คนข้างวัด/อุทัย บุญเย็น ข่าวและภาพ (ที่ลงประกอบเรื่องในวันนี้) ล่าสุด พระสงฆ์ท่านส่งมาทางไลน์ ให้ช่วยเผยแพร่
มีเรื่องราวดังนี้ “เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2562 รัฐสภาสหรัฐอเมริการที่รัฐวอชิงตันนิมนต์พระธรรมทูตไทยสวดมนต์และแสดงธรรมสันติสุข ที่รัฐสภาฯ พระธรรมทูตไทยที่ได้รับนิมนต์ครั้งนี้ ประกอบด้วย พระอาจารย์รัศมี เจ้าอาวาสวัดพุทธางกูร เมืองโอลิมเปีย และวัดอริยมรรคสัจจกะ รัฐออริกอน, พระอาจารย์วูดดี้ วัดวอชิงตันพุทธวนาราม, พระอาจารย์เผด็จศักดิ์ และพระอาจารย์นิพนธ์ เกาะบาหลี ฯลฯ ทางรัฐสภาฯ ได้ขอให้แนะนำแนวทางปฏิบัติทางด้านจิตวิญญาณ (ความสงบร่มเย็นและสันติสุขในการประพฤติปฎิบัติตนอันประกอบด้วยคุณธรรม ความรักความเมตตา ความเอื้ออาทร การให้อภัย และปัญญา) ให้แก่สมาชิกวุฒิสภา ที่ห้องประชุมรัฐสภาฯ ภายในตึกรัฐสภา” ได้พยายามแกะข้อความในไลน์ ด้วยความยากลำบากพอสมควร เพราะพระสงฆ์ยังเขียนข่าวไม่เป็น แต่ท่านก็ตั้งใจที่จะส่งข่าวให้ช่วยเผยแพร่ ดูในภาพ เห็นพระสงฆ์ไทยประมาณสิบกว่ารูป กำลังยืนทำพิธีอะไรอยู่ในห้องประชุมของรัฐสภาสหรัฐฯ เข้าใจว่าคงจะมีการสวดมนต์ทำพิธีอย่างที่นิยมทำในเมืองไทย การส่งข่าว ไม่ได้รายงานให้ทราบชัดว่าทำอะไรอย่างไรบ้าง แต่ก็พอจะทราบว่า พระสงฆ์ไทยไปมีบทบาทอย่างหนึ่งในรัฐสภาสหรัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป ให้เสรีภาพทางศาสนาเป็นอย่างดี เฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีวัดไทยหลายวัดอยู่ในหลายรัฐหลายเมือง จนมีศูนย์ปฎิบัติงานในรูป “สันนิบาต” ในหมู่พระสงฆ์ไทยแต่ได้ทราบว่า พระสงฆ์หรือพระธรรมทูตส่วนใหญ่ไม่อยู่เป็น “ที่พึ่งทางใจ” แก่คนไทยเป็นด้านหลัก วันๆ ก็ปฎิบัติศาสนกิจกับคนไทยด้วยกัน ฝรั่งที่สนใจพระพุทธศาสนา ก็มักจะไปฝึกนั่งทำสมาธิกับพระสงฆ์ไทย ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องพอสมควร แต่ที่ทำงานเป็นเรื่องเป็นราวได้ผล มักจะเป็นพระพุทธศาสนาฝ่าย “มหายาน” ซึ่งพระที่ทำงานจริงจึง เป็นพระจีนและไทยธิเบต ระยะหลังมีพระเวียดนามบ้าง ฝรั่งรู้จักพระพุทธศาสนามหายาน มากกว่าเถรวาท ฝรั่งที่บวชเป็นพระ มักจะบวชในวัดของมหายาน เพราะวัดฝ่ายมหายานมีความพร้อมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านหนังสือ หรือการเรียนการสอนหรือด้นการปฏิบัติทางจิต เคยได้ยินเสียงวิจารณ์ที่มีต่อพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่า เข้าถึงได้ยากกว่าฝ่ายมหายาน เพราะมากด้วยพิธีกรรมซึ่งไม่มีคำอธิบาย อยากจะรู้เรื่องนี้ ต้องฟังจากคำพูดของพระอาจารย์ชยสาโร(ฌอน) พระฝรั่งชาวสหรัฐอเมริกาเอง พระอาจารย์ชยสาโร พูดและเขียนภาษาไทยได้ดี