"อมรเทพ" ชี้ไทยลดภาษีทรัมป์ 0% ส่งออกไทยหดตัวน้อยกว่าคาด-ลดความเสี่ยสวมสิทธิส่งออก
วันที่ 18 ก.ค.68 ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย โพสต์เฟซบุ๊ค อมรเทพ จาวะลา ระบุว่า
ลองจินตนาการว่า หากไทยบรรลุข้อตกลงการค้ากับสหรัฐได้ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยไทยลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐลงเหลือ 0% ในสินค้าส่วนใหญ่ แม้ไม่ใช่ทุกรายการเหมือนที่เวียดนามและอินโดนีเซียให้สหรัฐ และไทยน่าเจรจานำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น และวางแผนระยะยาวในการลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐ พร้อมเปิดตลาดภาคบริการและการลงทุนให้บริษัทสัญชาติอเมริกันมากขึ้น จนภาษีนำเข้าที่สหรัฐจัดเก็บกับไทยเหลือเพียง 25% ลดลงจาก 36% แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
โอกาสของไทยภายใต้ภาษีสหรัฐที่ต่ำลงเทียบเคียงเพื่อนบ้าน
1. ส่งออกไทยหดตัวน้อยกว่าคาด
ไทยน่าได้เปรียบจากอัตราภาษีที่ต่ำลงจนใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน → ทำให้สินค้าไทย "พอจะแข่งขันได้มากขึ้น"
สินค้าที่พอจะแข่งขันได้:
อิเล็กทรอนิกส์
ชิ้นส่วนยานยนต์
ยางรถยนต์
อาหารแปรรูป
ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ
แต่ถึงอย่างไร การเติบโตด้านส่งออกของไทยน่าจะหดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะสหรัฐจะลดการนำเข้าโดยรวม (จากการเร่งสต๊อกล่วงหน้า + เศรษฐกิจชะลอจากเงินเฟ้อที่จะขยับขึ้น) ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิตของไทยชะลอ การจ้างงาน ชั่วโมงการทำงานและการบริโภคเสี่ยงขยายตัวต่ำในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ข่าวดีคือ ยังน่าพอประคองตัวได้ ไม่หดตัวเช่นกรณีถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง
2. ลดความเสี่ยงจากการ “สวมสิทธิ” ส่งออก
ภาษีสหรัฐที่เข้มงวดทำให้ transshipment (การลักลอบใช้สิทธิไทย) ลดลง
แต่ไทยต้องระวัง: สินค้าที่มี import content สูง อาจถูกมองว่าไม่ได้ผลิตจริงในไทย
ทางแก้:
เร่งสร้างฐานการผลิตในสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ พวกเซมิคอนดักเตอร์
3. การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) อาจเพิ่ม
นักลงทุนย้ายฐานจากจีน มาสู่ไทย ไม่ต้องแย่งเวียดนาม อินโดนีเซียมากนัก
สินค้าเป้าหมาย: กลุ่มที่ถูกเก็บภาษีพอๆกันและเน้นตลาดส่งออกไปสหรัฐ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, แบตเตอรี่, ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ
อย่าลืมว่าผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลงจากอัตราภาษีที่ไทยเก็บจากสินค้านำเข้าจากสหรัฐที่ลดลง เช่น ยาและเวชภัณท์ ผลิตภัณท์อาหาร และอาหารสัตว์ ข้าวโพด ถั่วเหลือง และอื่นๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในกลุ่มนี้
ข้อควรระวัง:
ไทยยังเสียเปรียบด้านโครงสร้างต้นทุน เช่น ค่าแรงสูง ค่าไฟแพง กฎระเบียบซ้ำซ้อน พยายามสร้างจุดขายพวก ESG พลังงานทดแทน
4. นโยบายการคลังควรเน้นประคองเศรษฐกิจ
ช่วยภาคที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนนำเข้าสูง เช่น ภาคเกษตรบางกลุ่ม อุตสาหกรรมที่ไทยลดภาษีนำเข้า อาจต้องมี มาตรการเยียวยาแรงงาน หรือ กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
5. นโยบายการเงินยังผ่อนคลายได้
เงินเฟ้อต่ำ → เปิดทางให้ดอกเบี้ยลดต่ำต่อไปได้
เศรษฐกิจโตช้า → เพิ่มสภาพคล่อง เร่งการปล่อยสินเชื่อ
ภาคท่องเที่ยวยังอ่อนแรง → เสริมความจำเป็นต้องกระตุ้นต่อ
6. บาทอาจแข็งค่าจากความเชื่อมั่น
นักลงทุนมองว่าไทย "เสี่ยงต่ำ" กว่าเวียดนาม อินโดฯ
ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าตลาดทุนไทยมากขึ้น
แต่ต้องคุมไม่ให้บาทแข็งเกินไป → กระทบผู้ส่งออก
7. GDP ไทยรอดภาวะถดถอยทางเทคนิค
แม้เศรษฐกิจไม่หดตัวแรง แต่การเติบโตยังต่ำในมุมไตรมาสต่อไตรมาสความหวังอยู่ที่: ครึ่งหลังของปีหน้า (H2/2026) หากส่งออก-ลงทุนฟื้น และการบริโภคภายในประเทศกลับมาแข็งแรง
บทสรุป
แม้จะไม่ได้บูมเต็มตัว แต่ "ภาษีต่ำลง" เปิดโอกาสให้ไทย รอดได้พร้อมๆ เพื่อนบ้าน ในสภาวะที่สหรัฐกีดกันการค้าเข้มขึ้น แต่ให้จับตาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่อาจยังไม่จบ จนไทยโดนผลกระทบทางอ้อมได้ เช่นนักท่องเที่ยวจีนขยายตัวต่ำ หรือลดลงจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่เปราะบางมากขึ้น
จุดแข็งที่ต้องเร่งต่อยอด:
พัฒนาห่วงโซ่การผลิตในประเทศ
ปรับต้นทุนธุรกิจให้แข่งขันได้
ใช้นโยบายการคลัง-การเงินอย่างแม่นยำ
#เศรษฐกิจไทย #ภาษีสหรัฐ #การส่งออกไทย #การลงทุนจากต่างชาติ #ภาษีต่ำ #นโยบายการคลัง #เงินบาทแข็งค่า #การคลังและการเงิน #เศรษฐกิจโลก #การค้าระหว่างประเทศ #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์ #ข่าววันนี้