ความตื่นตัวทางการเมืองของไทย ปัจจุบันถือว่ามีสูง วัดค่าจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ (1) จำนวนพรรคและคนลงสมัครที่มากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา (2) จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต มีจำนวนมากเป็นหลายเท่าตัว (3) ผลกระทบ การตัดสินใจในเรื่องส่วนรวม มีมากขึ้น ละเอียดขึ้น วัดจากโลกโซเชียล วิพากษ์เรื่องการออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ถูกวิพากษ์อย่างแรง (4) โครงการที่มีผลกระทบ ถูกจับตามากขึ้น (โรงงาน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ขยะ เขื่อน ฯลฯ) (5) ทีวีหลายช่อง ออกรายการเกี่ยวกับสังคมมากขึ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การหาเสียงเลือกตั้งแบบเดิม ๆ การติดป้าย การปราศรัย การเคาะประตูบ้าน ไม่เพียงพอแล้ว กับการตัดสินใจเลือก หรือไม่เลือก พรรคการเมือง และผู้สมัคร บางคน บางพรรค กล่าวได้ว่าตามเหตุการณ์ไม่ค่อยทัน แต่เชื่อว่าการซื้อสิทธิขายเสียง น่าจะเป็นแบบซ่อนรูป ไม่โจ่งแจ้ง เพราะ กฎกติกาบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ การบริหารแผนพัฒนา โครงการ การใช้เงินงบประมาณ การติดตามตรวจสอบ เข้มข้นขึ้น มีระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การทหาร การต่างประเทศที่ละเอียดรอบคอบรัดกุมมากขึ้น เพราะเกิดจากการหยิบยกเอามาเป็นประเด็น หรือเงื่อนไขการเมืองแทบทุกเรื่องมาศึกษาแก้ไขปรับปรุง ฉะนั้น เรื่อง การติดป้าย การใช้เสียงโฆษณาจึงเป็นปัจจัยรอง ในเรื่องทางเชื่อมโยงระบบงบประมาณ ระหว่างส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ก็จะเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ละเอียดขึ้น โครงการที่ใช้เงินงบประมาณมาก แต่เกิดผลน้อย จะถูกจับตามอง จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากขึ้น งบภัยแล้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ผู้ใหญ่บ้านยังมีบทบาทต่อการเลือกตั้งอย่างมาก เหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัด ความเข้าใจ และการตัดสินใจ ทางการเมืองของคนทั้งประเทศได้ ดีเบต โหนกระแสอุดมการณ์ วาทะกรรม นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ อุดมการณ์ หรือวาทะกรรม สร้างขึ้นมาใหม่ ในรูปนโยบาย เฉพาะกิจ ดีเบตโหนกระแสหาจุดสนใจ สร้างเงื่อนไข ชี้ช่องว่าง กลุ่มครองอำนาจ เพื่อเปลี่ยนใหม่ ในรายการโทรทัศน์ กกต. ยังเปิดโอกาสให้กระทำได้ เพราะความรู้สึกคำว่าเป็นพวกสำคัญกว่า “อุดมการณ์” ในแนวนโยบาย และอุดมการณ์ ในการหาเสียงของผู้สมัครฯ จึงไปคุยตรง ๆ กับชาวบ้านไม่ได้ แถมถามว่าจะให้อะไร เขาจะได้อะไร จะมาแจกอะไร บรรยากาศการหาเสียงจึงเงียบเหงา การทำยุทธศาสตร์ชาติครอบคลุมสิ่งใดบ้าง (1) การกำหนดเป้าหมายระยะยาว แนวทางพัฒนาที่ชัดเจนว่า เราจะเตรียมอะไรไว้ให้ลูกหลาน เช่น การผังเมือง (2) การจัดลำดับความเร่งด่วน การจัดลำดับงบประมาณ ดูสถานการณ์การเงินการคลังของประเทศ ดูความต้องการ ลงไปหารือกับคนในพื้นที่ (ตอนนี้ ไทย มีเงินทุนสำรองดี) (3) ทำควบคู่กับแผนของ สภาพัฒน์ แผนที่ 12 ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคม ความมั่นคงต้องมีทุกมิติ (ทหาร ตำรวจ ชีวิต) นโยบายของรัฐบาล นโยบายของหน่วยงานต่างๆ (4) การแก้ไขกฎหมาย