“กฤษฏา” สุดปลื้ม บิ๊กตู่ ออกปากชม หลังเห็นผลสำเร็จ ดันสินค้าเกษตรสารพัดชนิดราคาพุ่งสุดเป็นประวัติการณ์ ชี้แผนเกษตรครบวงจร ส่งข้าวหอมมะลิ ชาวนาขายได้ตันละ1.6หมื่นบาท ส่วนข้าวโพดดึงเอกชนซื้อราคาประกันถึง 8บาทต่อกก. ทำไข่ไก่แตะ 3 บาทต่อฟอง ยางแผ่นรมควัน ดีดตัวแรงรอบ6เดือน แก้ปมทุจริตนมโรงเรียน งบ1.4 หมื่นล้านบาทโปร่งใส เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.62 นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชมและขอบคุณข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ที่ได้ทุ่มเทตั้งใจปฏิบัติหน้าที่นำนโบายรัฐบาลการปฏิรูปภาคเกษตร ลงสู่ฐานรากอาชีพเกษตรกรไทยให้เข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ซึ่งในรอบ5ปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จทำให้สินค้าเกษตรมีเสถียรภาพด้านราคา หลายชนิดขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ และไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแทรกแซงราคาเหมือนในอดีต โดยเป็นผลจากการใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต เช่นแผนข้าวครบวงจร 72.80 ล้านไร่ ผลผลิต34.63ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี ไม่ล้นตลาด ทั้งนี้ยังสามารถปรับลดการปลูกข้าวรอบ2 ไปปลูกพืชอื่น หากสถานการณ์ราคาข้าวอ่อนตัวลง ทำให้ข้าวหอมมะลิ ราคาถึงตันละ1.6หมื่นบาท ทั้งโครงการสานพลังประชารัฐปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา เกษตรกรงดทำนาปรังรอบ2 เข้าร่วม 8แสนไร่ ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาได้กำไรไร่ละ 3 พันบาท ได้ดึงภาคเอกชนมาประกันราคารับซื้อข้าวโพด 8 บาทต่อกก. สำหรับมาตรการผลักดันใช้ยางพาราในประเทศ ได้เห็นรูปธรรมแล้ว โดยองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ได้เริ่มซื้อน้ำยางไปทำถนนพาราซอยซีเมนท์กว่า3แสนกม.ทุกชุมชนทั่วประเทศ ดันราคายางสูงสุดในรอบ6เดือนเฉลี่ยราคายางแผ่นรมควันกว่า55.89บาทต่อกก. การใช้ยางทำผลิตภัณฑ์ต่างๆในหน่วยงาน จะสามารถดูดซับยางจากตลาดปีละกว่า1ล้านตัน ลดพื้นที่ปลูกยาง5แสนไร่ต่อปี จะมีผลผลิตปีละ4ล้านตัน ส่วนปาล์น้ำมัน มีผลกระทบความต้องการตลาดโลกลดลง รัฐบาล ออกมาตรการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ1.6แสนตันในราคา18บาทต่อกก.เพื่อเป็นพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลบี20 และต้องรับซื้อจากเกษตรกร3.24บาท ทำให้ราคาผลปาล์มสูงขึ้นเกือบ3บาทต่อกก. มาตรการสร้างเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ก่อนหน้านี้ราคาตกต่ำไข่คละหน้าฟาร์ม1.80-1.90บาทต่อฟอง โดยทุกฝ่ายร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ กรมปศุสัตว์ เร่งแก้ปัญหาสามารถ ลดนำเข้าแม่ไก่ยืนกรง เพิ่มส่งออกไข่ดันราคาขึ้นมาฟองละ3บาทโดยไม่กระทบผู้บริโภค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้กล่าวถึงการแก้หนี้สินเกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ(กฟก.)ขึ้นทะเบียนไว้4.6แสนราย วงเงินหนี้5.8หมื่นบาท ตลอดเวลา19ปีจัดการหนี้ได้เพียง1.9หมื่นราย มูลหนี้6พันล้านบาท จีงได้เร่งปรับโครงสร้างหนี้ ยืดเวลาชำระหนี้15ปี ลดยอดหนี้ลง50% ตัดดอกเบี้ย พร้อมแก้ขยายเกณฑ์การซื้อหนี้จากสถาบันเจ้าหนี้ ให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าชำระหนี้แทนเกษตรกรที่กู้เงินโดยใช้บุคคลค้ำประกันได้ โดยไม่เสียวินัยการเงินการคลังของประเทศ ทำให้เกษตรกรสมาชิกกฟก.