รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เปิดเผยถึงโครงการสำคัญของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่า ขณะนี้กองทุนหมู่บ้านฯ ขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญๆ อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ภายในวงเงินงบประมาณ 35,000 ล้านบาท สำหรับให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจัดทำโครงการเพื่อนำไปลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ขยายโอกาสทางการตลาด และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนคุณภาพชีวิต กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท ในปี 2560ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีก จำนวน 15,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐโดยสนับสนุนงบประมาณกองทุนละไม่เกิน 200,000 บาท และในปี 2561 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ ในวงเงินงบประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยสนับสนุนเงินทุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละไม่เกิน 300,000 บาท เพื่อต่อ ยอดโครงการเดิม หรือสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการดำเนินโครงการที่รวมกันหลายกองทุน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้วยการให้โอกาสประชาชนบริหารจัดการและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนด้วยทรัพยากร ภูมิปัญญา และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดย “ศาสตร์พระราชา” ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนตามแนวทาง “ประชารัฐ” โดยเน้นให้ทุกโครงการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต้องผ่านเวทีประชาคมให้สมาชิกได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ โปร่งใส และตรวจสอบได้ การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าวทั้ง 3 ปี ทำให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกว่า 70,000 กองทุน ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนมากมายหลายมิติในจำนวน 200,000 กว่าโครงการ โดยจัดกลุ่มประเภทโครงการได้ 9 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าชุมชน(ร้อยละ 24.70) ส่งเสริมการเกษตร (ร้อยละ 21.77) งานบริการในชุมชน (ร้อยละ 19.81) ผลิตภัณฑ์ประชารัฐ (ร้อยละ 14.44) โครงสร้างพื้นฐาน (ร้อยละ 9.54 เช่น โรงสีข้าวชุมชน ยุ้งฉาง ลานตากอเนกประสงค์) พลังงานชุมชน (ร้อยละ 6.01 เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง) ตลาดประชารัฐ (ร้อยละ 1.69) ส่งเสริมการประกอบอาชีพ (ร้อยละ 1.44) และท่องเที่ยวชุมชน (ร้อยละ 0.61) มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ ร้านค้าประชารัฐชุมชนไม่น้อยกว่า25,000 แห่ง โครงการน้ำดื่มชุมชนไม่น้อยกว่า 10,000 โครงการ โครงการส่งเสริมการเกษตรไม่น้อยกว่า 56,000 โครงการ โครงการบริการเพื่ออุปโภค-บริโภคไม่น้อยกว่า 45,000โครงการ โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐไม่น้อยกว่า 37,000 โครงการ โครงการตลาดประชารัฐไม่น้อยกว่า 2,900 โครงการ ตลอดจนโรงสี ลานตาก โฮมสเตย์ ท่องเที่ยวชุมชน บริการจัดเลี้ยงชุมชน และอื่น ๆ อีกหลากหลาย ซึ่งจากการติดตามและประเมินของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ สรุปได้ว่า การดำเนินโครงการตามแนวทางประชารัฐข้างต้นภายใน 3 ปีนี้ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนกว่า 1.60 ล้านคน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีรายได้รวม 3 ปี ไม่น้อยกว่า 39,000 ล้านบาท ได้รับผลกำไรสะสมกว่า 8,500 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 ได้มีการพิจารณามอบรางวัลให้กับโครงการตัวอย่างระดับประเทศและระดับจังหวัดใน 6 ประเภทรางวัลได้แก่ (1) โครงการที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสร้างความสุขและความมั่นคง (2) โครงการที่เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนา (3) โครงการที่พัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ (4) โครงการที่สร้างโอกาส ความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำ (5) โครงการที่พัฒนาคุณภาพชึวิตโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (6) โครงการที่มีการบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดโครงการเพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องยิ่งขึ้นต่อ 2.โครงการฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างยั่งยืน สทบ.ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องให้ให้สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติและสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 16,571 กองทุน โดยในปีล่าสุดคือปี 2561 สามารถดำเนินการได้ 1,307 กองทุน ผลการดำเนินการดังกล่าวนี้ ทำให้สามารถรักษางบประมาณแผ่นดินที่ให้ไว้กับกองทุนและสามารถสร้างการเพิ่มทุนให้กับกองทุนได้อย่างต่อเนื่องในวงเงินไม่น้อยกว่า 16,571 ล้านบาท นอกจากนี้ สทบ.ได้ดำเนินการพัฒนาและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดีสู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเก็บออมเงินที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีผลตอบแทนที่เหมาะสม เป็นแหล่งเงินทุน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน ทั้งเพื่อเสริมสร้างสวัสดิการ และสวัสดิภาพของชุมชน รวมถึงเสริมสร้างวินัยทางการเงิน และให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยดำเนินการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน จำนวน 2,725 แห่ง และดำเนินการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพิ่มเติมอีก จำนวน 1,898แห่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างยั่งยืนต่อไป 3.โครงการจัดทำวารสารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร องค์ความรู้ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทุกกองทุน ในทุก 2 เดือน ซึ่งโครงการนี้สามารถใช้เป็นกลไกในการเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ของรัฐบาลให้ประชาชนในทุกหมู่บ้านและชุมชนได้รับทราบและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ช่องทางนี้ของ สทบ.ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเป้าหมายได้โดยตรง 2.โครงการฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างยั่งยืน สทบ.ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูและพัฒนาเพื่อสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องให้ให้สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติและสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 16,571 กองทุน โดยในปีล่าสุดคือปี 2561 สามารถดำเนินการได้ 1,307 กองทุน ผลการดำเนินการดังกล่าวนี้ ทำให้สามารถรักษางบประมาณแผ่นดินที่ให้ไว้กับกองทุนและสามารถสร้างการเพิ่มทุนให้กับกองทุนได้อย่างต่อเนื่องในวงเงินไม่น้อยกว่า 16,571 ล้านบาท นอกจากนี้ สทบ.ได้ดำเนินการพัฒนาและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดีสู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเก็บออมเงินที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีผลตอบแทนที่เหมาะสม เป็นแหล่งเงินทุน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน ทั้งเพื่อเสริมสร้างสวัสดิการ และสวัสดิภาพของชุมชน รวมถึงเสริมสร้างวินัยทางการเงิน และให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยดำเนินการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน จำนวน 2,725 แห่ง และดำเนินการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพิ่มเติมอีก จำนวน 1,898แห่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างยั่งยืนต่อไป 3.โครงการจัดทำวารสารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร องค์ความรู้ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทุกกองทุน ในทุก 2 เดือน ซึ่งโครงการนี้สามารถใช้เป็นกลไกในการเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ของรัฐบาลให้ประชาชนในทุกหมู่บ้านและชุมชนได้รับทราบและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ช่องทางนี้ของ สทบ.ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเป้าหมายได้โดยตรง