เช่น เรื่องการขายฝากที่ดิน (5) การปรับแก้ยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต (6) การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม การพัฒนาคน (7) การแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ คอรัปชั่น การจัดสรรน้ำ การจัดสรรที่ดินให้ทั่วถึงเท่าเทียม สังคมผู้สูงอายุ (8) การเปิดเสรีตลาดในด้านต่างๆ (9) ระบบนิเวศน์ (10) ความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม การแข่งขัน วัฒนธรรม (11) โครงสร้างพื้นฐาน (12) สร้างฐานรายได้ (13) การศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำอาชีพตามความถนัด สังคมที่ปลอดภัย (14) ภาครัฐ นโยบายต้องชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมาย ข้าราชการจะได้ทำงานได้ถูกต้อง (15) ความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะ เหล่านี้ คือ แนวทาง “ยุทธศาสตร์ชาติ” เชื่อว่าในแนวนโยบายของทุกพรรคต้องออกมาดี แต่ในข้อเท็จจริงอาจกลับกัน เพราะกฎหมายที่บรรดาหน่วยงานรัฐเร่งเสนอออกมา หลายอย่างเป็นอุปสรรค สร้างพันธนาการที่มากขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะส่งผลให้นโยบายของพรรคเป็นไปได้ยากขึ้น ตัวอย่างการใช้เงินงบประมาณแบบไม่ไว้วางใจในรูปแบบสภาท้องถิ่น แต่กลับผลักภาระไปให้หน่วยงานราชการเป็นผู้ใช้และบริหารงบประมาณ สร้างโครงการพัฒนาชุมชนขึ้นโดยเอาประชาชนมาเป็นตัวอ้างคุณภาพในความสำเร็จโดยผู้นำภาคราชการต่าง ๆ อาจได้เพียงการสร้างภาพ เช่น โครงการนวัตวิถี โครงการอีเว้นต่าง ๆ รัฐบาลใหม่มีข้อจำกัดในการทำโครงการใหญ่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 46 ให้บุคคลมีเสรีภาพในการจัดตั้งกลุ่ม สมาคม ฯลฯ มาตรา 58 เงื่อนไข การอนุมัติ อนุญาต ถ้ามีผลกระทบรุนแรง ต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ต้องศึกษาและประชาพิจารณ์ มาตรา 65 ยุทธศาสตร์ชาติ มาตรา 76 การบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 144 วรรค 4 เรื่อง เจ้าหน้าที่เข้าไปมีผลประโยชน์ในโครงการจัดสรรงบประมาณ ที่กล่าวอ้างถึงรัฐธรรมนูญจำนวน 5 มาตรานี้ เป็นที่คาดหมายได้ว่า นโยบายพรรคการเมือง หลังได้เป็นรัฐบาลแล้ว จะไม่สามารถมีอิทธิพลในการทำโครงการใหญ่ได้ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา อาทิเช่น โครงการจำนำข้าว เมกโปรเจ็กถมทะเล หรือ โครงการก่อสร้างที่ใช้เงินมาก ๆ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่แก่ระบบราชการไปในตัว ว่าด้วยงบประมาณท้องถิ่น ท้องถิ่นวิ่งเต้นงบ จะไม่มีอีกแล้ว ตัดฝันความทะเยอทะยานของนักการเมืองท้องถิ่นออกไปเลย จะทำได้เฉพาะ ประเด็นฮ็อตฮิต เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น กัญชารักษามะเร็ง ปราบคนโกง นอกจากนี้ การรวมกลุ่มบุคคล ต้องมีสาระแก่นสาร ไม่ใช่ขบวนแห่นาคถล่มโรงเรียน ส.ส.