ทุกรายได้รับอนิสสงค์ ในส่วนการพัฒนาแหล่งน้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ในรอบ5ปีนี้ดำเนินการขยายพื้นที่ชลประทาน เพิ่มถึง3.6เท่าเทียบกับรัฐบาลก่อน ได้เพิ่มพื้นที่ส่งน้ำ กว่า2.7ล้านไร่ พื้นที่รับประโยชน์4.49ล้านไร่ ครัวเรือนได้ใช้น้ำกว่า1.3ล้านครัวเรือน การปฏิรูประบบนมโรงเรียน จากที่ผ่านมาบริหารจัดการไม่โปร่งใสเกิดข้อร้องเรียนจากผู้เกี่ยวข้องมายาวนาน ทั้งเกิดปัญหานมบูดเสียไม่มีคุณภาพ นมล้นระบบเกษตรกรเดือดร้อน เด็กนักเรียนดื่มนมไม่ครบตามจำนวนวัน จึงจัดสรรโควตาใหม่ลงกลุ่มพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งบปีละ1.4หมื่นล้านบาท ได้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในปี62นี้เด็กนักเรียนกว่า 7.4ล้านคน 4.9โรงเรียนทุกจังหวัดได้รับนมครบในเทอมสองนี้ ใช้น้ำนมดิบ 1,078ตันต่อวัน มาตรการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า จากปัญหาวัคซีนไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ และมีประชาชนเสียชีวิตจากพิษสุนัขบ้า จึงบูรณาทุกภาคส่วน ตั้งเป้ากำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย ได้ปรับระบบให้อปท.จัดซื้อวัคซีนจากผู้จำหน่ายที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจากอย.ส่งผลให้มีปริมาณวัคซีนเพียงพอ และร่วมกันคุ้มโรค ได้ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้การแก้ไขทำประมงผิดกฏหมาย ได้ฟื้นทรัพยากรประมงจากการทำประมงมากเกินกำลังธรรมชาติ ใช้เครื่องมือและแรงงาน ทำประมงผิดกฏหมาย รัฐบาลได้ใช้มาตรการทางกฏหมายอย่างเข้มงวด ลดกองเรือประมง ทำให้สหภาพยุโรปปลดใบเหลือง ทั้งนี้ได้จ่ายเยียวยาให้กับเรือประมง570ลำที่ต้องหยุดทำประมง ทำให้ทรัพยกรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยกว่า1.2ล้านตัน และมาตรการจำกัดการใช้ 3สารเคมีวัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟรเซต คอร์ไพริฟอส นำไปสู่การห้ามใช้ในปี63 เพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยผ่านการรับรองจีเอพี 1.5แสนแปลงพื้นที่7.5แสนไร่ พื้นที่เกษตรอินทรีย์6.5แสนไร่ สำหรับการจัดสรรที่ดินทำกิน ยึดคืนที่ส.ป.ก.จากผู้ถือรายใหญ่ตามคำสั่งมาตรา44กว่า4.4แสนไร่ ดำเนินการจัดที่ดินแล้ว กว่า3แสนไร่ จัดให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล และจัดให้ผู้ถือครองเดิมหรือกระจายสิทธิ ตามกฏหมายส.ป.ก.268,359ไร่ นายกฤษฏา กล่าวว่า บทบาทสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร ผลลัพธ์จากการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาสหกรณ์ในระยะเวลา 5 ปี ส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกสหกรณ์รวมทั้ง สิ้น 11.57 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จํานวน 0.10 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 0.87) สหกรณ์มีทุนดําเนินงานรวม 3.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จํานวน 0.69 ล้านล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 28.28) และมีปริมาณธุรกิจรวม 2.52 ล้าน ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 จํานวน 0.29 ล้านล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 13.21) ส่วนสหกรณ์ภาคการเกษตรกว่า 1,573 แห่ง มีศักยภาพในการรวบรวมและรับซื้อผลผลิต การเกษตรที่สําคัญของเกษตรกรสมาชิก เช่น ข้าว ยางพารา มันสําปะหลัง ปาล์มน้ํามัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยมี ปริมาณการรวบรวมมากกว่า 5.53 ล้านตัน/ปี มีสหกรณ์ 718 แห่ง สามารถจัดการด้านคุณภาพและแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ปริมาณรวมกว่า 1.103 ล้านตัน/ปี มีสหกรณ์กว่า 55 แห่ง มีศักยภาพในการผลิตสินค้า เกษตรส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 28 ประเทศ ผลผลิตจําหน่ายรวม 45,869.05 ตัน มูลค่า 1,888.52 ล้านบาท