บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด แถลงแนวทางการดำเนินธุรกิจของฮอนด้า โดยมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนด้วยยานยนต์ไฟฟ้า โดย มร.โทชิฮิโระ มิเบะ ผู้อำนวยการ ประธานกรรมการบริหาร และตัวแทนเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของตลาด EV และการปรับกลยุทธ์ทิศทางใหม่ ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ยังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง ผนวกกับความไม่แน่นอนทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากหลายปัจจัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำหรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานอย่างแพร่หลาย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้าของประเทศต่าง ๆ ฮอนด้า จึงจำเป็นต้องสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ลูกค้า เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ผันผวน และไม่ใช่เพียงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า แต่ยังผนวกการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงด้วย เพื่อนำเสนอคุณค่าเหล่านั้นไปยังลูกค้าในวงกว้างได้มากยิ่งขึ้น พร้อมเข้าถึงได้ง่ายและจับต้องได้

 ฮอนด้า จะปรับกลยุทธ์ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ 2 ทิศทาง คือ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ไฮบริด (HEV) ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ และเสริมรากฐานธุรกิจให้แข็งแกร่ง ผ่านการปรับพอร์ตโฟลิโอด้านระบบขับเคลื่อนใหม่ อีกทั้งเตรียมพัฒนาระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ (ADAS) เจเนอเรชันใหม่ พร้อมผนวกความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ รวมถึงปรับแผนเปิดตัวรถใหม่ เนื่องด้วยการชะลอตัวของตลาด EV ทั่วโลกที่ส่งผลให้เป้าหมายสัดส่วนยอดขาย EV ทั่วโลกของฮอนด้าในปี 2030 อาจต่ำกว่าเป้าหมาย 30% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า โดยนับจากนี้จะเน้นขุมพลังไฮบริด เป็นหลักในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะรถยนต์ไฮบริด (HEV) เจเนอเรชันใหม่ที่จะเปิดตัวตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป พร้อมเร่งขยายไลน์อัปไฮบริดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการปรับแนวทางนี้ ฮอนด้า ตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายในปี 2030 ให้มากกว่าระดับปัจจุบันที่ 3.6 ล้านคัน โดยมีเป้าหลักอยู่ที่ยอดขายรถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่ 2.2 ล้านคัน

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์ ผ่านการพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) เจเนอเรชันใหม่อย่างแพร่หลาย เสริมแกร่งกลยุทธ์ EV ฮอนด้า มุ่งพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบไฮบริด e:HEV ทั้งขนาดเล็ก และ ขนาดกลางให้เป็นระบบขับเคลื่อนที่มีความก้าวหน้าในแง่มุมต่าง ๆ โดยพัฒนาต่อยอดบนระบบไฮบริด 2 มอเตอร์เดิม ผนวกเข้ากับ ตั้งเป้าพัฒนาระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด e:HEV เจเนอเรชันใหม่ ให้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่ดีขึ้น 10% รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนให้กับรถไฮบริด (HEV) ของฮอนด้า และปรับต้นทุนของระบบฯ ลง 50% เมื่อเทียบกับระบบไฮบริดที่ติดตั้งในรถยนต์ที่เปิดตัวรุ่นปี 2018 และลดลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับระบบไฮบริดที่ติดตั้งในรถยนต์ที่เปิดตัวในปี 2023 ในรุ่นปัจจุบัน แนวคิดของฮอนด้า ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคแห่ง EV อย่างเต็มรูปแบบ ฮอนด้า คาดว่าเป้าหมายสัดส่วนยอดขาย EV ทั่วโลกของฮอนด้าในปี 2030 อาจลดลงต่ำกว่าเป้าที่ 30% ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า เนื่องด้วยการชะลอตัวของตลาด EV ทั่วโลก โดยยังคงเชื่อมั่นในแนวคิดว่ายานยนต์ไฟฟ้า (EV) คือหนทางสำคัญในการมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ดังนั้นฮอนด้า จะยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการเตรียมรากฐานความพร้อมที่มั่นคง เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต  ไลน์อัป Honda 0 Series (ฮอนด้า ซีโร่ ซีรีส์) ที่นับเป็นเสาหลักของธุรกิจ EV ของฮอนด้าในอนาคต จะมีการเผยโฉมรถยนต์รุ่นแรกในไลน์อัปในปีหน้า ซึ่งฮอนด้า จะส่งมอบคุณค่า SDV (Software-Defined Vehicle) ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคนผ่านฟังก์ชัน “ultra-personal optimization” ผ่านการทำงานร่วมกันของระบบปฏิบัติการยานยนต์ ASIMO OS และระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่/ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (AD/ADAS) ที่ได้นำเสนอไปในงาน CES 2025 Honda 0 Series เจเนอเรชันถัดไป จะมาพร้อมสถาปัตยกรรมยานยนต์แบบ Centralized E&E Architecture เพื่อมอบระบบ AD/ADAS ที่ล้ำสมัยยิ่งขึ้น บทสรุปการปรับกลยุทธ์ EV  ฮอนด้า มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ ๆ ที่มีเอกลักษณ์ สอดรับกับยุคสมัยแห่งยานยนต์อัจฉริยะ และผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งมอบความสนุกสนานในการขับขี่ (Joy of Driving) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะรถยนต์ฮอนด้า เตรียมใช้โลโก้ H Mark ดีไซน์ใหม่ ในรถไฮบริดเจเนอเรชันใหม่ของฮอนด้า ที่จะเริ่มเปิดตัวสู่ตลาดในปี 2027 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าในไลน์อัป Honda 0 Series ที่ได้เปิดตัวไปก่อนหน้า สะท้อนสัญญะแห่งการเปลี่ยนผ่านในธุรกิจยานยนต์ของฮอนด้า ระบบการผลิตและการจัดสรรทรัพยากรด้านการผลิต มุ่งดำเนินงานตามกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่นสูง โดยเตรียมจัดทำระบบการผลิตที่มีความยืดหยุ่น ที่สามารถปรับการผลิตได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการและเป้าการขายได้ ผ่านการสร้างสายการผลิตที่สามารถผลิตได้ทั้ง EV และ HEV เพื่อรองรับกับการเติบโตของการจำหน่ายรถไฮบริดอย่างต่อเนื่อง และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าในระยะกลางถึงระยะยาว พร้อมจัดตั้งห่วงโซ่อุปทานในแนวคิด “ผลิตสินค้าให้ใกล้ชิดลูกค้า” ซึ่งเป็นแนวคิดของ “การผลิตในท้องถิ่นเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น” เพื่อเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานให้แข็งแกร่งขึ้น และสามารถรองรับกับทุกการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดได้ในอนาคต

