นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า ทางทีเส็บได้ดึงการใช้ข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligence) ผสานการวิเคราะห์ (Data Analytics) ตอบโจทย์พฤติกรรมนักธุรกิจไมซ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนำ 6 ยุทธศาสตร์ และแผนงาน 16 โครงการ มาพัฒนาธุรกิจไมซ์ ผ่านนวัตกรรมและข้อมูลตลอดระยะ 3 ปี (2562-2564) ซึ่งเวลานี้ได้เปิดตัวฐานข้อมูลธุรกิจไมซ์ผ่านทางเว็บไซต์ (MICE Intelligence & Resource Center) ให้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ นักศึกษาและประชาชน ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจไมซ์ด้วยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ หวังกระตุ้นผู้ประกอบการไมซ์ไทย ซึ่ง โรดแมปการพัฒนาธุรกิจไมซ์ ด้วยนวัตกรรมและข้อมูลตลอดระยะ 3 ปี ตั้งแต่ 2562-2564 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 16 โครงการไฮไลท์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสนับสนุนการจัดงานและผู้ประกอบการไมซ์ มี 4 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการช่องทางสำหรับการขอรับบริการไมซ์เลน เพื่อต้อนรับแขกวีไอพีภายในสนามบิน 2. โครงการช่องทางออนไลน์เพื่อขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บ 3. โครงการระบบเอไอ เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับที 4. โครงการช่องทางให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าเพื่อจัดแสดงและขอวีซ่า ส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไมซ์ มี 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการช่องทางออนไลน์ให้ผู้ประกอบการขอใบรับรอง และมาตรฐานไมซ์ 2. โครงการศูนย์รวมตำแหน่งงานและการแนะแนวอาชีพตามสายงานไมซ์ 3. โครงการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์รวบรวมความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไมซ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงาน มี 1 โครงการ ได้แก่ โครงการแอพพลิเคชันสำหรับให้บริการผู้เข้าร่วมงาน เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างครบวงจร ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดงาน มี 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการแอพพลิเคชั่นมือถือสำหรับอำนวยความสะดวกผู้จัดงาน 2. โครงการระบบประเมินผลผู้เข้าชมงานด้วยภาพจากกล้องวิดีโอ เว็บไซต์ MICE Intelligence & Resource Center สำหรับ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าและบริการไมซ์ มี 5 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการแหล่งรวบรวมรายชื่อและข้อมูลงานอีเวนท์ที่สามารถเข้าร่วมประมูลสิทธิ์ในการจัดงานได้ 2. โครงการศูนย์กลางการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการจัด 3. โครงการแหล่งรวบรวมผู้ประกอบการด้านไมซ์ 4. โครงการช่องทางโปรโมทอีเวนท์เพื่อให้ผู้สนใจลงทะเบียนหรือจองพื้นที่แสดงสินค้า 5. โครงการศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าและบริการ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจก่อน และหลังการจบงาน ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการเป็นแหล่งข้อมูลอุตสาหกรรมไมซ์ มี 1 โครงการ ได้แก่ โครงการฐานข้อมูลไมซ์เพื่อสร้างนวัตกรรม และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ ทั้งนี้ นางศุภวรรณ กล่าวต่อว่า หลังจากเปิดตัว MICE Intelligence เป็นภาษาอังกฤษแล้ว อีก 3 เดือนข้างหน้าคาดว่าน่าจะสามารถดำเนินการในรูปแบบภาษาไทย เพื่อรองรับผู้ประกอบการในประเทศ และภายในเดือนกันยายน 2562 ข้อมูลต่างๆ ที่ทาง MICE Intelligence รวบรวมได้ สามารถนำไปดำเนินการได้จริงใน 3 พื้นที่ท่องเที่ยวหลัก คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ส่วนทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกข้อมูลที่ได้มาจนสามารถนำไปดำเนินการในรูปแบบของงานไมซ์ได้น่าจะเป็นในช่วงปี 2563 โดย นางศุภวรรณ ยังกล่าวถึง การเปิดตัวเปิดตัวฐานข้อมูลธุรกิจไมซ์ผ่านทางเว็บไซต์ (MICE Intelligence & Resource Center) ให้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นการรองรับพฤติกรรมความต้องการของนักเดินทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การจัดงานมุ่งเน้นการผสมผสานครบวงจรภายในงาน ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงานที่มีเวลาเข้าร่วมงานน้อยแต่ต้องการผลลัพธ์สูงสุดได้เป็นอย่างดี ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 5-10% ซึ่งหากมีเครื่องมือทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน น่าจะมีโอกาสเติบโตได้ถึงปีละ 20% ขณะเดียวกันเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์ทุกกลุ่มได้เข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งการสร้างพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่ง ขยายจากผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเดิม สู่สตาร์ทอัพหรือกลุ่มธุรกิจอื่นที่ใช้ไมซ์เป็นแพลทฟอร์ม จะช่วยทำให้วงจรของธุรกิจไมซ์กว้างและเข้มแข็งขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนความรู้และการต่อยอดอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่ความสามารถทางการแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป