บรรณาลัย / โชติช่วง นาดอน “ข้าว” ในภาษาไทย ภาษาเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการทางวัฒนธรรม ชนกลุ่มตระกูลภาษาไท-กะได มีพื้นฐานวัฒนธรรมด้านการผลิตเลี้ยงชีวิตด้วยการปลูกข้าว คำศัพท์ในภาษาตระกูลภาษาไท-กะได จึงมีคำเกี่ยวกับ สำคัญต่อไป นอกจากสร้างคำศัพท์แล้ว วัฒนธรรมข้าวยังได้สร้าง “คติความเชื่อ” อีกมากหลาย ก่อให้เกิด คตินิยม , ข้อห้าม ในวิถีชีวิต ก่อให้เกิด สำนวน ภาษิต คำสอน ที่เกี่ยวเนื่องกับข้าวและการทำนาข้าว ทำไร่ข้าว อีกมากหลายเช่นกัน ขอเรียกร้องให้มีการศึกษาค้นคว้า รวบรวมไว้ เพราะจะเป็นข้อมูลสำคัญต่อไป ขอยกตัวอย่าง ข้อมูลด้านภาษาและคติความเชื่อที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวสักเล็กน้อย หวังว่าจะมีผู้รู้ได้รวบรวมให้ครบสมบูรณ์ต่อๆ ไป ตัวอย่างคำศัพท์เกี่ยวกับข้าวและการทำนา ในหนังสือ “พะ พะจะนะ พาสาไท” ของสังฆราชปัลเลอกัวส์ เขียนคำว่า “ข้าว” แบบโบราณว่า “เข้า” รวมคำศัพท์ “ข้าว” ไว้ดังนี้ เข้า , หุงเข้า , กินเข้า , กับเข้า , เข้าเบา , เข้าหนัก , เข้าบิน (ปัจจุบันเขียนว่า ข้าวบิณฑ์) , เข้าฟ่าง , เข้าเปลือก , เข้าโภช , เข้าโภชสาลี , เข้ากล้อง , เจ้าเจ้า , เข้าสตุ , เข้ายาก (เข้ายากหมากแพง) , เข้าพอง , เข้าปัก , เข้าเกรียบ , เข้ามตุปายาศ , เข้าหลาม , เข้าเหนียว , เข้าตัง , เข้าตอก , เข้าหมาก , เข้าต้ม , เข้าเปียก , เข้าสาร , เข้าสวย , รวมคำว่า “นา” ไว้ดังนี้ นา , ทำนา , ไร่นา , ทุ่งนา , วนา , นาปัก , นาหว่าน รวมคำว่า “ควาย” ไว้ดังนี้ ควาย , งัวควาย , ควายป่า , ควายเถื่อน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 รวมคำศัพท์ “ข้าว” ไว้ดังนี้ (หากไม่ทราบความหมายของคำศัพท์ กรุณาเปิดดูในพจนานุกรมด้วย อย่าปล่อย “ความไม่รู้” ให้พอกพูน) ข้าว , ข้าวก้นบาตร , ข้าวพระยาทิพย์ , ข้าวกรู , ข้าวกล้อง , ข้าวกล้า , ข้าวกลาง , ข้าวเกรียบ , ข้าวเกรียบปากหม้อ , ข้าวเกรียบอ่อน , ข้าวเก่า , ข้าวแกง , ข้าวโกบ , ข้าวขึ้นน้ำ , ข้าวขวัญ , ข้าวแขก , ข้าวควบ , ข้าวแคบ , ข้าวงัน , ข้าวจี่ , ข้าวเจ้า , ข้าวแจก , ข้าวแช่ , ข้าวซ้อม , ข้าวซ้อมมือ , ข้าวซอย , ข้าวแตกงา , ข้าวแดง-ข้าวเมล็ดแดง , ข้าวดอ , ข้าวแดงแกงร้อน , ข้าวตก , ข้าวต้ม , ข้าวต้มมัด , ข้าวต้มผัด , ข้าวต้มน้ำวุ้น , ข้าวต้มปัด , ข้าวต้มลูกโยน , ข้าวตอก , ข้าวตอกตั้ง , ข้าวตอกแตก , ข้าวต้อง , ข้าวตัง , ข้าวตาก , ข้าวตู , ข้าวแตก , ข้าวแตน , ข้าวทิพย์ , ข้าวนก , ข้าวนาปรัง , ข้าวนึ่ง , ข้าวบาตร , ข้าวบาร์เลย์ , ข้าวบิณฑ์ , ข้าวบุหรี่ , ข้าวเบา , ข้าวเบือ , ข้าวประดับดิน , ข้าวปลูก , ข้าวปัด , ข้าวป่า , ข้าวปาด , ข้าวปุ้น , ข้าวเปรต , ข้าวเปลือก , ข้าวเปียก , ข้าวผอก , ข้าวผอกกระบอกน้ำ , ข้าวผัด , ข้าวพระ , ข้าวพอง , ข้าวโพด , ข้าวฟ่าง , ข้าวฟ่างหางหมา , ข้าวฟ่างห้าง , ข้าวฟ่างสมุทรโคดม , ข้าวเภา , ข้าวมัน , ข้าวเม่า , ข้าวเม่าราง , ข้าวเม่าทอด , ข้าวยากหมากแพง , ข้าวยาคู , ข้าวยาคูน้ำ , ข้าวยาคูแห้ง , ข้าวยำ , ข้าวไรย์ , ข้าวละมาน , ข้าวสวย , ข้าวสาก , ข้าวสามเดือน , ข้าวสาร , ข้าวสาลี , ข้าวสุก , ข้าวเส้น , ข้าวเสียแม่ซื้อ , ข้าวหนัก , ข้าวหมก , ข้าวหมาก , ข้าวหลาม , ข้าวหลามตัด , ข้าวหัวโขน , ข้าวเหนียว , ข้าวเหนียวเขี้ยวงู , ข้าวเหนียวดำ , ข้าวเหนียวแก้ว , ข้าวเหนียวแดง , ข้าวเหนียวตัด , ข้าวเหนียวห่อ , ข้าวเหลือเกลืออิ่ม , ข้าวใหม่ , ข้าวใหม่ปลามัน , ข้าวโอ๊ต , ข้าวฮาง , ข้าวข้า , ข้าวคำ , ข้าวเย็นใต้ , ข้าวเย็นเหนือ , ข้าวใหม่น้อย , ข้าวใหม่ใหญ่ , ข้าวอีงกุลี รวมคำว่า “นา” ไว้ดังนี้ นา , นาขอบเหล็ก , นาคู่โค , นาเชิงทรง , นำดำ , นาปรัง , นาปี , นางฟางลอย , นาเมือง , นาสวน , นาหว่าน , รวมคำว่า “ควาย” ไว้ดังนี้ ควาย , ควายเขาเกก , ควายทุย , ควายโทน , ควายธนู , ควายปละ , ควายพระอินทร์ หนังสือ “รัตนมาลา” พจนานุกรมรวมคำโบราณ โดย ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร รวมคำว่าข้าว มีเพิ่มเติมความรู้ดังนี้ ข้าวกระทง – อาหารที่บรรจุลงในภาชนะที่ทำด้วยใบตอง ข้าวเกลือเหนือใต้ – อาหาร ส่วนคำว่าเหนือใต้ น่าจะเป็นสร้อยคำ หรืออาจจะหมายความว่า มาจากทุกทิศ ข้าวน้ำชำปลา – น่าจะมีความหมายเดียวกับ “ข้าวปลาอาหาร” ที่ใช้ในปัจจุบัน ในภาษอีสานใช้ว่า “ข้าวน้ำซ้ำปลา” คือ “ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์” ส่วนภาษาไทขาว คำว่า “ฉ้ามปลา” ว่า “ปลาน้ำจืด ขนาดเล็ก มีเกล็ด” ข้าวปุก – ข้าวเหนียวแผ่น ตำแล้วแผ่บางๆ เหมือนแผ่นโรตี เหนียวหนับ เวลากินก็เด็ดกิน มีรสเค็ม กินหวานกินได้ (จากเรื่อง “นิทานชาวไร่”) ข้าวเหลือเกลือหนุน – อุดมสมบูรณ์ มีความหมายเหมือนกับ “ข้าวเหลือเกลืออิ่ม” ณ ที่นี้ ขอเพิ่มข้อมูลเรื่อง “ข้าวปุก” ขนมที่ทำจากการตำข้าว (ทำได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า) ให้เละจนกลายเป็นแผ่นแป้งเหนียวๆ แล้วเก็บไว้กินได้นานๆ น่าจะเป็น ของกินเล่น หรือของหวาน ยุคเก่าแก่ที่สุด ชาวม้งและชาวเขาอื่นๆ เมื่อเกี่ยวข้าวใหม่แล้วจะทำขนมนี้กินในเทศกาลปีใหม่ และเก็บไว้กินได้ยาวนาน ภาษาม้งเรียกว่า “หยัว”