สื่อมวลชนสับสนในการใช่คำว่า "ครูใหญ่" และ "อาจารย์ใหญ่" ในการรายงานข่าว พิธีพระราชทานเพลิงศพ "หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ" พระเทพวิทยาคม วัดหนองแวง พระอารามหลวง ในเมือง ขอนแก่น หลวงพ่อคูณได้บริจาคร่างกายของท่านให้แก่คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้ศึกษาทางวิชาแพทย์ นักศึกษาแพทย์ของไทยเรียกศพหรือร่างกายที่เจ้าของร่างมอบให้แก่มหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลว่า "อาจารย์ใหญ่" คือถือว่า เจ้าของร่างเป็นอาจารย์คนหนึ่ง เรียกว่า "อาจารย์" เพราะผู้สอนในมหาวิทยาลัย เรียกกันว่า อาจารย์ ไม่เรียกว่า "ครู" เหมือนผู้สอนในโรงเรียนระดับอนุบาล ประถม และมัธยม คำว่า "อาจารย์ใหญ่" หมายความว่า "อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่"ไม่ใช่อาจารย์ใหญุ่โดยตำแหน่ง ร่างกายหรือศพนั้นเปรียบเหมือนอาจารย์ผู้ให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ นักศึกษาแพทย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจะทำการศึกษาองคาพยพอวัยวะของร่างนั้นก็จะมีการของขมาก่อน คำว่า "อาจารย์ใหญ่" เป็นคำประเภทคำนาม เข้าใจว่า เป็นคำเรียกในวงการศึกษาแพทย์ไทยโดยเฉพาะ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ใช้ซากศพหรือร่างคนตายเป็น "กสิน" อย่างหนึ่ง คือเป้นสิ่งที่ใช้พิจารณา (เรียกว่า "อารมณ์") ในการเจริญ "อสุภกรรมฐาน" มักจะให้พระไปพิจารณาซากศพในป่าช้า ให้เขาเห็นความไม่งามของร่างกาย เพื่อจะได้เกิดสมาธิหรือปัญญา แต่นักศึกษาแพทย์ใช้ศพศึกษากายวิภาค เพื่อให้เกิดความรู้จากของจริง ความรู้ทางด้านการผ่าตัด ความรู้เกี่ยวกับกระดูกและเส้นเอ็น ฯลฯ ของมนุษย์ในการรักษาโรคต่างๆ ได้จาก "อาจารย์ใหญ่" จึงถือว่า ศพที่มีผู้บริจาคให้แก่มหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่มนุษยชาติ หลวงพ่อคูณได้แจ้งความจำนงในการบริจาคร่างกายของท่านก่อนมรณภาพ แก่คณะแพทยศาสตร์ มข. จึงถือว่าท่านเป็น "อาจารย์ใหญ่" ของนักศึกษาแพทย์ที่นั่น "อาจารย์ใหญ่" หลวงพ่อคูณ เป็นอาจารย์ที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แก่ลูกศิษย์ (นักศึกษาแพทย์) ของท่าน ดังคำกล่าวของ รศ. พิพัฒน์พงษ์ (ในไลน์ไม่ระบุนามสกุล) ตอนหนึ่งว่า "ช่วงที่มีการผ่าสรีระอาจารย์ใหญ่หลวงพ่อคูณ ได้ทำอย่างประณีตซึ่งต้องค่อยๆ เปิดเป็นชั้นๆ โดยมีอาจารย์รวม 3 ท่านช่วยกัน สรีระท่านเหมือนสิ่งมหัศจรรย์ เช่น กระดูก เส้นเอ็น เห็นเป็นโทนสีชมพู ซึ่งแตกต่างจากอาจารย์ใหญ่อื่นๆ ทั่วไปที่ออกเป็นสีขาว หรือดำ เรียกว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ร่างแรกที่เราเจอแบบนี้ ส่วนกล้ามเนื้อก็ยังดูสวยงามที่เหมือนช่วงคนอายุมาก เหมือนกับท่านต้องการให้เห็นว่าเป็นอาจารย์ใหญ่จริงๆ ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ก็อธิบายไม่ได้เหมือนกัน" ไลน์บอกอีกว่า ผศ.วิไลวรรณ (ไม่ระบุนามสกุล) หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ในฐานะผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า "ก่อนผ่าหรือก่อนจะทำอะไรบนสรีระของหลวงพ่อจะต้องขอขมาทุกครั้งเหตุการณ์ทุกอย่างเป็นอย่างปกติ ไม่มีอะไรแปลกๆ เกิดขึ้น แต่ช่วงที่นำสรีระขึ้นไปดอง ก็พบเรื่องประหลาดใจ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยพบว่า เล็บทั้ง 10 นิ้วของหลวงพ่อเป็นสีชมพู ซึ่งปกติเล็บอาจารย์ใหญ่จะมีสีน้ำตาลเหลืองๆ ซึ่งเท่าที่ทำหน้าที่ตรงนี้มา 27 ปีก็ไม่เคยเจออาจารย์ใหญ่ที่เป็นแบบนี้เหมือนกัน ทางคณาจารย์ก็ได้แต่สาธุค่ะ ไม่รู้จะพูดอย่างไร อธิบายเรื่องนี้ไม่ได้เหมือนกัน ผศ.วิไลวรรณกล่าวอีกว่า หลวงพ่อมรณภาพเมื่ออายุ 92 ปี ถือว่าอายุมากแล้ว แต่สรีระของท่านมีความสมบูรณ์ทุกอย่าง เว้นแต่ปอดซึ่งท่านเป็นโรคมาก่อน และสมองที่ฝ่อตามวัย อวัยวะส่วนอื่นเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของนักศึกษาทุกส่วน "ท่านเป็นอาจารย์ที่สมบูรณ์แบบและเป็นพระอริยสงฆ์ท่านแรกที่ได้มาเป็นอาจารย์ใหญ่ ของ ม.ขอนแก่น" ผศ. วิไลวรรณกล่าว (ไลน์เรื่อนี้ ได้จาก "ไทยรัฐออนไลน์" เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2562) หลวงพ่อคูรมรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 11.45 ณโรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา สิริอายุ 92 ปี ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี (พ.