ปัจจุบันอยู่แถวอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา สมัยเป็นเด็ก ท่านเป็นคนประเภท “ไม่มีศาสนา” คือไม่นับถือศาสนาใดๆ แม้แต่ศาสนาคริสต์ของชาสหรัฐฯ เอง รู้จักพระพุทธศาสนาจากการอ่านหนังสือด้วยตัวเอง ไม่เคยพูดถึงพระสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ เมื่อเป็นเด็กหนุ่ม (อายุ 14-15ปี) เดินทางไปอินเดียโดยไม่มีจุดมุ่งหมายใดๆ จนไม่มีเงินใช้ ตั้งใจจะเดินทางกลับบ้าน (ที่สหรัฐฯ) ออกเดินทางไปทางปากีสถาน พาสปอร์ตก็หาย เดินทางไปจนถึงประเทศอิหร่าน เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่นั่น พอมีเงินติดตัว ก็เดินทางกลับอินเดียอีก ใช้ชีวิตเป็นฤาษีอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง มีคนบอกว่าเมืองไทยมีวัดให้อยู่ มีพระฝึกสอน อาหารการกินสะดวกสบาย จึงเดินทางมาประเทศไทย ไปรู้จักพระฝรั่งด้วยกัน ซึ่งเป็นพระสายหลวงปู่ชา (วัดหนองป่าพง) ได้ฟังคำสอน ได้ฝึกปฎิบัติทางธรรม ก็รู้สึกเป็นสุข หลวงพ่อที่พระอาจารย์ชยสาโร พูดถึงด้วยความเลื่อมใส คือหล่วงพ่อพระสุเมโธ ศิษย์เอกชาวอังกฤษรูปหนึ่งของหลวงปู่ชา พระอาจารย์ชยสาโร พูดถึงหลวงปู่ชาเรื่องหนึ่งว่า วันหนึ่งท่านเดินผ่านมาเห็นข้า จึงถามว่า “อยู่สบายดีหรือ?” เมื่อตอบว่า สบายดี หลวงปูชาทำหน้าเหมือนดุเอา (พระอาจารย์ชยสาโร เก็บเอามาคิด ด้วยความไม่เข้าใจ) หลวงปู่ชา เรียกชื่อพระอาจารย์ชยสาโร ตามชื่อเดิมว่า “ช้อน” (ฌอน) พระฝรั่งรูปอื่นๆ ก็ถูกเรียกชื่อเป็นไทยๆ ให้จำง่ายเรียกง่าย ปฏิปทาของพระอาจารย์ชยสาโร ถือได้ว่า เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ชารูปหนึ่ง กล่าวได้ว่า พระอาจารย์ชยสาโร พูดและเขียนภาษาไทยได้ดีที่สุดในบรรดาพระฝรั่งด้วยกัน เมื่อท่านเขียนถึงโยมมารดาผู้จากไป ท่านก็เขียนเป็นภาษาไทยที่สวยงามและอ่านง่าย พระอาจารย์ชยสาโร กล่าวน่าคิดว่า เหตุที่ท่านเลือกสถานะ “คนไม่มีศาสนา” ในสมัยเด็ก เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็นเรื่องของ “ความเชื่อ” คือแล้วแต่ว่าใครจะเชื่ออย่างไร ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น แต่พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติตนและเป็นเรื่องของ “ปัญญา” ท่านอยากให้ชาวพุทธได้ “ความรู้” จากพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แต่ “ความเชื่อ” เท่านั้น คิดถึงเรื่องนี้ ก็ไม่สบายใจที่ได้รับข่าวอยู่เสมอๆว่า มีบางศาสนาที่เป็น “ความเชื่อ” ล้วนๆ และถูกใช้เป็น “เครื่องมือ” ขยายอิทธพลครอบงำเพื่อร่วมแผ่นดิน ด้วยความโลภของผู้นำทางศาสนา ทำให้หลายประเทศแสดงการปฏิเสธไม่ให้ศาสนานั้นขยายอิทธิพลเข้าไปได้ เท่าที่ทราบ มีดังนี้ ประเทศคิวบา