ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00น.วันนี้ (17 พ.ค.62) ที่กลุ่มวิสาหกิจทอผ้านาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อมไหม นายสุรพล จารุพงศ์ ที่ปรึกษากรมหม่อมไหม ด้านประชาสัมพันธ์ นางทิตยาวรรณ์ กิจวรรณีกุล ผอ.สำนักงานหม่อมไหมเฉลิมพระเกียรติ เขต 5 ชุมพร พร้อมคณะเดินทางมาเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผ้าทอให้ได้คุณภาพยิ่งขึ้น หลังจากขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย(ตรานกยูงพระราชทาน)2ประเภทคือตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน (Thai Silk)ประเภทผ้าถุง ชนิดผ้ายก ประเภทลายประยุกต์ และตรานกยูงพระราชทานสีเขียว (Thai Silk Blend ) ประเภทผ้าคลุมไหล่ ชนิดผ้า ผ้ายก ประเภทลาย ลายประยุกต์ ชื่อลาย แก้วชิงดวง นอจากนี้กลุ่มยังอยู่ระหว่างการขอรับการรับรองตรานกยูงพระราชทานสีเงิน (Classic ThaSilk) นางสาวศิริพร กล่าวภายหลังเดินทางเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านมาตรฐานในตลาดอย่างกว้างขวางและเป็นผ้าทอที่มีการการอนุรักษ์สืบทอดลวดลายผ้ามาตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันผ้าทอนาหมื่นศรีได้มีการอนุรักษ์ พัฒนาและยกระดับคุณภาพ จนได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย(ตรานกยูงพระราชทาน)2ประเภทคือตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน (Thai Silk)ประเภทผ้าถุง ชนิดผ้ายก ประเภทลายประยุกต์ และตรานกยูงพระราชทานสีเขียว (Thai Silk Blend ) ประเภทผ้าคลุมไหล่ ชนิดผ้า ผ้ายก ประเภทลาย ลายประยุกต์ ชื่อลาย แก้วชิงดวง นอจากนี้กลุ่มยังอยู่ระหว่างการขอรับการรับรองตรานกยูงพระราชทานสีเงิน (Classic ThaSilk) กรมหม่อนไหมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการให้การรับรอง ซึ่งตราดังกล่าวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทยให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ซึ่งเรียกว่า "ตรานกยูงพระราชทาน" ทรงพระราชทานให้เป็นสัญลักษณ์รับรองคุณภาพผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสาก “ปี 2562 นี้กรมหม่อนไหมมีแผนที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวางขึ้นเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดและสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการอนุรักษ์ และคุ้มครองไหมไทยไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป ซึ่งปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้ส่งเสริมการใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานให้แพร่หลายทั่วโลก โดยได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานในต่างประเทศอีก 35 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จำนวน 27 ประเทศ จีน นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง รวมทั้งส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมของเกษตรกรให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง” นางสาวศิริพร กล่าว นางสาวศิริพร กล่าวอีกว่า นอกจากจะเร่งส่งเสริม"ตรานกยูงพระราชทาน" แล้ว ปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาหม่อนไหมตามนโยบาย “สืบสาน รักษา ต่อยอด” ประกอบด้วย 1.โครงการสืบสานงาน “พ่อ “ ด้วยการยกระดับงานโครงการพระราชดำริด้านหม่อนไหมในพื้นที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯพร้อมขยายผลไปยังจุดเรียนรู้ขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านหม่อนไหมจำนวน 21แห่งทั่วประเทศ 2.