ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายวรทัศน์ ธุลีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ แถลงข่าวการจัดกิจกรรมงานวันสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ ครบรอบ 8 ปี ประจำปี 2562 เป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ การจัดงานวันสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2562 จังหวัดบึงกาฬ จึงได้จัดกิจกรรมการจัดงานวันสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ ครบรอบ 8 ปี ขึ้น ในระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 2 เมษายน 2562 ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการจัดงานร่วมกับงานกาชาดจังหวัดบึงกาฬ โดยสถานที่จัดงานวันสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ ครบรอบ 8 ปี และงานกาชาดจังหวัดบึงกาฬ ประจำปี 2562 นี้ สถานที่จัดขึ้นที่บริเวณเขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนข้าวเม่า อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ ให้สามารถรองรับกิจกรรมและเทศกาลงานท่องเที่ยวของจังหวัดบึงกาฬที่กำหนด จัดขึ้นตลอดปี ตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ตั้งสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภาคลุ่มน้ำโขง และเพื่อกระตุ้นการเดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กระจายรายได้สู่ชุมชน ใน พ.ศ. 2537 นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย เสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 390,000 คนอย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี โครงการร้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย ได้ยื่นกระทู้สดถามนายกรัฐมนตรีเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ(ซึ่งต่อมานายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ได้เสนอ พระราชบัญญัติจังหวัดบึงกาฬเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมาธิการพิจารณา พรบ.จังหวัดบึงกาฬด้วย) กระทรวงมหาดไทยจึงได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..."ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 765 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จัดตั้งเป็นจังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย คำขวัญประจำจังหวัด :ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง ชมนางรำกว่า10,000คนรำบวงสรวงเจ้าศาลเจ้าแม่สองนางซึ่งเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดบึงกาฬมาช้านาน จากนั้นนางรำกว่า10,000คนร่วมสวดมนต์ เสริมศิริมงคลให้เมืองบึงกาฬ กิจกรรมภายในงาน การออกจำหน่ายสินค้า OTOP และคาราวานสินค้ากว่า 100 ร้านค้า การจำหน่ายสลากกาชาดและลุ้นรางวัน ร้านนาคากาชาด การแข่งขันการประกวดดนตรีพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ชาย -หญิง ชมการเดินแบบชุดผ้าไทยพื้นเมือง การประกวดธิดากาชาดจังหวัดบึงกาฬ การแสดงแสงสีเสียง ตำนานบึงกาฬ พบกับคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดังทุกวัน