ยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูนกิจกรรมการเชื่อมโยง และส่งเสริมกิจการซึ่งกันและกันอย่างครบวงจรในลักษณะคลัสเตอร์
วันที่ 26 เมษายน 2562 โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จ.เชียงใหม่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการคลัสเตอร์สินค้าระดับภาคสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากข้าราชการในพื้นที่ หรือมหาวิทยาลัย หรือภาคเอกชนหรือภาครัฐ ผู้ประสานงานสหกรณ์ และ(CDA)บุคลากรของสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน ผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานคลัสเตอร์ ผู้สังเกตการณ์ และวิทยากร รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน เข้าร่วม ทั้งนี้ตามที่รัฐบาลมีนโยบายหลักในการพัฒนาประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยการส่งเสริมให้เกษตรกร รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนรวมทั้งสามารถพึ่งพาตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก การรวมกลุ่มเกษตรกร จะช่วยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร เสริมสร้างความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม สร้างอำนาจในการต่อรองราคา ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์ในภาคการเกษตรจะมีบทบาทในการดำเนินธุรกิจเกษตรทั้งด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต สินเชื่อ การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป การตลาด รวมถึงเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยี เครื่องมือ และเครื่องจักรกลทางการเกษตร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง และส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในลักษณะ คลัสเตอร์
ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจสินค้าเกษตร ช่วยเหลือเกษตรกรด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร เสริมสร้างองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์กรและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อพัฒนาการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรตลอดโซ่การผลิตให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างอำนาจการต่อรองให้กับเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรอันเป็นองค์กรของประชาชนในชุมชน ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการลดภาระของรัฐบาลในอนาคตต่อไป
โดยวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์ และมีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมการเชื่อมโยง และส่งเสริมกิจการซึ่งกันและกันอย่างครบวงจรในลักษณะคลัสเตอร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจ จุดอ่อน จุดแข็งโอกาสปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจร่วมกันกำหนดเป้าหมาย/ทิศทางการพัฒนาคลัสเตอร์ (Cluster Map)ตลอดจนจัดทำแผน/โครงการ (Action Plan) ขับเคลื่อนและพัฒนาคลัสเตอร์สินค้าปศุสัตว์ระดับภาคให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ
จัดทำโครงสร้างคลัสเตอร์ระดับภาคในส่วนของบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประสานงานคลัสเตอร์(CDA ) และเป็นกลไกสำคัญในการประสานงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในคลัสเตอร์ระดับภาคจัดทำ Cluster map โดยกำหนดให้สหกรณ์เป็นแกนกลาง กำหนดธุรกิจหลัก อุตสาหกรรมต่อเนื่อง สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สถาบันการเงินเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการรวมกลุ่มผู้ผลิตสินค้าของสหกรณ์ (คลัสเตอร์) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย/วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงานของแผนงาน/โครงการที่จะร่วมกันขับเคลื่อนคลัสเตอร์ ระดับภาคจัดทำ Action plan ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