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในธุรกิจรถจักรยานยนต์ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ฮอนด้า ได้เริ่มวางจำหน่ายรุ่น Active e: และ QC1 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยได้มีการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศอินเดียเมื่อปีก่อน ขณะเดียวกัน ฮอนด้ายังได้เริ่มจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก อย่างรุ่น CUV e: และ ICON e: ในประเทศอินโดนีเซียเป็นแห่งแรก และมีแผนขยายตลาดต่อไปยังเวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ สำหรับรุ่น CUV e: ฮอนด้ามีกำหนดวางจำหน่ายในภูมิภาคยุโรปและประเทศญี่ปุ่นภายในปีนี้ โดยฮอนด้าจะดำเนินการพัฒนาโมเดลไฟฟ้า พร้อมทั้งจัดตั้งโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะที่มีประสิทธิภาพสูงในประเทศอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในปี 2028 ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างธุรกิจจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยฮอนด้าวางแผนที่จะนำเสนอรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้น พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตเมื่อดำเนินการเช่นนี้แล้ว ฮอนด้าจะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความโดดเด่นและการพัฒนาระบบซัพพลายเชนที่ครอบคลุมทั้งในกลุ่มเครื่องยนต์สันดาป (ICE) และกลุ่มรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยในระยะยาว ฮอนด้าตั้งเป้าสร้างฐานธุรกิจที่มั่นคงด้วยส่วนแบ่งตลาดระดับโลกที่ 50% และอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (ROS) มากกว่า 15% ภายในปีงบประมาณ 2531 (ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2031)

เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่รวดเร็วและมีความผันผวน ฮอนด้าจะปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากรอย่างยืดหยุ่นและทันการณ์ พร้อมทั้งจัดตั้งธุรกิจยานยนต์ที่พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต และยังคงมุ่งเน้นการปรับปรุงผลกำไรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างรายได้ที่มั่นคงจากธุรกิจรถจักรยานยนต์ ฮอนด้าจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนแม้ในสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ฮอนด้าได้ตัดสินใจนำอัตราส่วนเงินปันผลต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DOE) มาใช้ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการรักษาผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ ด้วยวิธีการนี้ ฮอนด้าจะสามารถเสริมสร้างโครงสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งมอบผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่องแก่ผู้ถือหุ้นควบคู่กันไป