เมื่อ ดุสิตธานี ผู้นำในการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและการบริการ ผนึกกำลัง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ผู้นำในการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าและอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ในการพลิกโฉมใจกลางกรุงเทพฯ สร้างซูเปอร์คอร์ซีบีดี เชื่อมย่านสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นแลนด์มาร์กแห่งการใช้ชีวิตระดับโลกที่สมบูรณ์แบบที่สุด ด้วยการเปิดตัวโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ด้วยแนวคิด Here For Bangkok เพื่อสร้างสรรค์บริบทใหม่แห่งการใช้ชีวิตให้กับคนกรุงเทพฯ และช่วยสร้างกรุงเทพฯ สู่มหานครที่ดีสุดอีกแห่งหนึ่งของโลก โดยคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี พ.ศ. 2567 ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค สำหรับ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส มูลค่า 36,700 ล้านบาท โดยโครงการประกอบด้วย โรงแรม ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน พื้นที่รวม 440,000 ตารางเมตร บนที่ดินกว่า 23 ไร่ ตรงมุมถนนสีลม - พระราม 4 เพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อย่างครบวงจร ด้วยการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.Here for Heritage & Innovation สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมผสานนวัตกรรมมาใช้ในโครงการ 2. Here for Unrivalled Connectivity เป็นโครงการมิกซ์ยูสเดียวในกรุงเทพฯ ที่เชื่อมโยงทุกย่านสำคัญและระบบคมนาคมทุกระนาบของกรุงเทพฯ 3. Here for a Lush Quality of Life เพื่อชีวิตคุณภาพใกล้ชิดธรรมชาติ อยู่ใกล้กับสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่สุดหรือปอดของกรุงเทพฯ ทั้งยังเต็มไปด้วยสีสันและไลฟ์สไตล์ทั้งกลางวันและกลางคืน และ 4. Here for Meaningful Experiences ที่เชื่อมโยงรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัยควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ สร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและพื้นที่สีเขียว ด้วยโครงการอันเป็นเอกลักษณ์ที่ผสานระหว่างอดีตอันทรงคุณค่ากับนวัตกรรมที่ทันสมัย ชูประสบการณ์เหนือระดับ โดย นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC กล่าวว่า โครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เป็นโครงการแบบผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์และดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยการเชิดชูความเป็นไทยบนมาตรฐานสากล เหมือนกับที่ดุสิตธานีเคยสร้างการจดจำระดับโลกในฐานะสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ มากว่า 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ออกแบบโครงการที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทยผสานกลิ่นอายของความทันสมัย เป็นการหลอมรวมระหว่างงานอนุรักษ์และนวัตกรรมที่ทันสมัยไว้ด้วยกัน ประกอบด้วยสามอาคารที่ถูกเชื่อมโยงกันด้วยหนึ่งฐานรากอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และที่ทำให้โครงการมีความโดดเด่นต่างจากโครงการอื่น คือ เราเป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งเดียวในประเทศไทย ที่สามารถเชื่อมต่อกับการจราจรทุกระนาบ ทั้งระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ตลอดจนการจราจรบนท้องถนน และทุกอาคารสามารถมองเห็นวิวสวนลุมพินีได้อย่างชัดเจน ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่มองหาความสะดวกสบายและการใช้ชีวิตอย่างมีระดับ ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ทั้งนี้ นางศุภจี กล่าวต่อว่า ในส่วนของ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นโรงแรมขนาด 250 ห้องที่มีความสูง 39 ชั้น จะให้ความสำคัญกับการเก็บเรื่องราว องค์ประกอบสำคัญของโรงแรมดุสิตธานีเดิมเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยมไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ หรือการนำชิ้นส่วนเอกลักษณ์ต่างๆ มาใช้ในโครงการ โดยเฉพาะการนำเสนอการบริการที่น่าประทับใจแบบไทยที่คนทั่วโลกให้การยอมรับ ซึ่งมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565 และจะเปิดให้บริการก่อนส่วนอื่น ในส่วนของ อาคารที่พักอาศัย อีกทั้งยังได้เตรียมมอบประสบการณ์แห่งการใช้ชีวิตของคนเมืองครั้งใหม่ ผ่านการนำเสนอความเหนือระดับด้วยวิวแบบพาโนรามาของสวนลุมพินี และวิวเส้นขอบฟ้าอันสวยงามของมหานครกรุงเทพฯ ความสูง 69 ชั้น จำนวน 389 ยูนิต บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็น ดุสิต เรสซิเดนเซส จำนวน 159 ยูนิต เจาะกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบที่อยู่อาศัยสไตล์คลาสสิก หรูหราเหนือกาลเวลา และมอบความเป็นส่วนตัวสูง เหมาะกับผู้ที่รักความเป็นส่วนตัว หรือแม้แต่ครอบครัวขนาดกลางและใหญ่ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ตลอดจนนักธุรกิจที่เดินทางมาทำงานและอยู่ประจำในประเทศไทย และ ดุสิต พาร์คไซด์ ตอบโจทย์ผู้ที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์คนเมือง ด้วยดีไซน์ที่ร่วมสมัย มีระดับ จำนวน 230 ยูนิต เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนทำงานในเมือง และครอบครัวขนาดเล็ก โดยเป็นอาคารที่พักแบบเช่าสิทธิ์ระยะยาวหรือลีสโฮลด์ ซึ่งน่าจะเริ่มเปิดให้จองในไม่ช้านี้ จิ๊กซอว์เชื่อมโยง 4 ย่านสำคัญ ขณะที่ นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่ซีพีเอ็นและดุสิตกำลังร่วมกันทำจะเป็นมากกว่าการสร้างมิกซ์ยูสทั่วไป แต่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จะบุกเบิกและพลิกโฉมกรุงเทพฯ และสร้างซูเปอร์คอร์ซีบีดี ซึ่งจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่เชื่อมโยง 4 ย่านสำคัญจากทั้ง 4 ทิศของกรุงเทพฯ มุ่งตรงสู่ใจกลางเดียว ได้แก่ ย่านราชประสงค์ทางทิศเหนือ เจริญกรุงทางทิศใต้ สุขุมวิททางทิศตะวันออก และ เยาวราชทางทิศตะวันตก ทำให้เกิดเป็น The New Junction ที่เชื่อมโยงทุกย่านสำคัญของกรุงเทพฯ และ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเชื่อมให้ทุกย่านรอบๆ นี้ให้เติบโตไปพร้อมกัน ทั้งย่านเก่าและย่านใหม่ รวมถึงย่านไฟแนนเชียล เข้ากับย่านคอมเมอร์เชียล ที่จะช่วยยกระดับผังเมืองกรุงเทพฯ ให้เชื่อมต่ออย่างลงตัวที่สุด ตอบโจทย์ทั้งทางธุรกิจและไลฟ์สไตล์ วัลยา จิราธิวัฒน์ ซึ่งทางบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จะทำการสร้างศูนย์กลางการใช้ชีวิตแห่งใหม่สำหรับคนกรุงเทพฯ ในอนาคตภายใต้แบรนด์เซ็นทรัล พาร์ค โดยสอดคล้องกับแนวคิด Here for Bangkok ประกอบไปด้วย เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส อาคารออฟฟิศที่พัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เป็น Professional Hub ที่คำนึงถึงความสมดุลในการใช้ชีวิตและการทำงาน พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่เอื้อต่อ ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ทุกอย่างต้องการความรวดเร็วและเชื่อมโยงเข้าถึงกัน บนพื้นที่ 90,000 ตารางเมตร ที่รองรับการเป็นที่ตั้งของบริษัทตั้งแต่ Innovative Start-Ups ไปจนถึงสำนักงานบริษัทระดับโลก ส่วนสุดท้ายเป็น ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค เชื่อมโยงทุกองค์ประกอบของโครงการเข้าด้วยกัน นำเสนอประสบการณ์รีเทลแห่งอนาคต ที่จะสร้าง New Urbanised Lifestyle ระดับเวิลด์คลาส ผสมผสานไลฟ์สไตล์อินดอร์และเอ้าท์ดอร์เข้าด้วยกัน โดยรวบรวมแบรนด์ดังระดับไอคอนของโลกและประเทศไทยครอบคลุมทุกกลุ่มไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่กว่า 80,000 ตารางเมตร พร้อมทั้งเพิ่มการเชื่อมโยงการใช้ชีวิตในทุกมิติของคนเมืองจากภายในสู่ภายนอกด้วย Rooftop Park พื้นที่สีเขียวร่มรื่นที่สุด ใจกลางกรุง โดยทั้งสององค์ประกอบมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการ ในปี พ.ศ. 2566