โครงการสานต่องาน “แม่” ด้วยการเดินหน้าขับเคลื่อนหมู่บ้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ จำนวน 21 แห่ง 3.โครงการรักษาพื้นที่โครงการพระราชดำริอนุรักษ์ภูมิปัญหาและทรัพยากรหม่อนไหมจำนวน 5 แห่งโดยเน้น “รักษา คน รักษา อาชีพ”ภายใต้”โครงการสร้างทายาทหม่อไหมในโรงเรียน” และ4.โครงการต่อยอดโครงการพระราชดำริสู่การผลิตหม่อนไหมครบวงจรจำนวน 4 แห่ง เป็นการคืนประโยชน์สู่สังคมภายใต้โครงการกำลังใจ ณ เรือนจำชั่วคราวรวมทั้งเตรียมเปิดแหล่งท่องเที่ยวหม่อนไหม จำนวน 4 แห่งในพื้นที่โครงการศิลปาชีพบ้านห้วยเดื่อจ.แม่ฮ่องสอน ศูนย์ศิลปาชีพป้าทุ้ม –ป้าไท้ จ.สกนคร พื้นที่กระเหรี่ยงโปร์ ต.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี และโครงการส่งเสริมอาชีพหม่อนไหม บางกระเจ้า “ สำหรับแผนส่งเสริมการตลาดและจำหน่ายผ้าทอนาหมื่นศรี ปัจจุบันนอกจากมีตลาดหลักในชุมชนแล้ว ยังได้การทำสัญญาซื้อขายกับบริษัท FILA เพื่อเปิดไอเดีย เพิ่มความแปลกใหม่ของดีไซน์ในรูปแบบความเป็นไทย ด้วยผ้าขาวม้าไทย ฝีมือคนไทย ชาวจังหวัดตรัง จากชุมชมผ้านาหมื่นศรี FILA มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยสร้างอาชีพและพัฒนาชุมชนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทยและด้วยความที่ FILA เป็นแบรนด์แฟชั่นจึงเล็งเห็นความสำคัญของผ้า “ผ้าไทย” และอยากร่วมอนุรักษ์การทอผ้าด้วยกี่ต่อไปร่วมสนับสนุนความเป็นไทยให้ไปไกลระดับโลก ซึ่งมีสถานที่จำหน่าย อาทิ เช่น ซุปเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลพระราม 9 เซ็นทรัลพัทยาบีช เซ็นทรัลภูเก็ตเฟติวัล เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลชิดลม และSupersports Online ทั้งนี้บริษัท FILA สั่งทอผ้าลวดลายดังกล่าว จำนวน 3,000 หลา เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อีกด้วย” นางสาวศิริพร กล่าวว่า นางอารอบ เรืองสังข์ กล่าวว่า ทางกลุ่มฯได้รับการสนับสนุนจากกรมหม่อนไหมมาโดยตลอด ปัญหาที่ผ่านมาทางกลุ่มหาไหมยาก จึงพูดคุยกันว่าจะทำธนาคารไหมขึ้น โดยกรมหม่อมไหมนำไหมมาโดยไม่ต้องซื้อแต่จะต้องคืน ไปในรูปแบบใหม่ก็คือเป็นเงินในลักษณะเป็นเงินหมุนเวียน ตอนนี้ทางกลุ่มทอผ้าเป็นลายโบราณ และพัฒนาจากลายโบราณมาเป็นผ้าไหม และเป็นงานที่มีคุณค่า จะทำให้ผ้าทอนาหมื่นศรีเพิ่มมูลค่า จัดการทอผ้าฝ้ายเราขายได้วันละ 300 กว่าบาท แต่ทอผ้าไหมเราขายได้ผืนละ 2 หมื่นกว่าบาท จึงต้องอาศัยหม่อนไหมมาช่วย ซึ่งหม่อนใหม่ก็ได้ลงมาดูแลและได้มาคุยกัน เรื่องการตลาด “ตอนนี้ทางกลุ่มฯอยากปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะทำเป็นการท่องเที่ยวก็คือ ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เพราะว่าเราซื้อ ที่ไว้ประมาณ 6 ล้าน ซึ่งซื้อที่เป็นที่นา และนำมาปรับปรุงเป็นศูนย์การเรียนรู้ก็คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะช่วย ให้มีงานต่อยอดเพิ่มขึ้น โดยทอเป็นผ้าไหมลายโบราณทั้งหมดมา มาขึ้นเป็นการทอผ้าไหม สำหรับผ้าทอพระราชทาน ได้นกยูงพระราชทานมา ได้แก่ นกยูงสีน้ำเงินและ นกยูงสีเขียว แต่ว่าความฝันของเราคืออยากได้นกยูงสีทอง ก็คือทำเส้นไหมเองทั้งหมด ในภาคใต้ของเรา จะไม่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมซึ่งจะมีแต่ในจังหวัดชุมพรที่เดียว การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในการสาวเส้น หากทำได้มันเป็นสิ่งที่มีค่า และก็จะเป็นความภาคภูมิใจ และในตอนนี้กลุ่มสามารถจะทอผ้าไหมอยู่ประมาณ 4 คน และมีเพิ่มขึ้นมาอีก 4 คนก็จะเป็นทั้งหมด 8 คน ก็ถือว่าเราสามารถผลิตสินค้าที่ มีความต้องการของลูกค้าได้” นางอารอบ กล่าว