กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดโครงการความร่วมมือ R^3 Project วางแผนบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการพื้นที่เขื่อนแก่งกระจาน พร้อมจัดพิธีถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีรำลึกพระมหากรุณาธิคุณต่อโครงการพระราชดำริฝนหลวง พร้อมเปิดงานโครงการความร่วมมือ R^3 Project เพื่อเทิดพระเกียรติ พร้อมร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณต่อโครงการพระราชดำริฝนหลวง ณ จุดรัชกาลที่ 9 สาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการฝนหลวง การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ นับเป็นพระราชกรณียกิจ/และพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวงปราชญ์แห่งการบริหารจัดการน้ำ/การอนุรักษ์ดินและป่าต้นน้ำ ซึ่งพระองค์ได้ทรงช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยให้รอดพ้นจากการประสบปัญหา ภัยแล้งที่มาจากความเดือดร้อนในการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำ เพื่อการเกษตร ซึ่งตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์พระองค์ทรงงานอย่างมิได้ เหน็ดเหนื่อยย่อท้อ ทำให้ปัญหาของประเทศไทยในอดีต/ ได้บรรเทาลงอย่างมากและได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆก่อให้เกิดความสุขต่อปวงชนชาวไทย/ที่อยู่ใต้ร่มพระบารมีถ้วนทั่วทุกหนแห่ง ทั้งในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” ปราชญ์แห่งการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนปราชญ์แห่งการอนุรักษ์ดินและป่าต้นน้ำ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปี พ.ศ.2560 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมกับกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการสร้างความร่วมมือ R^3 เพื่อการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการ พื้นที่โครงการเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เสด็จทรงงานที่สำคัญในหลายเหตุการณ์ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณพระอัจฉริยภาพและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2515 ตลอดจนสืบสานพระราชปณิธานด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการตั้งแต่พื้นที่ป่าต้นน้ำการบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศ การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภค-บริโภค  ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือ R^3 Project เพื่อการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำอย่างบูรณการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการเพาะปลูกในและนอกพื้นที่ชลประทาน นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์มหาศาล ทำให้ทราบสถานการณ์ในพื้นที่ ทั้งสถานการณ์น้ำ พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน พื้นที่โครงการเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตลอดจนมีการวางแผนการดำเนินงานในการปฏิบัติการฝนหลวง และแผนการบริหารจัดการน้ำ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำ ป่าต้นน้ำ และการบริหารจัดการน้ำพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ ช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ ภายใต้โครงการโปรยเมล็ดพันธ์พืชในพื้นที่ป่าต้นน้ำเขื่อนแก่ง อีกทั้งยังช่วยประเมินน้ำฝนและผลสัมฤทธิ์ โดยสามารถเติมน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน และเสริมน้ำฝนเพื่อเพิ่มพื้นที่ความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรม อันรวมถึงการวางแผนอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างบูรณาการอีกทางหนึ่งด้วย “ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจะทำให้เกิดการบูรณาการด้านการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมชลประทาน และกรมป่าไม้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และกรมฝนหลวงจะได้นำข้อมูลไปปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวง ให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำของประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไปทั้งปัจจุบันและอนาคต ซึ่งภายใต้ในโครงการดังกล่าวจะมีกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชเพิ่มผืนป่าต้นน้ำบริเวณเขื่อนแก่งกระจาน ในพื้นที่รับน้ำเป้าหมาย 2,142.69 ตารางกิโลเมตร พื้นที่โปรยเมล็ดพันธุ์ 13,000 ไร่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่านไม้ และใช้เมล็ดพันธุ์ในการเป็นจำนวน 890,000เมล็ด ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์ไม้ประดู่ มะค่าโมง มะข้ามป้อม มะกอกป่าและยางนา โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน 60อีกด้วย” อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า สำหรับแผนการปฏิบัติการฝนหลวงในปี พ.ศ.2560 เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกพืชประจำปี ทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคทั้ง 5 ศูนย์ ได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 10-12 หน่วยปฏิบัติการ เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลักในพื้นที่ 77 จังหวัดตามแผนปฏิบัติการ โดยแบ่งแผนการป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงเดือนตุลาคม 2559 – กุมภาพันธ์ 2560 เป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่งปกติจะหยุดปฏิบัติการฝนหลวงประจำปีประมาณเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป แต่ เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม จากนั้นจะตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ที่สนามบินจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมที่จะเดินทางไปปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือตามการร้องขอของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 5 ศูนย์ ในช่วงที่มีสภาพอากาศเหมาะสม เป็นระยะสั้นๆ ดร.สุรสีห์ กล่าวว่า ส่วนระยะที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม 2560 – เมษายน 2560 เน้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ โดยเริ่มจากบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์/มีนาคม และขยายพื้นที่ช่วยเหลือไปในบริเวณลุ่มน้ำและภาคอื่นๆ ตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เช่นข้าวนาปรัง ไม้ผล และไม้ยืนต้น และระยะที่ 3 ช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 – กันยายน 2560 เน้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้พื้นที่เกษตรกรรม ในช่วงเริ่มฤดูเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจประจำปีเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากฤดูฝนมาล่าช้ากว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงระหว่างฤดูเพาะปลูก ขณะที่แผนการเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ช่วงเดือนสิงหาคม 2560 – ตุลาคม 2560 เป็นการปฏิบัติการฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสำรองไว้เป็นน้ำต้นทุนในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึงและเพื่อสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติการไปจนถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม ด้านแผนบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า เน้นเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือช่วงเดือนมีนาคม 2560 - เมษายน 2560 และภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม 2559 - พฤศจิกายน 2559 และช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 - มิถุนายน 2560 โดยปฏิบัติการฝนหลวงและดัดแปรสภาพอากาศเพื่อลดความหนาแน่นของหมอกควันรวมทั้งการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ ดร.สุรสีห์ กล่าวอีกว่า สำหรับระยะเวลาดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ (หน่วยฯ สุราษฎร์ธานี/นครศรีธรรมราช หน่วยฯ หัวหิน/ชุมพร และหน่วยฯ สงขลา) หน่วยฯ สุราษฎร์ธานี ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 31 พฤษภาคม 2560 และ 1 สิงหาคม 2560 ถึง 31 ตุลาคม 2560 หน่วยฯ นครศรีธรรมราช ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2560 หน่วยฯ หัวหิน ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 31 พฤษภาคม 2560 และ 1 สิงหาคม 2560 ถึง 31 ตุลาคม 2560 หน่วยฯ ชุมพร ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2560 และหน่วยฯ สงขลา ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 31 ตุลาคม 2560 ทั้งนี้ การวางแผนจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาค ทั้ง 5 ภาค มีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงให้สูงขึ้น และให้มีจำนวนวันฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิผล และครอบคลุมพื้นที่แห้งแล้งทั่วประเทศ โดยกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบทำการบินปฏิบัติการฝนหลวงตามแผนและตามที่ได้รับการร้องขอในพื้นที่เป้าหมาย