ปฏิเสธไม่ให้มีการสร้างศาสนาสถานของศานานั้น ประเทศแองโกล่า (ในแอฟริกาใต้) เป็นประเทศแรกที่ห้ามศาสนานั้นเข้าประเทศ ประเทศนอร์เวย์ เป็นประเทศล่าสุดที่ขับไลคนของศาสนานั้นออกนอกประเทศ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ยอมให้มีศาสนานั้นในประเทศเลย มีการต่อต้านศาสนานั้นในประเทศเยอรมนีครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ประเทศออสเตรเลีย จับกุมคนร้ายจำนวน 13 คนของศาสนานั้นในฐานะผู้ก่อสงคราม (ทางศาสนา) ศาลจีนได้พิพากษา จำคุกคนร้าย 22 คนเป็นเวลา 5 ปี ถึง 16 ปี และลงโทษคนของศาสนานั้น จำนวน 8 คน)ที่แจกจ่ายเอกสารยุแหย่ให้เกิความเกลียดชังแตกแยกขึ้นในชาติเมื่อเร็วๆ นี้ ในหลายประเทศได้ตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมอันเลวร้ายต่อชาติของตน เช่น ที่ประเทศอังกฤษเตรียมนำเสนอ “การจัดระเบียบต่อต้านสังคม”ขับไล่บุคคลที่ก่อความไม่สงบด้วยศาสนาดังกล่าว ประเทศ (สาธารณรัฐ) เช็ค ไม่อนุญาตให้คนของศาสนานั้นเข้าไปยังประเทศของตน ในชินเจียง (ขอนจีน) ห้ามคนของศาสนานั้นสวดมนต์ในสถานที่ของเมือง รัฐอลาบานา (ของจีน) แก้ไข้กฎหมายของศาสนานั้น “โดยเฉพาะกฎหมายต่างประเทศ) ที่สร้างความแตกแยกในสังคม ประเทศโปแลนด์ ออกคำเตือนไปยังคนของศาสนานั้นใน 16 จังหวัด ให้สำเหนียกในกฎหมายทางศาสนาให้ดี ทางภาคเหนือของประเทศไอส์แลนด์ คนของศาสนานั้นกำลังถูกกดดันอย่างหนักให้อพยพจากถิ่น ด้วยการต่อต้านของชาวเมือง ในหลายประเทศ เช่น แคโรไลนาเหนือ, เนเธอแลนด์ ฯลฯ กำลังเคลื่อนไหวปฏิเสธศาสนานั้น ด้วยกฎหมายต่างๆ อย่างน่าสังเกต ในหลายประเทศ ไม่อนุญาตให้สร้าง ศาสนสถาน ของศาสนานั้นเพื่อป้องกันการขยายตัวของศาสนานั้น บางประเทศ ถึงกับมีคำกล่าวว่า ประเทศนี้จะยอดเยี่ยมที่สุดถ้าไม่มีศาสนานั้น ส่วนประเทศไทย กลับตกอยู่ในความประมาทอย่างน่าเป็นห่วงเกรงว่า ความโลภจะมาในรูปของการเผยแพร่ศาสนาโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตัวก็...สายเสียแล้ว ผมพยายามหลีกเลี่ยงไม่ระบุศาสนา เกรงจะเป็นการกระทบกระทั่งกัน ในใจ อยากให้ทุกศาสนาอยู่ด้วยกัน เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แต่เมื่อเห็นพฤติกรรณ์ของผู้นำทางศาสนาที่มีการดิ้นรนขวนขวายที่จะขยายอิทธิพลครอบงำเพื่อนร่วมชาติ ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขมากนานแสนนาน ก็รู้สึกไมสบายใจ อยากให้ฝ่ายบ้านเมืองคิดป้องกันไม่ให้เกิดความแตกแยกอีกทางหนึ่ง อยากให้ดูตัวอย่างในหลายประเทศ ซึ่งถูก “ศาสนา” ทำความเดือดร้อนให้ จนทนไม่ไหว มีความเชื่อแน่วแน่ว่า ทุกศาสนาล้วนสอนให้คนทำความดี แต่กิเลสก็อาจทำให้ศาสนาเป็นเครื่องมือก่อการร้ายได้ ถ้าศาสนาเป็นแต่เพียง “ความเชื่อ” อย่างหนึ่ง