ต้องแจ้งเกิดด้วย มันสมอง และสาระ ไม่ใช่วิ่งเต้นงบประมาณมาแจกแบบเดิม ๆ งานถ่ายโอนบางอย่างควรทบทวน อาทิ ที่หวงงานทะเบียนราษฎรไว้ไม่ปล่อยให้ถ่ายโอน ก็เพราะผลประโยชน์และบารมี เอาแค่การย้ายคนเลือกตั้งก็ถือว่าเป็นอำนาจบารมีได้ โดยอ้างความมั่นคง สร้างกฎเกณฑ์หลักเกณฑ์กันไว้มาก จึงเป็นกำแพงหรือข้ออ้างข้อจำกัดในการถ่ายโอนภารกิจที่อาจทบทวนแก้ไข อย่าลืมว่า เวทีท้องถิ่นยังรออยู่ เวทีกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่รัฐให้เงินใช้ก็ยังมีอีกมาก การหาเสียงโดยใช้นโยบายประชารัฐยังคงดำเนินต่อไป ช้าช้าจะได้พร้าเล่มงาม มีปรากฏการณ์ที่น่าฉงนในความสับสน ความเรียบร้อยของการเลือกตั้งในครั้งนี้ว่าจะเรียบร้อยเพียงใด นี่รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งด้วย ที่ดูจะฝืด ล่าช้าไม่เหมือนคราวการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆมา อาจเป็นเพราะต้องให้รอบคอบกัน สตง. ที่จะเข้าตรวจสอบ เนื่องจากเป็นเงินงบประมาณของแผ่นดินที่สำคัญ และทุกอย่างดูจะยึดเวลาออกไป เช่น วันรับสมัครจริงก่อนหน้านั้นคือวันที่ 4 - 8 กุมภาพันธ์ 2562 แต่การประกาศรับสมัครเป็นทางการวันสุดท้ายเป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งในวันสุดท้ายบางเขตเลือกตั้งต้องใช้เวลารอจนถึงสองสามทุ่ม เป็นการทิ้งเวลาให้ตรวจคุณสมบัติกันนานพอสมควร แต่ส่งผลให้บีบเวลาให้ผู้จะหาเสียงเหลือเวลาสั้นลงไป มีข้อดีในการตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้ม เพราะผู้จะมาเป็นผู้แทนต้องพร้อม ไม่ควรโกงเรื่องคุณสมบัติหรืออื่นใด จับตาประเด็นสอย ในประเด็น “การสอย” หรือการแจก “ใบส้ม ใบเหลือง ใบแดง ใบดำ” มีทั้งที่เป็นอำนาจของ กกต. เอง หรือ ไปจบที่ศาล มีการฟ้องเรียกค่าใช้จ่าย ฟังดูในกฎหมายบางกรณีห้าม แต่ กกต. เปิดช่อง หรือ อาจไปรอสอยตอนเลือกตั้งท้องถิ่น เพราะคุณสมบัติต้องห้ามจะตัดสิทธิ์ผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นด้วย มีข้อสังเกตว่า หากผู้สมัครใดไม่มีพวกแก้ต่างปกป้องก็ไม่รอด ข่าวลือการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นกระแสฮือฮากันสักพักใหญ่ ๆ ข่าว “...เลือกตั้งท้องถิ่นหลัง ส.ส. 60 วัน นายก อปท.ทั่วประเทศหมดวาระ 31มีนาคม 2562 ปลัดรักษาการณ์ 60 วัน จัดให้มีการเลือกตั้ง 1 พฤษภาคม 2562...” เหมือนการสับขาหลอก ฝ่ายนายกฯ และสมาชิก อปท. อยากจะอยู่ต่อ แต่ก็ไม่อยากสนับสนุนฝ่ายตรงข้าม เป็นข่าวลือเหมือนข่าวหนัก ๆ ทั่วไป คล้ายข่าวปลด ผบ.ทบ. ที่ยังไม่ชัดเจนมีโอกาสพลิกผันได้ การยึดครองอำนาจจากการปฏิวัติและผู้ที่ได้อำนาจจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาต่างหลงวังวนในการ “เป็น อภิสิทธิชน” ที่มีสิทธิคุ้มครองพิเศษแตกต่างจากประชาชนธรรมดาทั่วไป การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นที่ผ่านมาก็เช่นกัน เพราะงานภารกิจภาครัฐที่ถ่ายโอนให้ อปท.นั้น ก็ดูเหมือนว่า อปท. จะได้อภิสิทธิบางอย่างที่ต่างจากราชการส่วนอื่น การถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าจะกล่าวโจมตี หรือติติง ติเพื่อก่อ ล้วนเป็นการแสดงถึงความรักชาติ (จนน้ำลายไหล) ทั้งนั้น วิวัฒนาการในทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีปัญหาการบริหารบ้านเมืองที่โปร่งใสบริสุทธิ์ การพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่นเป็นเรื่องปกติ ในธรรมเนียมฝรั่งมีค่าคอมมิสชั่นตอบแทน เพราะประเทศเขาทำการค้าทั้งในและต่างประเทศ หรือในกรณีการบริหารงานที่ไม่มีค่าคอมมิสชั่น ก็จะมีแต่โบนัสตอบแทนความขยันขันแข็งกุลีกุจอ ความรับผิดชอบงานที่สูง ซึ่งของคนฝรั่งจึงดูจะแตกต่างจากของไทย เหล่านี้เป็นกระแสทัศนะในมุมมองของคนท้องถิ่นที่ออกจากแปลกแตกต่างจากคนกลุ่มอื่นอยู่บ้าง