วันนี้ (20 พ.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่สยามรัฐ ได้ออกเผยแพร่ข่าวสารของการสร้างพระรอดทองคำ วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน สร้างความฮือฮา ประชาชนผู้ศรัทธาเดินทางไปสั่งจองจำนวนมาก และสอบถามทางโทรศัพท์ กันอย่างเนื่องแน่น ซึ่งทางวัดได้สร้างตามจำนวนที่ระบุ ซึ่งพิธีมี 3 ขั้นตอน ตอนนี้ขั้นตอนแรกก็ผ่านไปแล้ว เหลืออีก 2 ขั้นตอน ที่จะลงมือสร้าง ขณะ ที่วัดมหาวันโดยพระเดชพระคุณพระเทพรัตนนายกเจ้าคณะจังหวัดลำน วัดพระธาตุหริภุญชัย พระครูโสภิตปุญญาคม รักษาการเจ้าอาวาสวัดมหาวัน และพระประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน ผู้สืบทอดตำราสร้างพระรอดมหาวัน เจริญพรว่า วัตถุประสงค์ เพื่อบูรณะวิหารและเสนาสนะ วัดมหาวัน จัดตั้งมูลนิธิพระรอด วัดมหาวัน*เพื่อกองทุนการศึกษา ภิกษุสามเณร เยาวชนจัดสร้างโดย วัดมหาวัน จ.ลำพูน.พระเดชพระคุณพระพรหมมงคล หลวงปู่ทองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองจุดเทียนชัย เททองคำนำฤกษ์ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดลำพูนประธานฝ่ายฆราวาส
ความเป็นมาที่น่าสนใจ พระสิกขีปฏิมากรหรือคนทั่วไปชอบเรียกว่า แม่พระรอด พระรอดหลวงนี้เป็นหินแกะสลัก หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑๖ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารบนแท่นแก้วที่หน้าพระประธาน วิหาราวัดมหาวัน ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ลำพูน พระพุทธรูปองค์นี้ขุดได้จากพื้นดินพร้อมกับโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ศิลาแลงจารึกอักษรขอม เป็นต้น จึงเป็นโบราณวัตถุชิ้นเดียวที่มีอยู่ในวัดมหาวันจนถึงปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญคู่วัดมหาวันและคู่บ้านเมืองลำพูน พระพุทธสิกขีปฏิมากร สร้างแกะสลักด้วยหินศิลาดำดังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินกาลาลีปกรณ์ ว่า
“สมัยหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่งบนก้อนหินดำก้อนหนึ่ง ทางด้านฝั่งตะวันตกแม่น้ำ ไม่ไกลจากอโยชปุระ (อยุธยา) เพื่อตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายชื่อว่า “ทารุกขันธูปสูตร”ตั้งแต่บัดนั้นมา หินดำก้อนนี้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกราบไหว้บูชาเป็นนิจ จนกระทั่งมีพระราชาธิราชองค์หนึ่งในเมืองรามัญได้โปรดให้ช่างแกะสลักหินก้อนนี้ให้เป็นพระพุทธรูปจำนวน ๕ องค์ แล้วถวายไปตามพระนครต่างๆ เช่น ละโว้ (ลพบุรี) เป็นต้น” ในสมัยพระแม่เจ้าจามเทวี ได้อัญเชิญพระพุทธสิกขีปฏิมากรขึ้นมาจาก เมืองละโว้ ด้วยเหตุนี้ ท่านฤาษีทั้งสองจึงได้สร้างพระรอดและพระคงด้วยแบบพิมพ์จากพระรอดหลวง หรือ พระพุทธสิกขีปฏิมากรองค์นี้
พระสิกขีปฏิมากรหรือคนทั่วไปชอบเรียกว่า แม่พระรอด พระรอดหลวงนี้เป็นหินแกะสลัก หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๓๖ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารบนแท่นแก้วที่หน้าพระประธาน วิหาราวัดมหาวัน ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ลำพูน พระพุทธรูปองค์นี้ขุดได้จากพื้นดินพร้อมกับโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ศิลาแลงจารึกอักษรขอม เป็นต้น จึงเป็นโบราณวัตถุชิ้นเดียวที่มีอยู่ในวัดมหาวันจนถึงปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญคู่วัดมหาวันและคู่บ้านเมืองลำพูน พระพุทธสิกขีปฏิมากร สร้างแกะสลักด้วยหินศิลาดำดังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินกาลาลีปกรณ์ ว่า
“สมัยหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่งบนก้อนหินดำก้อนหนึ่ง ทางด้านฝั่งตะวันตกแม่น้ำ ไม่ไก ลจากอโยชปุระ (อยุธยา) เพื่อตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายชื่อว่า “ทารุกขันธูปสูตร”ตั้งแต่บัดนั้นมา หินดำก้อนนี้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกราบไหว้บูชาเป็นนิจ จนกระทั่งมีพระราชาธิราชองค์หนึ่งในเมืองรามัญได้โปรดให้ช่างแกะสลักหินก้อนนี้ให้เป็นพระพุทธรูปจำนวน ๕ องค์ แล้วถวายไปตามพระนครต่างๆ เช่น ละโว้ (ลพบุรี) เป็นต้น” ในสมัยพระแม่เจ้าจามเทวี ได้อัญเชิญพระพุทธสิกขีปฏิมากรขึ้นมาจาก เมืองละโว้ ด้วยเหตุนี้ ท่านฤาษีทั้งสองจึงได้สร้างพระรอดและพระคงด้วยแบบพิมพ์จากพระรอดหลวง หรือ พระพุทธสิกขีปฏิมากรองค์นี้