เรื่อง/ภาพ : ศูนย์ข่าวภูมิภาคสุรินทร์ ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง ขณะนี้ผู้สมัครแต่ละพรรคการเมือง ได้เร่งลงพื้นที่หาเสียงกันหามรุ่งหามค่ำ เพราะว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองจำนวนมาก ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง สำหับจังหวัดสุรินทร์ มีเขตการเลือกตั้ง ทั้งหมด 7 เขต เดิมนั้น มี 8 เขตการเลือกตั้ง และที่สำคัญการแบ่งเขตการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แบ่งพื้นที่ ไม่เหมือนเดิม จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ทำให้ผู้สมัคร ต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่การหาเสียง ปรับเปลี่ยนทีมงาน จัดตั้งทีมงานในแต่ละพื้นที่กันใหม่ สำหรับ 7 เขตในจ.สุรินทร์ ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน1,397,180 คน เขตเลือกตั้งที่ 1มีประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 200,871 คน พื้นที่ อ.เมืองสุรินทร์ อ.ลำดวน และ อ.ปราสาท บางส่วน มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 30 พรรค เขตเลือกตั้งที่ 2 ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 200,245 คน พื้นที่ อ.เขวาสินรินทร์ อ.ศีขรภูมิบางส่วน อ.จอมพระบางส่วน มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 33 พรรค เขตตั้งที่ 3 ปะชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 199,080 คน พื้นที่ อ.จอมพระ อ.ท่าตูมบางส่วน อ.สนมบางส่วน อ.โนนนารายณ์มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 33 พรรค เขตเลือกตั้งที่ 4 ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 199,713 คน พื้นที่ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม อ.รัตนบุรี และอ.สนมบางส่วน มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 33 พรรค เขตเลือกตั้งที่ 5 ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 199,876 คน พื้นที่ อ.สำโรงทาบ อ.ศีขรภูมิ และอ.ศรีณรงค์บางส่วนมีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 36 พรรค เขตเลือกตั้งที่ 6 พื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-ราชอาณาจักกัมพูชา ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 197,493 คน อ.ศรีณรงค์ อ.สังขะ อ.บัวเชด มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 32 พรรค และเขตเลือกตั้งที่ 7 พื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน199,902 คน พื้นที่ อ.ปราสาท อ.กาบเชิง อ.พนมดงรักมีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 33 พรรค เขตเลือกตั้งที่ 1 ถือได้ว่าเป็นเขตแรกที่ เป็นศึกช้างชนช้าง แม้ว่า ปกรณ์ มุ่งเจริญพร ผู้สมัคร จาก พรรคภูมิใจไทย เจ้าของพื้นที่เดิมอดีต ส.ส.ในเขตนี้ แต่เนื่องจากการแบ่งพื้นที่ ต้องขยับออกจากพื้นที่เดิม ไปยังพื้นที่ อำเภอลำดวน อำเภอปราสาท บางส่วน ทำให้เจ้าตัว แม้จะมีแต้มต่อก็ยังต้องลงพื้นที่ทุกวัน เพราะไม่เช่นนั้นโอกาสเพลี่ยงพล้ำให้กับคู่แข่ง อย่าง อดีต ส.จ. พันธ์เทพ ฐานุพงศ์ชรัช พรรคเพื่อไทย แม้ว่าชื่อเสียงการเมืองในระดับจังหวัดยังไม่หวือหวา แต่แวดวงงานก่อสร้างถนน ชื่อชั้นไม่รองใคร ขณะที่คู่แข่งหน้าใหม่จากพรรคพลังประรัฐ คือ อนันต์ ปาลีคุปต์ ชื่อเสียง น้องใหม่ในแวดวงการเมือง ทั้งในท้องถิ่นแล้วชื่อนี้ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่ครอบครัว ก็เกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่นมายาวนาน โดยเฉพาะ พื้นที่ตำบลนอกเมืองสุรินทร์ แล้วถือว่าเป็นพื้นที่ที่ตระกูลปาลีคุปต์ ได้สนับสนุนผู้บริหารท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่รู้จักรอย่างกว้างขวา คู่แข่งจะประมาทพลังประชารัฐไม่ได้แม้แต่น้อย ส่วน คำสิงค์ ชอบมี ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ ทนายความคนจน ขยันลงพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง และได้ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่ช่วยหาเสียง ได้รับเสียงตอบรับประชาชนอย่างคึกคัก ขณะที่ พรรคเพื่อชาติ อย่าง จ่าประสิทธิ์ ไชยศรีษะ อดีต ส.