เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 ก.พ. แต่ละปีมีดังนี้ พ.ศ. 2118 (ค.ศ. 1575) - “มหาวิทยาลัยไลเดิน” เปิดทำการ โดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองไลเดิน ถูกยกให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงด้านต่างๆ ได้แก่ “เรอเน เดการ์ต” นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และเป็นผู้บุกเบิกในวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ “แร็มบรันต์” จิตรกรชื่อดัง เจ้าของฉายา “เจ้าแห่งแสง” “ คริสตียาน ฮอยเกนส์” นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ “บารุค สปิโนซา” นักปรัชญาสายเหตุผลนิยม นอกจากนี้ บรรดาพระราชวงศ์ของเนเธอร์แลนด์ก็ทรงจบการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ได้แก่ สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ มหาวิทยาลัยไลเดิน ในเมืองไลเดิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2215 (ค.ศ.1982) – “เซอร์ไอแซค นิวตัน” อ่านทฤษฎีว่าด้วย “ทัศนศาสตร์ (Opticks)” เป็นครั้งแรก ต่อ “ราชสมาคม” ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ภาพวาดจำลองการทดลองของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” ก่อนได้ทฤษฎีว่าด้วย “ทัศนศาสตร์” ออกมา พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) – จักรพรรดินโปเลียนมหาราช แห่งฝรั่งเศส พ่ายศึกในการยุทธ์ที่สมรภูมิเมืองไอเลา ประเทศรัสเซีย พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) – พายุไซโคลนพัดกระหน่ำตาฮีติ และหมู่เกาะใกล้เคียง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - “จอห์น โลจี เบร์ด” วิศวกรชาวสกอตแลนด์ สาธิตประสิทธิภาพของ “โทรทัศน์สี” ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก “จอห์น โลจี  เบร์ด” กับโทรทัศน์สี ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเขา พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) – เกิดเหตุแก๊สระเบิดภายในเหมืองถ่านหินในเมืองฟุชุน มณฑลเหลียวหนิง ที่ขณะนั้นยังอยู่ในเขตแมนจูเรีย ประเทศจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,000 คน พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) – สหรัฐอเมริกา จัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก” ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – กองทัพญี่ปุ่นข้ามช่องแคบยะโฮร์มาโจมตีเกาะสิงคโปร์ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – คลื่นอากาศหนาวจัดพัดถล่มภูมิภาคยุโรป ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน และแม่น้ำดานูบ กลายสภาพเป็นธารน้ำแข็งเป็นระยะทางกว่า 170 กิโลเมตร