ฟันธงโค้งสุดท้าย เขต 1 นัดล้างตา ครูแก้ว เจอศึกสามด้าน พท.ยังเต็งหนึ่ง โอกาสร่วงทั้งคู่สูง หลังคนสนิท ซบ พปชร. ลุ้น ภูมิพัฒน์ บัญชีรายชื่อ พช. บรรยากาศ สนามเลือกตั้ง เขต 1 นครพนม มี อ.ศรีสงคราม อ.นาหว้า อ.บ้านแพง และ อ.นาทม โค้ง สุดท้าย ยังคงเข้มข้น ถือเป็นอีกสนามที่น่าจับตามอง ที่เป็นการขับเคี่ยวระหว่างพรรคเพื่อไทย กับ ภูมิใจไทย มาหลายสมัย ที่สำคัญยังเป็นนัดล้าง ตา ระหว่าง นายศุภชัย โพธิ์สุ หรือ ครูแก้ว ผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต 1 นครพนม หมายเลข 12 อดีตข้าราชการครู ที่ลาออกผันตัวมาลงสมัคร ส.ส.ประสบความสำเร็จเป็น ส.ส.ขวัญใจประชาชนหลายสมัย อีกทั้ง ยังเคยมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเติบโตมาบนเส้นทางการเมือง ร่วม 30 ปี ตั้งแต่ยุคพรรคความหวังใหม่ มาถึง พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน เมื่อปี 2551 จึงเกิดจุดเปลี่ยน หลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ จึงหันไปซบ พรรคภูมิใจไทย ในนามของ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน และได้รับตำแหน่ง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังมีการเลือกตั้ง ส.ส.ปี 2554 ทำให้ นายศุภชัย โพธิ์สุ ครูแก้ว ได้ สมัคร ส.ส.เขต 1 นครพนม ในนาม พรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคเพื่อไทย ได้ นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ อดีตกำนันตำบลศรีสงคราม นักการเมืองรุ่นใหม่ ลูกชายรักของ กำนันคนดัง นายอิทธิพล เรืองวรบรณ์ อดีต สว.นครพนม ส่งลูกชายสานต่ออุดมการณ์การเมือง สู้ศึกกับครุแก้ว ในสมัยแรก ผลออกมา นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ ชนะการเลือกตั้ง เป็น ส.ส.เขต 1 นครพนม ถือว่าเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ สมัยได้เกิดคาด ท่ามกลางกระแสขาขึ้นของพรรคเพื่อไทย ส่วนหนึ่งครูแก้ว กับถูก กระแส ย้ายพรรค มาถึงการเลือกตั้ง ปี 2557 นายศุภชัย โพธิ์สุ หรือครูแก้ว ประกาศทวงแชมป์ ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.เขต 1 อีกครั้ง ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่สุดท้าย ไม่เป็นผล ทั้งที่ทำงานการเมืองต่อเนื่อง แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกระแสพรรคเพื่อไทย รวมถึงคะแนนนิยม บางส่วนของ นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ บวกกับ ฐานความ นิยม ของ นายอิทธิพล เรืองวรบูรณ์ อดีต สว.นครพนม แต่สุดท้ายมีการปฏิวัติ พอถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ ปี 2562 ถือเป็นวิบากกรมทางการเมืองของ นายศุภชัย โพธิ์สุ หรือครูแก้ว หลังคาดหวังทำงานการเมืองต่อเนื่อง ลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไม่เคยขาด เพราะเชื่อว่าในยุคหลังการปฏิวัติ รัฐบาล คสช.จะเป็นการล้างกระแสความขัดแย้งทางการเมือง และมีโอกาสสู้กระแสพรรคเพื่อไทย ได้ หลังพรรคเพื่อไทย เจอวิกฤติทางการเมือง หัวหน้าพรรค ต้องหนีออกนอกประเทศ สุดท้ายเส้นทางการเมืองไม่ง่ายอย่างที่คิด ต้องเจออุปสรรคทางการเมือง เนื่องจากทีมงานการเมือง ที่ต่อสู้ด้วยกันมา สนับสนุนให้เป็น ส.อบจ.นครพนม เขต อ.ศรีสงคราม คือ นายธงทิพย์ชลิต แห่สถิต อดีต ส.อบจ.นครพนม และเคยนั่งประธานสภา อบจ.