วันที่ 15 ก.ค.68 นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...

การตรวจวินิจฉัย โรคไข้สูง เกล็ดเลือดต่ำ

โดยปกติผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง 39-40 องศา C เหมือนไข้เลือดออก และเกล็ดเลือดจะค่อยๆต่ำลงแต่จะต่ำลงอย่างช้าๆ ในผู้ป่วย ที่เป็นรุนแรง จะมี ความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆได้

การตรวจวินิจฉัย ส่วนใหญ่จะตรวจหาตัวไวรัส RNA โดยใช้เลือดผู้ป่วย ที่แยกมาเป็นเซรั่มหรือ Plasma จะส่งมาเป็นเลือดเซรั่มหรือ Plasma ก็ได้ ผู้เจาะเลือดหรือผู้ที่สงสัยจะต้องมีมาตรการในการป้องกันในขณะเจาะเลือด และใส่ในถุง bioharzard ส่งแบบสมัยโควิด เมื่อมาถึงห้องปฏิบัติการ โดยหลักการแล้วเชื้อตัวนี้ ต้องป้องกันและมีขั้นตอนปฏิบัติการเพื่อป้องกันผู้ตรวจ โดยจะทำการฆ่าเชื้อก่อน ใช้ความร้อน 56 องศา เป็นเวลานาน 30 นาที ก่อนที่จะนำ ตัวอย่างมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ เราจะไม่ได้มีการเพิ่มจำนวนเชื้อที่มีชีวิต เช่นเพาะเชื้อ ถ้าจะทำจะต้องทำในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 ขึ้นไป เนื่องจากยังเป็นโรคใหม่และวิธีการติดต่อยังไม่ทราบ 100%

การตรวจสามารถทำได้ด้วยวิธี RT PCR หรือ real time PCR คล้ายกับโควิด 19 ซึ่งเราได้พัฒนามาหลายปีแล้ว มีความไวสูงและความจำเพาะที่ถูกต้อง ในรายที่ผู้ป่วยเป็นมาแล้วหลายวัน การตรวจที่ดีจะเป็นการตรวจหาภูมิต้านทาน IgG และ IgM และอาจจะต้องใช้ paired samples หรือตัวอย่าง 2 ช่วงเวลา

ตัวอย่างสามารถส่งมาได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ตึกสกชั้น 9 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยติดต่อมาที่ผมก่อน และ ขอประวัติผู้ป่วยด้วยผู้ว่าการประเมินที่ถูกต้อง