ส.เพื่อไทย ส่งน้องสาว คือ ยิ่งรัก ไชยศรีษะ ลงสมัคร พอมีป้ายแนะนำตัว ริมถนน ขอคะแนนเสียงจากกลุ่มคนเดียวกัน เขต 1 จังหวัดสุรินทร์ จึงถือได้ว่า งานหนัก ของ ปกรณ์ จากพรรคภูมิใจไทยและ พรรคพลังปะชารัฐ และพรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 เรียกว่า ช้างใหญ่งายาว ชนกันสนั่นหวั่นไหวแน่ เพราะแต่คนแล้วไม่ธรรมดา แรงทั้งคน แรงทั้งพรรค เริ่มจากกิติศักดิ์ รุ่งธนเกียรติ พรรคภูมิใจไทย อดีต ส.ส.และอดีตรองนายก อบจ.สุรินท์ ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของกิติเมศวร์ รุ่งธนเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ มีกองหนุนเต็มที่ ฐานการเมืองปึก ทุนหนา เดินพบประชาชนทุกหมู่บ้านตำบล เทศบาล ต้องชนกับ ชูชัย มุ่งเจริญพร ไอ้หนุ่มเสื้อแดง พรรคเพื่อไทย อดีตเจ้าของพื้นที่ ช่วงหลังอาจเงียบหายไปบ้าง แต่ช่วงหลัง กระแสพรรค จากแกนนำของพรรคลงพื้นที่ กลับมาตีตื้นขึ้นได้ ขณะที่ ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ พรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.จ.แทบทุกยุคสมัย อาณาจักรของสินอุดม ธุรกิจหลากหลาย กระแสแรง ไม่หยุดจุดมุ่งหมายปลายทาง คือ ชัยชนะทุ่มเต็มที่ ได้แรงหนุนจากแกนนำพรรค เปิดเวทีปราศรัย เข้าหาปะชาชนอย่างต่อเนื่อง เขตเลือกตั้งที่ 3 ถือว่าได้ว่า เขตเลือกตั้งของช้างจริงๆ คือในเขตนี้มีช้างกว่า 300 เชือก พื้นที่อำเภอท่าตูม เริ่มจากอดีต ส.ส.ในสมัยที่ผ่านมา คุณากร ปรีชาชนะชัย พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่เดิม แต่ก็ปรับเปลี่ยนพื้นที่กันใหม่พอสมควรจากการแบ่งเขตการเลือกตั้ง สู้กับ อดีตนายก อบต.กระโพ ศิริศักดิ์ ร่วมพัฒนา พรรคภูมิใจไทย ผู้ที่มีเครือญาติ ทำการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติมาอย่างยาวนาน ฐานเสียงในพื้นที่เรียกว่าแน่น ใครจะชิงใครจะแยกก็ต้องออกำลังกันหนักหน่อย ส่วนพรรคพลังประชารัฐ ส่งผกามาศ เจริญพันธ์ คนรุ่นใหม่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ลูกสาวคุณพ่อ อดีต รองนายก อบจ.สุรินทร์ คุณแม่ผู้สมัคร ส.ส.หลายสมัย และเป็นเจ้าของธุรกิจก่อสร้างเรียกว่า ทุนหนักยกมาสู้ เขตเลือกตั้งที่ 4 เรียกว่าช้างชนช้าง อดีต ส.ส. อดีต ส.จ.นักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น สู้กันมันหยดอย่างที่ทราบกัน พื้นที่กายภาพ ของการแบ่งพื้นที่การเลือกตั้งเปลี่ยนไป ต้องเริ่มต้นกันใหม่ ในบ้างพื้นที งานนี้ ตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล จากพรรคเพื่อไทย อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ฐานเสียงแน่นบ้านตัวเองคนอำเภอ รัตนบุรี คราวนี้ ชนกับคนรัตนบุรี ด้วยกัน อดีต ส.ส.พรรคพลังประชาชน และที่ปรึกษาเทศบาลรัตนบุรี สาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ พรรคภูมิใจไทย ชูนโยบายกัญชาเสรี ใครจะมาใครจะไป ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ มาแบบไม่หวือหวามากนักเขตนี้ ส่ง อดีต ส.จ.คนทำงานการเมืองกับ อดีต ส.ส.คนดัง เสกสรร แสนภูมิ ลงพื้นที่ ปุณยวัฒน์ สนใจ พบปะประชาชนมาต่อเนื่องมีธุรกิจค้าขายอยู่ด้วย เรียกว่าไม่แพ้สองพรรคยักษ์ใหญ่ โดยมีแกนนำพลังประชารัฐ คอยเติมน้ำยาให้ต่อเนื่องด้านพรรคเพื่อชาติ พี่ใหญ่ในวงการบันเทิง โกวิฐ วัฒนกุล อาสากลับบ้านเกิดลงเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 5 สู้กันมันหยดเช่นกัน เริ่มที่พรรคเพื่อไทย ส่ง มานิตย์ สังข์พุ่ม อดีต ส.