ศ. 2487) จึงนับพรรษาตั้งแต่อุปสมบทได้ 70 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2543 (ปีที่ทำพินัยกรรมมอบสรีระให้แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น) หลวงพ่อคูณท่านพูดล่วงหน้าว่า ท่านจะมรณภาพปี 2547 แต่เพราะทางโรงพยาบาลพยายามยื้อชีวิตท่านไว้อย่างสุดความสามารถ ปีมรณภาพของท่านจึงเลื่อนจากปี 2547 เป็นปี 2548 หลวงปู่คูณทราบว่า ถ้าศพของท่าน ถ้าศพของท่านตั้งอยู่ที่วัดบ้านไร่ก็จะเป็นภาระแก่ทางวัดเป็นอันมาก คงจะเหลือวิสัยที่ทางวัดจะรองรับการมาของญาติโยมและพระเณร เพื่อถวายสักการะศพของท่านจึงทำพินัยกรรมต่อหน้าพยามบุคคล 4 ท่านคือ 1 รศ.สุชาติ เกิดผล รองคณะบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทย์ศาสตร์ มข. 2 นายประทีป วงษ์กาญจนรัตน์ (ญาติ) 3 นายธวัช เรืองหร่าย (ไวยาวัจกร วัดบ้านไร่) 4 นายเนาวรัตน์ สังการกำแหง (นิติกร 8 มหาวิทยาลัยขอนแก่น) เนื้อหาในพินัยกรรมนั้น เขียนว่า "อาตมาหลวงพ่อคูณ อายุ 77 ปี ถิ่นพำนักวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2543 ขอทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อถึงการมรณภาพเกี่ยวกับการจัดงานศพของอาตมา ภายหลังที่อาตมาถึงมรณภาพลง 1.ศพของอาตมา ให้มอบแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากมรณภาพลง เพื่อให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมอบให้กับภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำไปศึกษาค้นคว้าตามวัตถุประสงค์ของภาคต่อไป 2.พิธีกรรมศาสนา การสวดอภิธรรมศพ ให้คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำพิธีสวดอภิธรรมศพที่คณะแพทยศาสตร์ 7 วัน ตั้งแต่วันมรณภาพลง 3.การจัดทำพิธีบำเพ็ญกุศลเมื่อสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้าของภาควิชากายภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดงานแบบเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชใดๆ และห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกศและพระราชพิธีอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทำพิธีเช่นเดียวกับการจัดพิธีศพของอาจารย์ใหญ่นักศึกษาแพทย์ประจำปี ร่วมกับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผา ณ ฌาปนสถาน วัดหนองแวง พระอารามหลวง ต.ในเมือง อ. เมือง จ.ขอนแก่น หรือวัดอื่นใดที่คณะแพทยศาสตร์เห็นสมควรและเหมาะสม โดยทำพิธีเผาให้เสร็จสิ้นที่จ.ขอนแก่น 4.เมื่อดำเนินตามข้อ 3 เสร็จสิ้นแล้ว อัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ให้คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นนำไปลอยที่แม่น้ำโขง จ.หนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม 5.ค่าใช้จ่ายและเงินอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนัย ข้อ 2,3 และ 4 ให้ดำเนินการดังนี้ 5.1ค่าใช้จ่ายในการจัดงานและบำเพ็ญกุศลศพทั้งหมดให้นำเงินที่อาตมาบริจาคให้แก่ ภาควิชา วิทยาศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2536 เป็นเงินเริ่มต้นในการดำเนินการจัดงานศพถ้าไม่เพียงพอ ให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นทดรองจ่ายไปก่อน 5.2ในการจัดการและบำเพ็ญกุศลศพ ตามนัยข้อ 5.1 หากมีเงินเหลือหรือมีผู้บริจาคสมทบ ให้คืนเงินที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทดรองจ่ายไปก่อนให้เสร็จสิ้น 5.3หากมีเงินเหลืออยู่อีก หลังจากดำเนินการตามนัยข้อ 5.1 และข้อ 5.2 แล้ว ให้มอบแก่กองทุนพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญวัศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์) เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธประจำหอผู้ป่วยหอสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือให้ดำเนินการอย่างอื่นตามที่อาตมาหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เห็นสมควร โดยอาตมาจะแสดงความประสงค์ให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมแนบไว้ให้ทราบต่อไป หากไม่ดำเนินการให้ถือตามความในตอนต้นเท่านั้น 6.ให้นายอำเภอค่ายขุนทด ศึกษาธิการอำเภอด่านขุนทด และคณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกันเป็นผู้จัดการศพมีอำนาจคำเนินการให้เป็นไปตามพินัยกรรมนี้ 7.ให้ยกเลิกพินัยกรรมฉบับวันที่ 15 ก.ย.2536 หรือฉบับอื่นใดที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ และให้ยึดถือพินัยกรรมฉบับนี้แทน 8.พินัยกรรมฉบับนี้ ต้นฉับเก็บรักษาไว้ที่คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้มีการทำสำเนาไว้อีก 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่วัดด่านขุนทดและนายอำเภอด่านขุนทดแห่งละ 1 ฉบับ ยังมีเรื่องให้เขียนถึง "หลวงพ่อคูณ" อีกครับ