นครพนม และเคยเป็นมือขวาคนใกล้ชิด ที่ นายศุภชัย โพธิ์สุ หรือครูแก้ว ปลุกปั้นเข้าสู่สนามการเมือง มาต่อเนื่อง สุดท้าย ได้หันไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ ลงสมัคร ส.ส.เขต 1 นครพนม หมายเลข 2 กลายเป็นการช่วงชิงฐานคะแนน ที่เคยร่วมกันสะสมไว้ ทำให้โอกาสที่จะสู้ศึกนัดล้างตา ระหว่าง นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคเพื่อไทย หมายเลข 19 มีเปอร์เซ็นต์ ชนะน้อยลงจากเดิม เนื่องจากพรรคเพื่อไทย จากปัจจัยฐานคะแนนแชมป์เก่า รวมถึงกระแสความนิยม ยังเหนี่ยวแน่น เนื่องจาก จ.นครพนม ทั้ง 4 เขต เคยเป็นฐานที่มั่นเพื่อไทย ชนะเลือกตั้งมาทุกสมัย บวกกับกระแสการต่อต้าน พรรคทหาร และสืบอำนาจ บวกกับได้ตัวผู้สมัครหน้าใหม่ มาจากทีมการเมืองพรรคภูมิใจไทยเดิม ที่ยังมีคะแนนนิยมวัดบารมีไม่ถึงอดีตแชมป์เก่า ทำให้ยาก ที่ พลังประชารัฐ จะกลายเป็นม้ามืดชิงเก้าอี้ ส.ส. ซ้ำร้ายอาจเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ นายศุภชัย โพธิ์สุ หรือครูแก้ว พลาดจากการทวงแชมป์ ส.ส.ในครั้งนี้ หลังรอคายมานานนับ 8 ปี และทั้ง 2 ต้องตีตั๋วไปรอชิงสมัยหน้า ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีตัวแปรสำคัญ ล่าสุด ดร.ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นักการเมืองดาวรุ่ง ชาว อ.บ้านแพง จ.นครพนม ที่หันเข้าสู่เส้นทางการเมือง ครั้งแรก เมื่อปี 2544 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่สอบตก จนกระทั่งประสบความสำเร็จ ในปี 2550 ได้รับเลือกตั้ง เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชาชน แบบสัดส่วน กลุ่ม 3 ถึงปี 2554 ลงสมัคร ส.ส.เขต 1 นครพนม อีกครั้งในนาม พรรคชาติไทยพัฒนา แต่สอบตก ซึ่งในปี 2557 ไม่ได้ลงสมัคร มาคราวนี้ กลับมามีชื่ออีกครั้ง เป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 ของพรรคเพื่อชาติ กลายเป็นอีกตัวแปลสำคัญ ที่จะเป็นการหั่นคะแนน จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 1 นครพนม รวม 138,358 คน จากประชากร 180,698 คน ซึ่งหากผู้มาใช้สิทธิ์ ประมาณ 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีคะแนนรวม ประมาณ 1.2 แสนเสียง หากมีการสมมุติ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน จะได้ คนละประมาณ 30,000 เสียง ทั้งนี้แสดงว่า โอกาสผู้สมัคร ที่จะชนะเลือกตั้ง จะต้องมีฐานเสียง ไม่ต่ำกว่า 30,000 เสียง ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญ ในการฟันธง โค้งสุถดท้าย โอกาสที่พรรคเพื่อไทย จะชนะสูง ด้วยปัจจัยฐานคะแนนเดิม รวมถึงกระแสความนิยมทั้งพรรค รวมถึงกระแสการสนับสนุนพรรคประชาธิปไตย เพราะเดิม นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคเพื่อไทย หมายเลข 19 เคยชะการเลือกตั้งมีคะแนนสูง กว่า 40,000 คะแนน ทำให้การเลือกตั้ง ครั้งนี้ มีโอกาสชนะสูง ส่วนผู้สมัคร พรรคพลังประชารัฐ และ พรรคภูมิใจไทย หากชนะได้ ถือว่าเกินคาด แต่ในส่วนของของ ดร.ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ผู้สมัคร บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ ต้องลุ้นคะแนนรวมของพรรค อาจมีโอกาสนั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ สำหรับพรรคอื่นๆ ถึงแม้จะมีผู้สมัคร มากถึง 30 คน จาก 30 พรรคการเมือง แต่ยังคงยากที่จะดึงคะแนนนิยมจากพรรคใหญ่ได้