“กฤษฏา" ปลื้มสุด ดันปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติสำเร็จ ให้เป็นของขวัญปีใหม่เกษตรกรผู้เลี้ยงได้เฮ! ยกย่องเจ้าปลานักสู้ เป็นไทยแลนด์โอนลี่ กระตุ้นยอดส่งออกสร้างรายได้เข้าชุมชนเพิ่มขึ้นจากปีละกว่า 115 ล้านบาท วันนี้ (5 ก.พ.62) นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้เสนอปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เข้าที่ประชุมครม.วันนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว หลังจากที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากัด ต่างรอคอยมาเป็นระยะเวลาปีกว่า เรียกร้องให้รัฐบาลมอบเป็นของขวัญปีใหม่ ซึ่งกรมประมง ได้ดำเนินการขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียดรอบด้าน ประเด็นสำคัญสายพันธ์ุ Betta splendens พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น หรือไทยแลนด์โอนลี่ เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศอื่นมาอ้างสิทธินำไปจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งมีการค้นพบในแหล่งน้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 รวมทั้งมีหลักฐานอ้างอิงได้ทางประวัติศาสตร์ถึงความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันกับคนไทยมากกว่าร้อยปี และส่งเสริมการส่งออกให้มากขึ้นจากที่ส่งออก 95 ประเทศ สร้างรายได้เข้าชุมชนท้องถิ่นมูลค่าต่อปีกว่า 115 ล้านบาท ปลากัดสายพันธ์ุ Betta splendens สำหรับหนังสือคําชี้แจงเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรี เรื่องเพื่อพิจารณา ลําดับที่ 6 เรื่อง ขอเสนอให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจําชาติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1.สรุปความเป็นมาของเรื่องที่เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ คร้ังที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจําชาติ การประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ มีมติให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจําชาติ การประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ คร้ังที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีมติให้ปลํากัดไทย เป็นปลําประจําชําติ 2.ข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรี พร้อมเหตุผล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้รัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ประกาศ “ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจําชําติ” โดยมีสาระสาคัญคือ ข้อกฎหมาย -ปลากัดมีความหลากหลายของสายพันธุ์และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัย กรุงธนบุรีจึงไม่เข้าข่ายเป็นการประดิษฐ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีที่ขอรับสิทธิบัตรได้ (พรบ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522) -ปลากัดไม่สามารถจดทะเบียนเป็นส่ิงบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงได้ จากหลายพ้ืนท่ีของประเทศไทย (พรบ. คุ้มครองส่ิงบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546) -ปลากัดไทยได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติเพ่ือการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างย่ังยืน (พรบ. ส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559) 1.มิติด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ -วัฒนธรรม ปลากัดเป็นตัวแทนศิลปะการต่อสู้ ชัยชนะคือความสง่างาม มีคำที่ใช้กันสืบทอด มาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ลูกหม้อ ลูกไล่ ก่อหวอด ถอดสี ติดบิด ในทางพระพุทธศาสนาระบุไว้ชัดเจน และการ สร้างเครื่องรางของขลังของพระเกจิอาจารย์มากมาย -หลักฐานทางประวัติศาสตร์ต้ังแต่สมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏหลักฐาน บันทึกไว้ในรัชกาลที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 7 2.มิติด้านความเป็นเจ้าของ และความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว -กว่า 109 ปี นาย ชาลส์ เทต รีกัน นักมีนวิทยารายงานว่าพบปลากัดที่ประเทศไทยและให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอ้างอิงมาตรฐานหลักของปลากัดไทย (Betta splendens) “Bangkok, the Menam River” ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan, 1910 ชื่อสามัญ : Siamese Fighting Fish, Siamese Betta ต่อมา ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท อธิบดีคนแรกของกรมประมง รายงานว่า ปลากัด (Betta splendens) เป็นปลากัด ที่พบทั่วไปในประเทศไทย นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2554 ดร.ชวลิต รายงานใน The IUCN Red List of Threatened Species ปลากัดมีถิ่นฐานและสายพันธุ์พื้นเมืองไทย - ปลาน้าจืดที่พบในประเทศไทยมี 863 ชนิด ปลากัดที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นกว่า ปลาชนิดอื่นๆ มีความสวยงามและมีแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน ยั่งยืนและสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย -ปลากัดมีความโดดเด่นด้านพฤติกรรมการต่อสู้ สู้ไม่ถอย สู้จนตัวตาย ไม่ยอมให้ใครรุกราน 3.ด้านประโยชน์ใช้สอย -ปลากัดสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับชุมชน -ด้านพันธุศาสตร์ ปลากัดจีน ปลากัดมาเลย์ ปลากัดอินโด ถึงแม้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีที่มาจากสายพันธุ์เดียวกับปลากัดป่าของไทยทั้งสิ้น และผลิตจากเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปลากัดทั่วประเทศ ไทยแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดนครปฐม การพัฒนาสายพันธุ์เน้นที่ความสวยงามจนมีผู้ให้นิยามความงาม ของปลากัดดุจ “อัญมณีใต้น้ำ” -เป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยน าเสนอผ่านสื่อประเภทต่างๆ อาทิ รูปถ่ายปลากัด iPhone การนำเสนอ ภาพปลากัดผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์เป็นจานวนมาก -ปลากัดได้รับการยกย่องจากสื่อระดับโลก อาทิ BBC และหนังสือพิมพ ว่า -ปลากัดสามารถเลี้ยงได้ทั่วโลก ข้อมูลส่งออกกว่า 95 ประเทศ -ปริมาณการส่งออกระหว่างปี พ.ศ.2556-2560 มีค่าเฉลี่ย 20.85 ล้านตัว/ปี ค่าเฉลี่ย 115.45 ล้านบาท/ปี ค่าเฉลี่ย 5.42 บาท/ตัว มีการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันลงชื่อผ่านแคมเปญบนเว็บไซต์ Change.org เพื่อ เรียกร้องรัฐบาลประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจาชาติ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสาคัญของปลากัด จากประชาชนและสื่อมวลชน จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 26 มกราคม 2562) มีประชาชนร่วมลงชื่อแล้วกว่า หนึ่งหมื่นหกพันกว่าคน ความเสี่ยงด้านเอกลักษณ์ของชาติที่เกี่ยวกับปลากัดในอนาคตเป็นของประเทศอื่น ได้ชื่อเรียกจาก Siamese Fighting fish / Siamese เหลือแค่ Fighting fish/Betta หรือ American Betta, German Betta, French Betta, Chinese Betta 3.ข้อเสนอของหน่วยงาน การเสนอครั้งนี้เพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประกาศปลากัดเป็นสัตว์น้าประจาชาติ ซึ่งกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ จะดาเนินการจัดทาฐานข้อมูล สามารถนาไปใช้อ้างอิงเพื่อคัดค้านการจดสิทธิบัตรของ ต่างชาติในประเทศนั้นๆ โดยตรง อีกทางหนึ่งนั้นก็ยังสามารถนาไปอ้างอิงในอนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพได้ด้วยเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยอย่างงดงามมาอย่างยาวนานและสืบไป