เมื่อวันที่ 25 พ.ค.68 นพ.วีระพันธ์ สุวรรณนามัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Veerapun Suvannamai" ระบุว่า เรื่องจริง! อีก 3 ปี ระบบสาธารณสุขจะพัง ในขณะที่ประชาชนยังไม่รู้ตัว!

(ใครไม่อยากให้พังฝากตะโกนดังๆ คนละแชร์ เพื่อช่วยประเทศไทยครับ)

ทุกวันนี้หลายคนยังรู้สึกอุ่นใจว่า “ไปโรงพยาบาลแล้วรักษาฟรี”

บัตรทองทำให้เรารักษาได้โดยไม่ต้องควักเงินจ่ายตอนป่วย — ฟังดูดีมากครับ

แต่ในฐานะคนทำงานในระบบสาธารณสุข ผมอยากเล่าให้ฟังตรง ๆ ว่า ข้างในระบบนี้มันกำลังพังลงอย่างช้า ๆ และถ้าไม่รีบแก้

อีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า เราอาจไม่มีระบบนี้ให้ใช้กันอีกเลย

โรงพยาบาลรัฐ ขาดทุนหนัก แต่คนไข้ไม่รู้

วันนี้ โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศกำลังขาดทุนอย่างหนักครับ

 • มีถึง 218 แห่งที่เงินบำรุงติดลบ

 • อีก 91 แห่งเหลือเงินไม่ถึง 5 ล้านบาท ซึ่งน้อยเกินจะเอาไว้รับมือวิกฤตอะไรได้

 • ต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยในอยู่ที่ 13,000 บาทต่อราย

 • แต่ สปสช. จ่ายให้แค่ 7,100 บาท เท่านั้น (ข้อมูลปี 2568)

โรงพยาบาลไม่ได้กำไรจากใคร ไม่มีนักลงทุน ไม่มีผู้ถือหุ้น

รายได้ทั้งหมดก็ใช้เพื่อรักษาคนไข้

แต่ตอนนี้ ผมเห็นด้วยตาตัวเองว่า หลายแห่งต้องควักจ่ายเองเกือบครึ่ง และมันไม่ไหวแล้วครับ

นโยบายดี แต่ไม่มีเงินพอจะทำ

ผมไม่ได้ค้านนโยบายใหม่ ๆ เลย เช่น

 • ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงบ้าน

 • ให้คนไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน

 • เจาะเลือดถึงที่บ้าน

ฟังดูดีและช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลได้จริง

แต่คำถามคือ… แล้วงบมาจากไหน?

เพราะตอนนี้แค่รักษาคนไข้หนัก ๆ ยังแทบไม่มีเงิน

บางแห่ง ICU เตียงเต็ม คนไข้รอคิว

ในขณะที่งบก้อนหนึ่งกลับถูกใช้ไปกับบริการที่ “เบา” กว่า และควบคุมต้นทุนได้ง่ายกว่า งบที่เคยมี… กำลังหายไปทีละปี

ตอนหลังโควิด เคยมีเงินในระบบสูงถึง 80,000 ลบ. แต่ลดลงปีละเกือบ 20,000 ลบ.  ตอนนี้เหลือประมาณ 40,000 ลบ.  คาดว่าอีกไม่ถึง 3 ปี อาจไม่มีเหลือ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

และมีแนวโน้มว่าจะ “หมด” ภายใน 3 ปี

ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ — นี่คือข้อมูลจากโรงพยาบาลจริง ๆ

ถ้าไม่มีใครเริ่มแก้ตอนนี้ เราจะเห็นโรงพยาบาลทยอยเจ๊ง

และระบบที่เคยรักษาคุณได้ฟรี อาจไม่มีให้คุณใช้อีกต่อไป

ถึงเวลาที่ทุกคนรงมถึง สปสช ต้องพูดความจริง

วันนี้คนในระบบเริ่มพูดกันตรง ๆ ว่า ต้องกล้ายอมรับว่า “ระบบมีปัญหา” และรีบหาทางแก้ด้วยกัน

ข้อเสนอที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง:

 • หยุดเพิ่มสิทธิประโยชน์แบบไม่ดูงบ

 • ปรับอัตราค่ารักษาให้ตรงกับต้นทุนจริง

 • ถ้ามีนโยบายใหม่ ต้องชัดเจนว่า ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

 • ตั้งกองทุนช่วยโรงพยาบาลที่กำลังล้ม

 • ใช้ทรัพยากรให้เหมาะกับระดับความรุนแรงของผู้ป่วย

ประชาชนควรรู้ความจริง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ผมเข้าใจดีครับว่าทุกคนอยากได้บริการที่ดี รวดเร็ว และไม่ต้องเสียเงิน

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ระบบแบบนั้นต้องมีคนแบกรับต้นทุน

ถ้าไม่มีใครแบก… สุดท้ายก็จะพังไปทั้งระบบ

ผมไม่ได้เขียนเพื่อให้ใครตกใจ

แต่เขียนเพื่อบอกว่า ถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันแล้วครับ

ถ้าเราไม่เริ่มจากการ “ยอมรับความจริง” วันนี้

วันหน้าคำว่า “รักษาฟรี” อาจจะเหลือแค่ในความทรงจำ

สรุปจากงานสัมมนา “ทิศทางการดำเนินงานระบบบัตรทองในปัจจุบันและอนาคต“