ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยดูมีทางเลือกที่หลากหลายกว่าในยุคก่อน จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนตั้งคำถามว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้กับการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และควรจะให้ความสำคัญกับอะไรบ้างเพื่อให้ลูกรักเติบโตมามีสติปัญญาที่ชาญฉลาดทันโลกและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ล่าสุด ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กุมารแพทย์ โรคระบบประสาท อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมองที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในยุค 5G นั้นคือ การเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วน หรือ Brain Connection อันเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ และสิ่งที่จะช่วยให้การส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงสมองในแต่ละส่วนเกิดขึ้นได้ดีนั้นมีด้วยกันหลายวิธี เริ่มตั้งแต่การการดูแลเอาใจใส่และการเลี้ยงดูของพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนทำกิจกรรมนั้นๆ เป็นประจำ รวมไปถึงตัวแปรสำคัญที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง ซึ่งก็คือ ไมอีลิน โดยร่างกายจะเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์และสร้างอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วภายใน 2 ปีแรกหลังคลอด ซึ่งหนึ่งสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน คือสารอาหารในกลุ่มไขมัน โดยเฉพาะ สฟิงโกไมอีลิน (sphingomyelin) ซึ่งพบมากในนมแม่ ผลิตภัณฑ์จำพวกนม และไข่ ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ (ยืน) และ ดร.นพ.วิทยา สังขรัตน์ (นั่ง) “เพราะสมองของลูกนั้นทำงานเชื่อมโยงกันเป็นระบบ แม้แต่ละส่วนจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของความคิด ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว หรือส่วนของอารมณ์ แต่กิจกรรมต่างๆ ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการคลาน เดิน การพูด การวิ่งเล่น หัวเราะ หรือ ร้องไห้ นั้น สมองแต่ละส่วนจะต้องมาทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ตั้งเป้าไว้ โดยเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วนจะทำงานเชื่อมโยงกันผ่านวงจรประสาทในสมองที่ทำหน้าที่เปรียบเหมือน ‘ถนน’ ที่เชื่อมต่อการทำงานของสมองแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งยิ่งถ้าสมองสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้การเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” ดร. นพ.วิทยา สังขรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา และศูนย์ AIMC สาธิตการตรวจการเชื่อมโยงของสมองด้วยเครื่อง MRI โดย ดร. นพ. วิทยา สังขรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา และศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (AIMC ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของสมองผ่านการใช้เครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็ก หรือ เอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging, MRI) ว่า “ในปัจจุบันการตรวจสมองสามารถทำได้ได้ถึง 5 มิติ เช่น ในการตรวจการทำงานของสมอง พบว่าถ้ามีกิจกรรมหนึ่งเกิดขึ้น สมองจะมีการทำงานและเชื่อมโยงกันในหลาย ๆ ส่วนและทำงานประสานกันเป็นเครือข่าย อีกด้านหนึ่งเราก็สามารถตรวจหาเครือข่ายใยสมองและความสมบูรณ์ของมันได้ อนึ่งใยสมองมีไมอีลินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และเราก็สามารถวัดค่าสร้างภาพได้ด้วยเทคนิคใหม่ ๆ ของเอ็มอาร์ไอแล้ว” กล่าวโดยสรุปการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วนหรือ Brain Connection ถือเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดในการทำงานของสมอง ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบัน ผศ. นพ. วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กุมารแพทย์ โรคระบบประสาท การเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณของสมองต้องอาศัยการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์และสร้างอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วภายใน 2 ปีแรกหลังคลอด และถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และหนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน คือ “สฟิงโกไมอีลิน” ที่พบมากในนมแม่ นม ผลิตภัณฑ์นม โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ประกอบกับการเลี้ยงดู เปิดโอกาสในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงวัย จะมีส่วนช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเชื่อมโยงของสมองแต่ละส่วนให้มาทำงานร่วมกัน ซึ่งช่วยในการพัฒนาสติปัญญาที่ดีของลูกน้อยของคุณ คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีและกิจกรรมที่เหมาะสมมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ และการเชื่อมต่อของสมองแต่ละส่วนให้เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ลูกน้อยได้เติบโตมามีสติปัญญาที่ดี อันเป็นพื้นฐานของความสำเร็จต่อไปในอนาคตได้ #สฟิงโกไมอีลิน #BrainConnection