เอกลักษณ์ที่ชาวโลกเห็นกันมานานกว่า 300 ปีกำลังอาจจะสูญสลาย จากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งนักวิทย์นักดาราศาสตร์ต่างจับตา-ค้นหาสาเหตุ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้โพสต์เรื่องราวที่กำลังเป็นที่จับตาของนักดาราศาสตร์ทั่วโลก ด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของ “จุดแดงใหญ่” บนดาวพฤหัสบดี “#จุดแดงใหญ่จะอยู่หรือไป #โธ่จุดแดงใหญ่ :’( จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) คือ พายุสีแดงขนาดใหญ่ หนึ่งในเอกลักษณ์ของดาวพฤหัสบดีที่มนุษย์รู้จักมานานกว่า 300 ปี ล่าสุดนักดาราศาสตร์สมัครเล่นพบการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่อาจเป็นสาเหตุทำให้พายุยักษ์นี้ค่อย ๆ จางหายไป สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นคือ มีส่วนสีแดงคล้ายใบพัดยื่นออกมาจากใจกลางพายุวงกลมสีแดง ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร มีเพียงสมมติฐานว่า อาจเกิดจากกลุ่มพายุขนาดเล็กบริเวณทิศใต้จุดแดงใหญ่ เคลื่อนเข้ารวมตัวกันจนทำให้จุดแดงใหญ่เกิดความแปรปรวน และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้จุดแดงใหญ่สลายตัวเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ #พายุลูกใหม่จะโค่นพายุลูกใหญ่หรือไม่โปรดติดตามกันต่อไป เรียบเรียง : ธนกร อังค์วัฒนะ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร. อ้างอิง :  [1] https://www.space.com/jupiter-great-red-spot-blades-amateur… [2] http://astro.christone.net/jupiter/index.htm