง ไม่ใช่ชาวเมืองลพบุรีโดยกำเนิด ภูมิลำเนาเดิมของท่านเป็นชาว ต.บ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2457 สมัยเด็กศึกษาเล่าเรียนอักขระภาษาไทยและขอมที่โรงเรียนขุนโคกปีบปรีชา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งนับว่ามีน้อยคนนักในสมัยนั้น จากนั้นออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ จนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2477 ท่านได้อุปสมบทที่วัดสระข่อย ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยมี พระครูวิมลโพธิเขต (หลวงพ่อจำปา) เจ้าอาวาสวัดโคกปีบ เจ้าคณะตำบลโคกปีบ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูทัด วัดโคกมอญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ฉัตร วัดท่าประทุม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อาภัสสะโร เนื้อฟักทอง ปี 2500 ด้านหน้า เนื้อฟักทอง ปี 2500 ด้านหลัง ท่านตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาการต่างๆ แค่เพียงพรรษาแรกท่านก็สามารถสอบนักธรรมตรีได้ พรรษาที่ 2 สอบได้นักธรรมโท และพรรษาที่ 3 สามารถสอบได้นักธรรมเอก จากนั้น พระอาจารย์ฉัตรขอให้ไปช่วยสอนธรรมะที่วัดต้นโพธิ์อยู่ระยะหนึ่ง นอกจากจะไปสอนธรรมะแล้ว หลวงปู่เรืองยังใช้เวลาศึกษาวิทยาการเพิ่มเติม ทั้งด้านวิชาบาลีมูลกัจจายน์ โหราศาสตร์ สมุนไพรต่างๆ รวมถึงด้านวิทยาอาคมต่างๆ จนแตกฉานด้วย เมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดสระข่อยได้ ครบ 10 พรรษา จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ โดยขอผ้าจีวรไปเพียงชุดเดียว ท่านมุ่งไปทางภาคอีสาน แล้วกลับมาจำพรรษาอยู่ที่ ‘ถ้ำพิบูล’ จ.ลพบุรี ในพรรษาที่ 13 ปี พ.ศ.2489 จำพรรษาได้เพียง 5 พรรษา ทางทหารได้ขอนิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดแห่งใหม่ เนื่องจากในบริเวณนั้นเป็นเขตทหาร เกรงว่าจะได้รับอันตราย แต่ท่านกลับเดินขึ้นเขาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพบ ‘ถ้ำพระอรหันต์’ ที่ เขาสามยอด ในปี พ.ศ.2493 พระสมเด็จ รุ่งเรือง ฝังตะกรุดด้านหน้า พระสมเด็จ รุ่งเรือง ฝังตะกรุดด้านหลัง วัตรปฏิบัติโดยส่วนใหญ่ ท่านจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานและโปรดสัตว์ ซึ่งมีทั้งลิง ไก่ป่า และสัตว์ป่าต่างๆ ด้วยบารมีธรรมของท่านทำให้สัตว์ต่างๆ เหล่านี้เชื่องจนถึงกับมารับอาหารจากมือของท่านทีเดียว นอกจากนี้ ท่านมักสนทนาธรรมกับญาติโยมที่ขึ้นมากราบนมัสการบนเขาสามยอดเป็นเนืองนิจ เหรียญรุ่นแรก 2538 บารมีรุ่งเรือง ด้านหน้า เหรียญรุ่นแรก 2538 บารมีรุ่งเรือง ด้านหลัง กิตติศัพท์ของ หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร เป็นที่เล่าขานจากปากสู่ปาก สาธุชนมากมายต่างเดินทางขึ้นเขาสามยอดเพื่อกราบนมัสการและขอพรจากหลวงปู่เรืองอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทางเดินขึ้นสู่กุฏิก็เป็นทางเดินเล็กๆ ร่มรื่นไปด้วยป่าไผ่และไม้เบญจพรรณ ใช้เวลาเดินทางประมาณชั่วโมงเศษ ก็จะถึงกุฏิ ซึ่งทางทหารได้ช่วยกันปลูกสร้าง รวมทั้งสร้างศาลาและแท็งก์น้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่หลวงปู่ ณ ปูชนียธรรมสถาน เขาสามยอด ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2556 สิริอายุย่างเข้าปีที่ 101 ปี ยังความโศกเศร้างสู่เหล่าลูกศิษย์ลูกหาแล พระกริ่งหลวงปู่เรือง อาภัสสะโร  ปี 2530 ด้านหน้า พระกริ่งหลวงปู่เรือง อาภัสสะโร  ปี 2530 ด้านหลัง พระกริ่งหลวงปู่เรือง อาภัสสะโร  ปี 2530 ด้านก้น วัตถุมงคลของหลวงปู่เรืองนั้น นับเป็นที่นิยมสะสมของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนที่ทราบถึงกิตติศัพท์ แต่ที่ท่านสร้างเองมีเพียงไม่กี่รุ่น เช่น ปี 2500 สร้างจากเนื้อฟักทองที่มีผู้นำมาถวาย, ปี 2538 เพื่อหาปัจจัยสร้างที่เก็บน้ำในถ้ำ และปี 2539 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 10 ม.ค.2539 นอกจากนั้น ส่วนใหญ่จะมีผู้จัดสร้างแล้วนำมาให้ท่านปลุกเสกให้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน ถ้าผ่านการปลุกเสกของหลวงปู่เรืองแล้ว ก็ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏทั้งสิ้นครับผม