โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง
นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์โรคหัวใจผู้ชำนาญการทางด้านการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ รพ.หัวใจกรุงเทพ ระบุเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ แคบลง ทำให้เลือดแดงผ่านได้น้อย
จึงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบหรือแคบมากเกินไปจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการระยะแรก แต่ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันค่อนข้างมากจะเจ็บหน้าอกมากจนทนไม่ได้ หายใจหอบ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เหงื่อแตก ใจสั่น บางรายหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น
ปัจจัยเสี่ยงมีทั้งอายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม-มีประวัติคนในครอบครัวเป็น และเพศ โดยผู้ชายมักเสี่ยงมากกว่าในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน
รวมทั้งโรค อาทิ ความดันสูง จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ผู้ที่มีระดับไขมันLDLแอลดีแอลโคเลสเตอรอลสูง จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น จนหลอดเลือดหัวใจจะอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด
ความอ้วนก็สำคัญที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงได้ ยังพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่ เสี่ยงเกิดโรคหัวใจมากกว่าไม่สูบ 2-4 เท่า
ทั้งนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคได้ ยังช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆได้ดีอีกด้วย
การรักษาที่นิยมคือ ขยายด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด และทำบายพาส โดยกรณีที่แพทย์ตัดสินใจผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป
แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี อาจรักษาโดยกินยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเพียงเส้นเดียว ก็กินยา หรือใส่ขดลวดบอลลูนได้
ปัจจุบันการผ่าตัดบายพาสโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมี 2 วิธีคือ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือแบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ” .จะลดเวลาผ่าตัด-เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นกว่าอีกแบบ คือ ผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ
ภาพ http://www.heartgacardiology.com/