เมื่อวันที่ 18 ก.ค.68  นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โพสต์ภาพ พร้อมอข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ว่า...

ตามรอยนิราศสุนทรภู่ย่านฝั่งธนบุรี(2)

ถึงตลาดน้ำคลองบางหลวงใกล้เวลาเที่ยงพาคณะผู้ร่วมเดินทางรัลประทานมื้อเที่ยงฟังเพลงไปพร้อมกับสายฝน แล้วแล้วเดินเล่นสบาย ๆ ชมตลาดจิบกาแฟจนรอบบริเวณ เมื่อเรือมาเทียบท่าหน้าร้านบ้านศิลปิน ขึ้นเรือออกเดินทางต่อในเส้นทางคลองบางหลวงเรื่อยมาจนถึงท่าเรือวัดนวลนรดิสฝั่งตรงข้ามเป็นวัดประดู่ฉิมพลีอธิษฐานขอพรองค์หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณฺโนพ้นเขตวัดนวลฯเป็นปากคลองภาษีเจริญที่จะเชื่อมไปจนถึงดำเนินสะดวกก็จะเป็นวัดปากน้ำภาษีเจริญที่หน้าวัดอยู่ระหว่างปากคลองภาษีเจริญกับคลองด่านเรือเลียวเข้าสู่คลองด่านฝั่งตรงข้ามวัดปากน้ำด้านองค์พระใหญ่และพระมหาเจดีย์เป็นวัดขุนจันทร์ วัดนี้ทำศพขุนพลเพลงลูกทุ่งยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย หน้าน้ำข้างวัดมีร้านนึ่งปลาทูชื่อดังที่ส่งขายตลาด

ตรงข้ามวัดขุนจันทร์ถัดจากฝั่งวัดปากน้ำคืวัดอัปสรสวรรค์หรือวัดหมูที่สุนทรภู่เขียนถึงในนิราศเมืองเพชรเมื่อสุนทรภู่เดินทางไปเมืองเพชรบุรี เมื่อผ่านหน้า วัดหมู จึงเขียนกลอนไว้ใน นิราศเมืองเพชร ว่า

"ถึงบางหลวง ล่วงล่องเข้าคลองเล็ก

ล้วนบ้านเจ็กขายหมู ดูอักโข

มีเมียขาวสวย มันรวยโป

หัวอกโอ้ อายใจมิใช่เล็ก"

ส่วน 'วัดอัปสรสวรรค์' เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดอยู่ในคลองด่าน เขตภาษีเจริญ ปัจจุบันเป็นเขตกรุงเทพฯ แต่ไม่ได้อยู่ในเวียง (เกาะ) รัตนโกสินทร์ เดิมเป็นวัดโบราณ แต่เดิมชื่อ วัดหมู เล่ากันว่าจีนอู๋ เป็นผู้ยกแปลงเลี้ยงหมูสร้างวัดนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดหมู แต่จะสร้างเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด

สองฟากรื่นรมย์คงความเป็นธรรมชาตินั่งเรือมาจนถึงวัดนางชีหรือวัดนางชีโชติการาม วัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางนับเป็นวัดสวย หลายแห่งที่แอบซ่อนย่านฝั่งธนบุรีรูปแบบสถาปัตยกรรมของวัดนางชีโชติการามนั้น เห็นได้ชัดถึงการผสมผสานแบบไทยและจีนเข้าด้วยกันค่ะ ว่ากันตามประวัตินั้น ตั้งแต่สมัยแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ วัดแห่งนี้ก็ได้ถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี หรือ เถียน พ่อค้าชาวจีนที่มาทำการค้าขายและอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยามก็เกิดแรงศรัทธา จึงบูรณะปฏิวังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ด้วยรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบจีน ก่อนจะถวายให้เป็นพระอารามหลวง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชทานพระนามวัดแห่งนี้ว่า วัดนางชีโชติการาม นับแต่นั้นมา

ในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดนางชีโชติการามก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งโดย พระยาราชานุชิต (จ๋อง) แต่ครั้งนี้เป็นการรื้อทั้งหมดและสร้างขึ้นใหม่ด้วยรูปแบบสถาปัตกรรมพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ลักษณะเด่นคือ หลังคาพระอุโบสถ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ลวดลายบนหน้าบันตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบจากจีน นอกจากนี้ตามขอบหน้าต่าง ประตู ก็ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ส่วนซุ้มประตูนั้นมีลักษณะโค้งแบบจีน ซึ่งเป็นการผสานกลิ่นอายของศิลปะไทยและจีนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว วัดแห่งนี่ตรงนี้ก็เป็นฉากในหนัง เจมส์ บอนด์ 007 ตอน เพชฌฆาตปืนทอง ปี ค.ศ. 1974 นำแสดงโดย โรเจอร์ มัวร์ และสุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศเมืองเพชรเมื่อผ่านมาว่า