ส.ลงสนาม ซึ่งแม้ช่วงหลังชื่อเสียง อาจเงียบๆบ้างเพราะสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้ครูมานิตย์ ได้ขยับ แต่ก็ได้พยายามลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องในช่วงโค้งสุดท้าย กระแสพรรคยังมาแรง ขณะที่คนอาสาสู้ จากพรรคภูมิใจไทย คือ สมศักดิ์ ประธาน อดีต ส.จ.หลายสมัย ฐานการเมืองส่งต่อรุ่นต่อรุ่น รุ่นน้า รุ่น จากพี่สาว ดร. ฟาริดา สุไลมาน ทำให้มีกำลังใจขึ้นสู้อย่างสมศักดิ์ศรี หมายมั่นปั้นมือ เป็น ส.ส.ให้คราวนี้ให้ได้ ส่วน อดีตนายก อบต.ยาง อ.ศีขรภูมิ สุวิทย์ เกษอินทร์ พรรคพลังประชารัฐ หลังจากเดินตามนักการเมืองมาหลายพรรค มาคราวนี้ได้ลงสมัคร ส.ส.เต็มตัว ประกาศสู้เต็มที่ เขตเลือกตั้งที่ 6 ว่ากันว่า คนเสื้อสีเดียวกัน แยกวงมาลงคนละพรรค เพราะพื้นที่เขตเลือกตั้งไม่อำนวย แต่ต่างคนต่างบอกว่า นอนมา เริ่มจากอดีต ส.ส.หลายสมัย ผ่านมาหลายพรรคการเมือง ลงพื้นที่พบประชาชนมาตลอด ทั้งเป็น ส.ส.หรือไม่ ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา พรรคพลังประชารัฐ เรียกว่าชื่อเสียงคนนี้ใครๆก็รู้จัก ลงพื้นที่พบประชาชน ต่อเนื่อง ชนกับพี่ใหญ่ พรรค เพื่อไทย สมบัติ ศรีสุรินทร์ ไม่ใช่ใครที่ไหน คนเคยอยู่พรรคเดียวกัน มาสู้กัน แล้วแต่ใครจะได้รับเลือกตั้ง บ้านก็ไม่ไกลกัน ในอำเภอสังขะ ขณะที่คนท้าชน จากพรรคภูมิใจไทย นอนมาเช่นกัน ล้ำเลิศ พัวพัฒนโชติ อดีตนายก อบต.ดม อ.สังขะ ลีลาการหาเสียงไม่เน้นเวทีใหญ่ เน้นกาเข้าหาประชาชน แบบตัวต่อตัว เป็นแนวทางของการหาเสียงจากพรรคภูมิใจไทย สุดท้ายเขตเลือกตั้งที่ 7 คนพื้นที่มักจะเรียกกันว่าพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เพราะกินพื้นที่ ติดแนวชายแดนอันยาวไกล ในพื้นที่ อ.พนมดงรักและ อ.กาบเชิง แต่บรรยากาศการหาเสียง ในโค้งสุดท้ายของเขตเลือกตั้งที่ 7 สุดคึกคัก เริ่มจากพรรคเพื่อชาติ หมายมั่นปั้นมือจะแจ้งเกิดให้ได้แกนนำพรรคเพื่อชาติ ได้ลงพื้นที่ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร ของพรรค จันทร์ทอง ทนงตน ที่มีแกนนำนักการเมืองท้องถิ่น และนักธุรกิจในท้องถิ่นให้การสนับสนุน อย่างเต็มที่ ขณะที่พิเชษฐ์ สุทธิศิริวัฒนะ จาก พรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.จ.หลายสมัย เรียกว่าคึกคักตลอดระยะเวลาของลงสมัครรับเลือกตั้งเปิดเวทีปราศรัยขย่มฐานการเมืองเก่าจากพรรคเพื่อไทย อย่างต่อเนื่องมีแกนนำมาช่วยปราศรัยอย่างคึกคัก ขณะที่คู่แข่ง อย่าง ชูศักดิ์ แอกทอง พรรคเพื่อไทย อดีต ส.ส. ดูจะเงียบๆในการออกหาเสียงแต่มีกระแสข่าว คะแนนจะมาจากกระแสของพรรค ส่วนที่ไม่ถอยเดินหน้าพบประชาชนอย่างต่อเนื่องแบบไม่ต้องเปิดเวทีปราศรัย เข้าหาประชาชน รับทราบปัญหาปากท้องของประชาชน คือพรชัย มุ่งเจริญพร พรรคภูมิใจไทย อดีต สปช.จังหวัดสุรินทร์ และอดีตนายกสมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ เขตนี้สู้กันทุกซ็อตเช่นกัน ขณะที่ ร.ต.อ.นิยม เพ็ชรโกมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่มีเหตุการณ์ที่ส่อไปในทางทุจริต และรุนแรงทาง กตต.สุรินทร์ ได้ประสานหน่วยงานตำรวจ ทหาร และด้านความมั่นคง ในการดูแลความเรียบร้อยระงับเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่การเลือกตั้งในเขต และนอกเขตเลือกตั้งที่ผ่านมา ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากันเป็นจำนวนมาก เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้งคิด เป็น ร้อยละ 93 ส่วนการเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง ร้อยละ 92 ถือว่าสูงมาก และตั้งเป้า ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม นี้ ร้อยละ 80