บรรณาลัย / โชติช่วง นาดอน กำเนิดธงชาวพุทธโลก ธงชาวพุทธโลก เดิมเรียกว่าธงฉัพพัณรังสี มีต้นกำเนิดจากการต่อสู้เรียกร้อสิทธิเท่าเทียมของชาวพุทธในศรีลังกา ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2428 ธงนี้เกิดขึ้นจากความพยายามของคณะกรรมการป้องกันพุทธศาสนา (Buddhist Defense Committee) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2428 เพื่อเป็นตัวแทนในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันแก่ชาวพุทธศรีลังกาในสมัยอาณานิคม โดยผู้ที่เป็นต้นตำหรับความคิดเรื่องธงฉัพพัณรังสีก็คือ พันเอกเฮนรี สตีล โอลคอตต์ (Colonel Henri Steel Olcott) อดีตนายทหารชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการดังกล่าวและเป็นแกนนำสำคัญของขบวนการฟื้นฟูพุทธศาสนาในศรีลังกาด้วย โดยหวังจะให้ธงนี้กลายเป็นสัญลักษณ์สากลของพุทธศาสนาเช่นเดียวกับที่ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์นั้นเอง ส่วนผู้ที่ออกแบบรูปลักษณ์และสีสันของธงก็คือ นายแคโรลิส ปูชิถะ คุณวรรเทนะ (Carolis Pujitha Gunawardena) ซึ่งเป็นเลขาธิการของคณะกรรมการดังกล่าวในขณะนั้น ธงนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นธงชาวพุทธทั่วโลกในการประชุมองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกครั้งแรกในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ธงฉัพพัณรังสี (Buddhist Flag) ประกอบด้วยสี 6 สี คือ สีฟ้า หรือ นีละ (ซึ่งแทนความเมตตากรุณาและสันติสุข) เหลืองทอง หรือ ปีตะ (ซึ่งแสดงถึงทางสายกลาง) แดง หรือโลหิต (แทนพรอันประเสริฐจากการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์) ขาว หรือ โอทตะ (แทนความบริสุทธิ์ของพระธรรม ) ส้ม หรือ มันเชสตะ (แทนคำสั่งสอนของพระพุทธองค์) และสีแก้วผลึก หรือ ประภัสสระ (แก่นแท้ของแสง) ซึ่งเกิดจากนำสีทั้งห้าดังกล่าวมาผสมกัน สีทั้งหกนี้เป็นแสงสีที่เปล่งออกมาจากพระวรกายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในขณะที่พระองค์ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ โดยสีฟ้าจะมาจากพระเกศา สีเหลืองทองจากพระฉวี สีแดงคือแสงจากพระมังสาและพระโลหิต สีขาวมาจากพระอัฐิและพระทนต์ และสีส้มคือแสงจากฝีพระโอษฐ์และฝ่าพระบาท ฝรั่งเศสได้ดินแดนญวนทั้งหมดเป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลเหนือลุ่มน้ำโขง โดยในปี พ.ศ. 2428 ได้ดินแดนญวนทั้งหมดเป็นอาณานิคม และในปี พ.ศ. 2436 เกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 112 โดยใช้เรือปืนบีบบังคับให้รัฐบาลไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส 5 กุมภาพันธ์ 2428 ได้บรรจุการทำบัญชีเข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวิชาหนึ่งในแปดอย่างของประโยคสอง ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของ โรงเรียนหลวงในสมัยนั้น 13 กุมภาพันธ์ 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ไปเยี่ยมเรือรบอังกฤษ คือ เรือออเคเซียส เรืออะกาเมนอน เรือวิจิแลนด์ และเรือแดริง ซึ่งเดินทางมาจากฮ่องกง มาทอดสมออยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา 19 มิถุนายน 2428 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ทรงประกอบพิธีเปิดสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานนามว่า ศาลาการต่างประเทศ นับเป็นกระทรวงแรกที่มีสำนักงานขึ้นต่างหากจากที่เคยใช้วังหรือบ้านเสนาบดีกระทรวงนั้นๆ เป็นที่ทำการ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ แต่เนื่องจากแสตมป์ชุดแรกของไทย ไม่มีอักษรภาษาอังกฤษบ่งบอกชื่อประเทศ และไม่มีตัวเลขอาระบิค บ่งบอกราคาแสตมป์ จึงต้องสั่งแสตมป์ชุดใหม่มาใช้ ให้มีชื่อประเทศว่า "SIAM" มีตัวเลขอาระบิคบอก ราคาและมีหน่วยเงินเป็นอัฐ "ATT" ตั้งสำนักงานไปรษณีย์ในจังหวัดต่างๆ โดยเริ่มเปิดแห่งแรกที่สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2428 และแห่งที่สองที่นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2428 ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็ได้เปิดที่ทำการไปรษณีย์ขึ้นในระยะต่อมาตามลำดับ จนครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ 3 กันยายน 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมแผนที่ขึ้น เดิมเป็นโรงเรียนแผนที่ ตั้งเมื่อ พ.ศ.2425 และเป็นหน่วยงานของทหารช่าง กองทหารมหาดเล็ก พระวิภาคภูวดล ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรก กรมแผนที่ได้ย้ายไปขึ้นกับกระทรวงเกษตราธิการ แล้วกลับโอนมาสังกัด กระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2452 วันนี้ถือเป็นวันสถาปนากรมแผนที่ทหาร 4 กันยายน 2428 ยุบกองทหารวังหน้า มารวมกับกองทหารวังหลัง บางส่วนจัดเป็นกองตระเวนทางน้ำ 4 กันยายน 2428 มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศยกเลิกตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทิวงคต เมื่อปี พ.ศ. 2428 ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถาน กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษากับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จากนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในวันที่ 4 กันยายน 2428 และสถาปนาตำแหน่งรัชทายาทขึ้นใหม่ คือ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางเกณฑ์การพิจารณาเจ้านายที่จะดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยทรงระบุให้พระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าที่ประสูติจากพระมเหสีเป็นผู้รับรัชทายาทแต่เนื่องจากในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระภริยาเจ้าที่มีสกุลยศเท่าเทียมกันหลายพระองค์ และทุกพระองค์ล้วนมีพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้คือ พระราชโอรสชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ที่เจริญพระชนมายุสูงกว่าพระองค์อื่นๆ ซึ่งได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