ปลื้มปีติกันถ้วนหน้ากับมหาวโรกาสอันเป็นศุภมงคลที่ปวงชนชาวไทยเรา จะได้เถลิงเฉลิมฉลองใน “พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ขึ้นเป็น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ 4 – 6 พฤษภาคมนี้ ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยพระราชพิธีข้างต้น ก็ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทยเรา ที่จะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ ซึ่งสถานีโทรทัศน์ทุกช่องจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เรียกว่า ประชาชนไทยทั่วทุกหัวระแหง สามารถรับชมพระราชพิธีอันสำคัญครั้งนี้ และยังสามารถร่วมถวายพระพร เป็นราชสักการะแด่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้อย่างพร้อมเพรียงกัน กล่าวถึง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ที่จะมีขึ้นนั้น ต้องถือว่า เป็น “โบราณราชประเพณี” ที่อยู่คู่กับชนชาติไทยเราตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ตามหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ก็สามารถย้อนกลับไปถึงยุคสมัยสุโขทัย ที่กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี (ประมาณระหว่าง พ.ศ. 1724 – 1981) อย่างไรก็ดี ตามการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ ก็ระบุว่า พระราชพิธีนี้อาจมีความเก่าแก่กว่ายุคสุโขทัยก็เป็นได้ โดยหลักฐานที่ปรากฏในสมัยสุโขทัย ใน “จารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม” ระบุว่า “พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง” ประกอบ “พระราชพิธีบรม ราชาภิเษก” ขึ้น ภายหลังจากทรงร่วมมือกับ “พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด” ทำสงครามรบขับไล่ “ขอมสบาดโขลญลำพง” ผู้ปกครองเมืองสุโขทัย เป็นผลสำเร็จ โดย “พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด” พระโอรสของ “พ่อขุนศรีนาวนำถม” และเป็น “ราชบุตรเขย” ของกษัตริย์ขอม ซึ่งได้รับพระราชทาน “พระแสงขรรค์ไชยศรี” และพระนาม “กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์” จากกษัตริย์ขอมมาด้วย ได้มอบทั้ง “พระแสงขรรค์ไชยศรี” และพระนาม “กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์” ให้แก่ “พ่อขุนบางกลางหาว” ด้วย ซึ่งต่อมาเรียกพระองค์ว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” แห่งราชวงศ์พระร่วง อาณาจักรกรุงสุโขทัย สำเนาจารึกหลักที่ 2วัดศรีชุม สมัยสุโขทัย ในสมัยสุโขทัยเดียวกันนี้ ก็ยังปรากฎหลักฐานการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ “พระมหาธรรมราชา ที่ 1” หรือ “พญาลิไท” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1890 ใน “จารึกสุโขทัย หลักที่ 4 วัดป่ามะม่วง” หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า “จารึกวัดป่ามะม่วง” ว่า กษัตริย์ทั้งหลายซึ่งมีในทิศทั้ง 4 นำ มกุฏ พระขรรค์ไชยศรี แลเศวตฉัตร...อภิเษกแล้วถวายพระนามว่า “พระบาทกัมรเดง อัญศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช” ทั้งนี้ การถวายเครื่องราชูปโภคข้างต้น อย่าง มกุฏ พระขรรค์ไชยศรี เป็นต้น ก็เทียบได้กับการถวาย “เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์” แก่พระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกดังกล่าว ก็ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ไชยศรี ธารพระกร (ไม้เท้า) วาลวีชนี (พัด หรือแส้หางจามรี) และฉลองพระบาทเชิงงอน ซึ่งบรรดาเครื่องราชูปโภคเหล่านี้ ถือเป็นส่วนสำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สถาปนาองค์พระมหากษัตริย์ตามหลักแห่งเทวราช ที่สืบมาแต่ครั้งอินเดียและขอมโบราณ ครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ จวบจนกระทั่ง “การ” ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราชจักรีวงศ์นี้ ก็ยังดำเนินไปในลักษณะนี้อยู่ ท่ามกลางขบวนแห่แหนสวยงามตระการตา ไม่เว้นกระทั่งบ้านเรือนของผู้คน ก็ได้รับการประดับประดาตกแต่งเพื่อถวายเป็น “ราชพลี” รับ “การ”ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ถึงขนาดบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามายังเมืองไทย หรือสยาม ณ เวลานั้น างพากันเอ่ยปากชม ชนิด “ลืม”สภาพอันอากาศร้อนจัดของสยามเรที่พวกเขาไม่คุ้นเคยไปอย่างปลิดทิ้ง โดยการเข้าร่วมของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะยุโรปตะวันตก ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในกรุงรัตนโกสินทร์ ที่กรุงเทพมหานครเรา เป็นราชธานี ตามหลักฐานที่ปรากฏว่า ก็ระบุว่า เริ่มตั้งแต่สมัยของ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4” ซึ่งในพระราชหัตถเลขาของ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6” ทรงระบุว่า “ทูลกระหม่อมปู่ของพระองค์” คือ “รัชกาลที่ 4” ได้โปรดเกล้าฯ ให้ “ชาวต่างชาติ” ซึ่งในที่นี้หมายถึง “ฝรั่ง” เข้าไปร่วมงานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ท่านด้วย อันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ณ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสันนิษฐานว่า เป็นพระบรมราโชบายที่จะให้ชาวต่างชาติเหล่านั้นเป็นพยาน ให้เห็นเป็นที่ปรากฏชัดว่า พระราชวงศ์พระองค์ใดเป็นพระมหากษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินแน่ ส่วนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีขึ้นสองครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2411 และ พ.ศ. 2416 นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงระบุว่า กระทำตามเฉกเช่นรัชกาลก่อนที่เคยเป็นมา ขบวนพยุหยาตราในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกับ การพระบรมราชาภิเษกพิธีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2454 นอกจากให้ชาวต่างชาติ มาร่วมงานแล้ว ก็ยังได้มีการทูลเชิญเจ้าฟ้าชาย หรือแกรนด์ดยุค บอริส วลาดิมีโรวิช มกุฏราชกุมารแห่งรัสเซีย ให้ทรงมาร่วมงานด้วย พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รวมถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็มีผู้แทนพิเศษของทางการชาติมหาอำนาจตะวันตกเข้าร่วม เช่น ทางการอังกฤษส่งนายโรเบิร์ต เกรก ผู้แทนพิเศษ มาเข้าร่วมในงานดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประกอบพิธีสรงน้ำมุรธาภิเษก ที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ หนึ่งในพิธีกรรมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยบรรดาผู้เข้าร่วมงานเหล่านี้ อย่างนายเกรก ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลอังกฤษ และนายอิวาน เดอ เชค นายทหารราชองครักษ์ในมกุฏราชกุมารแห่งรัสเซีย ต่างพากันเขียนชื่นชมความงดงามในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกดังกล่าวกันอย่างถ้วนหน้าว่า ทำให้ผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงตัวพวกเขาเองเคลิบเคลิ้มหลงใหลกันไปชั่วขณะกันเลยทีเดียว ทันทีที่ได้เห็นขบวนพยุหยาตรา ตลอดจนเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศทั้งหลายของพระมหากษัตริย์ส ดุจดั่งว่า กำลังอยู่ในพิภพแห่งเทพนิยายก็ไม่ปาน ยังอยู่ในความทรงจำอย่างไม่รู้ลืม สำหรับ งานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ขึ้นเป็น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะมีขึ้น ณ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันเสาร์ที่ 4 – 6 พฤษภาคมนี้ ก็เป็นที่แน่ชัดว่า เทพนิยายบนผืนภพจากความงามงดแห่งสถาบันกษัตริย์ของไทยเรา จะหวนมาสร้างความประทับใจอย่างให้โลกได้ติดตราตรึงใจกันอีกคำรบ การซ้อมของกำลังพลภาคส่วนต่างๆ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่กำลังจะมีขึ้น