"ถึงวัดบางนางชีมีแต่สงฆ์

ไม่เห็นองค์นางชีอยู่ที่ไหน

ฤๅหลวงชีมีบ้างเปนอย่างไร

คิดจะใคร่แวะหาปฤกษาชี"

เมื่อพ้นเขตวัดนางชี เส้นสายน้ำคลองด่านพอเลยทางเขตจอมทอง บางบอน ดังในนิราศกล่าวถึง

ก็มืดค่ำอำลาทิพาวาส

เลยลีลาสล่วงทางกลางวิถี

ถึงวัดบางนางนองแม้นน้องมี

มาถึงที่ก็จะต้องนองน้ำตา

คลองด่านก็จะเรียกว่าคลองสนามชัย เลยออกนอกเขตกรุงเทพฯ ก็จะเป็นคลองมหาชัย เป็นคลองที่มีความสำคัญมาก เป็นเส้นทางการค้าการเดินทาง เดินทัพ จากอยุธยาหรือกรุงเทพฯ ลัดไปออกแม่น้ำท่าจีน จากแม่น้ำท่าจีนก็มีคลองตัดไปแม่น้ำแม่กลองอีก จะไปบางกุ้ง ราชบุรี กาญจนบุรี สมัยก่อนก็ใช้ทางนี้ ไว้มีโอกาสจัดทริปล่งเรือไปให้คลองหมาห่อนตามรอย"นิราศเมืองเพชร อัมพวาสวนสวนนอก มนต์รักแม่กลอง"

แวะชมบริเวณวัดนางชีเสร็จก็ย้อนปากคลองด่านกลับสู่คลองบางหลวงหรือคลองปากกอกใหญ่ผ่านวัดสำคัญต่างย่านตลาดพลูจนถึงวัดหงส์รัตนาราม วัดที่พระเจ้ากรุงธนบุรีนิมนต์พระเถระรูปสำคัญจากเมืองแกลงมาจำพรรษาที่พระอารามแห่งนี้จนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช(ชื่น) สังฆราชพระองค์สุดของกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเหตุสำคัญน่าสงสัยว่าพ่อสุนทรภู่ต้องบวชแล้วทำไมถึงอยู่ไกลถึงเมืองแกลงด้วยเหตุผลทางการเมือง ฝั่งตรงข้ามวัดหงส์เป็นย่านพหุลักษณ์วัฒนธรรมมีมัสยิดกุฎิขาว ชุมชนชาวมอญ,ลาว,ขแมร์,ฝรั่ง,จีนรวมกันอยู่

นั่งเรือมาจนสุดท้ายสองฟากระหว่างวัดโมลีฯและวัดกัลยาณมิตรออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตรงป้อมวิชัยประสิทธิ์-วังเดิมที่หลังจากสุนทรภู่ลาสิกขาก็มาทำงานราชการด้วยกับเจ้าฟ้าน้อยหรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่จนบวรราชภิเษกมาทำงานที่วังหน้าจนวาระสุดท้าย ผ่านวัดแจ้งหรือวัดอรุณราชวรารามสุนทรภู่เขียนถึงในนิราศเมืองแกลง

"ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง

แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา"

วัดอรุณฯยังเป็นฉากจบการเดินทางไปนิราศภูเขาทองอีกด้วย นั่งเรือผ่านปากคลองมอญเห็นพระบรมมหาราชวังดังความในนิราศภูเขาทองที่สุนทรภู่รำพึงรำพันออกเดินทางเพื่อไปกราบพระมหาเจดีย์ภูเขาทองที่กรุงเก่า

๏ ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด

คิดถึงบาทบพิตรอดิศร

โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร

แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น"

รอก็มาส่งคณะที่จุดเริ่มต้นเป็นจบทริปตามรอยนิราศสุนทรภู่ย่านฝั่งธนบุรีบางกอกสวนใน ที่สัพานพระราม8เห็นคลองบางยี่ขันที่เป็นโรงเหล้าและด่านอากรผลไม้,โรงสุราในสมัยก่อนและเป็นเขตวังบางยี่ขันของเจ้านายฝ่ายลาว ยที่สามารถ

๏ ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง

มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา

โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา

ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ

สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย

ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย

ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก

สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน

ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป

แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ

จากนิราศภูเขาทอง ซึ่งทริปจะมีอีกรอบในวันที่ 21 กรกฏาคมนี้

ภาพถ่ายทางอากาศ ใครสนใจไปรอบถัดไปหรือมาเป็นกลุ่มเฉพาะแจ้งล่วงหน้ามาได้รับได้ครั้ง 8-9คนและต้องเกี่ยวข้องกับน้ำขึ้น-ลง