รองผู้อำนวยการ อ.ต.ก. เผยผลตอบรับสุดปังหลังนำผลไม้ไทยเข้าร่วมงาน “Thai Festival Tokyo 2025” เปิดตลาดเกษตรเมืองร้อนคุณภาพสูง พร้อมเดินหน้าสร้างความร่วมมือทางการค้าอย่างยั่งยืน
บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร อ.ต.ก. หลังได้นำสินค้าเกษตรไทยเข้าร่วมงาน “Thai Festival Tokyo 2025” งานเทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2568 ณ สวนสาธารณะโยโยงิ
นายต่อกุล คำถาเครือ
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)
ภาพรวมความสำเร็จของการจัดแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นอย่างไร
“ภาพรวมความสำเร็จในการจัดแสดงสินค้าในครั้งนี้ ถือว่าเป็นงานที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะว่า อ.ต.ก. ได้นำสินค้าเกษตรเมืองร้อนมูลค่าสูง ส่งตรงจากเกษตรกรไปเปิดตลาดที่ประเทศญี่ปุ่น ให้ทางคนญี่ปุ่นเองได้รับรู้แล้วก็สัมผัสเกี่ยวกับสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ซึ่งได้มาตรฐาน GAP แม้ทางคนญี่ปุ่นเองได้รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของตัวที่เราแนะนำ ในเรื่องผลตอบรับดีมาก เช่น มังคุด มะม่วงมหาชนก มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ทุเรียน มะพร้าว แล้วก็ทางด้านของผลไม้อบแห้ง ที่เราเอาไปถือว่ามีผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เราเห็นถึงความสำเร็จของการออกงานในครั้งนี้”
ผลตอบรับจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นและผู้เข้าร่วมงาน
“สำหรับผลตอบรับจากผู้บริโภคของชาวญี่ปุ่นและผู้เข้าร่วมงาน เห็นได้ชัดเลยว่าผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นสนใจผลไม้ไทยมากๆ สิ่งที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นก็คือทุเรียน บางท่านอาจจะเคยเห็นแค่ในรูปภาพ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นพอเห็นลูกทุเรียนสุก เค้าให้ความสนใจมาก ๆ ตลอดจนมังคุด ซึ่งตรงนี้สร้างความตื่นตาตื่นใจไม่ว่าจะเป็นในรูปลักษณ์ของผลไม้ไทยมีคุณภาพสุง และก็เรื่องของรสชาติ ซึ่งมีความโดดเด่นซึ่งผลตอบรับจากผู้ร่วมงานให้ความสนใจมากบูธ อ.ต.ก.คนแน่นมาก”
ผลไม้ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในงาน
“ผลไม้ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ เริ่มที่ มังคุด ปีนี้ทาง อ.ต.ก. ได้คัดสรรมังคุดคุณภาพสูงจากเกษตรกร มาที่จัดแสดงในงาน ซึ่งมังคุดของเรามีเนื้อขาวแล้วก็ฟูและก็เรียกว่ามีรสชาติที่ดีมากๆ พอเฉือนออกมาผู้บริโภคเห็นแล้วร้อง "ว้าว!" กันเลย ของเราถือว่าดีมาก ๆ ตามมาด้วยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และมะม่วงมหาชนก คนญี่ปุ่นจะบอกว่า "อร่อย" ระหว่างที่เราโปรโมท “ไทยแมงโก้” คนญี่ปุ่นจะออกเสียงเป็น “ไทยมั้งโก้” เขาจะชอบมากไทยมั้งโก้ เค้าจะไม่ออกเสียง “ไทยแม้งโก้” เหมือนบ้านเรา พอเค้าเห็นปุ๊บ เค้ายังสร้างความแปลกใจอยู่ว่าเค้าไม่เคยสัมผัสกับรสชาติมะม่วงของเราที่ให้รสชาติความหวาน ความหอม ที่อร่อยมาก ๆ พอหลังจากได้ชิมคนญี่ปุ่นก็ตัดสินใจซื้อทันที ตัวที่สาม คือ ทุเรียน Fresh Cut ซึ่งคนญี่ปุ่นจะทานแบบเนื้อค่อนข้างนิ่มนิดนึงพร้อมทานทันที ประกอบกับตัวทุเรียนหมอนทองที่เราคัดสรรจากเกษตรกรไทยไป มีรสชาติ ความหอม อร่อยที่ขึ้นจมูก แม้ว่าเปิดออกมาตอนแรกกลิ่นอาจจะฉุนนิดหน่อย แต่พอชิมแล้วทุกคนไม่มีใครปฏิเสธความอร่อยได้”
ความคาดหวังจากการเข้าร่วมงานในด้านการเปิดตลาดใหม่ในญี่ปุ่น
“ความคาดหวังที่ได้จากการเข้าร่วมงาน คาดว่าอนาคตภาคการเกษตรของทางประเทศไทยเอง รวมถึงหน่วยงานของ อ.ต.ก.เอง น่าจะมีโอกาสเปิดตลาดผลไม้ ที่สอดคล้องกฎหมายการของการนำเข้าของประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้นเพราะประเทศไทยเองยังมีผลไม้ที่ดีคุณภาพสูงที่น่าสนใจอีกหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มทางด้านของ ส้มโอ ชมพู่ และผลไม้ประเภทอื่น ที่ให้รสชาติและกลิ่นที่ดี สินค้าเกษตรเมืองร้อนมูลค่าสูง ของเรายังมีอีกหลายประเภทคิดว่าหลังจากการร่วมงานแล้วน่าจะมีโอกาสเปิดตลาดมากขึ้น”
โอกาสในการต่อยอดสู่ความร่วมมือด้านการค้าในระยะยาว
“จริงๆโอกาสในการต่อยอดสู่ความร่วมมือการค้าระยะยาว มองว่า จริง ๆ เราต้องมีคู่ค้าในระยะยาวหรือตัวแทนจำหน่ายที่เรียกว่ามีการเชื่อมโยงสู่ร้านค้าในตลาดญี่ปุ่นนะครับ เรามองว่าตัวแทนจำหน่ายเป็นประเด็น “Key Success” ตัวหนึ่งเลยที่คิดว่าน่าจะทำให้เราเจาะตลาดเข้าไปที่ร้านค้าในญี่ปุ่น สนใจเลือกซื้อผลไม้ไทยได้เพราะฉะนั้นเวลาที่ผ่านกระบวนการส่งออกตัวแทนจัดจำหน่ายจะมีความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้น เราจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้จัดจำหน่าย และคัดเลือกสินค้าสินค้าเกษตรเมืองร้อนมูลค่าสูง เพื่อเจาะตลาดในญี่ปุ่นอย่างยั่งยืน”
บทบาทของ อ.ต.ก. ในการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพสูง
“ตอนนี้ อ.ต.ก. เร่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพสูงทาง หลักเกณฑ์ของ มกอช. (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและระบบการผลิตครบวงจร รวมถึงระบบทางด้านของการปลูก การทำเกษตรเพื่อให้ได้หลักเกณฑ์ของ GAP และในส่วนไหนที่เราจะต้องผ่านโรงงานคัดบรรจุ ตัดแต่ง เพื่อบรรจุสินค้าเกษตรเมืองร้อนคุณภาพสูงเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการส่งออก”
ภารกิจของ อ.ต.ก. ในการพัฒนาและขับเคลื่อนตลาดสินค้าเกษตรเป็นอย่างไร
“ภารกิจของ อ.ต.ก. คือการรวบรวมสินค้าเกษตรเมืองร้อนคุณภาพสูง และได้ติดต่อทางด้านเกษตรกรรายใหญ่ที่คัดสรรสินค้าเกษตรคุณภาพมูลค่าสูง คุณภาพดีจะขยายเพาะปลูกแปลงใหญ่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในส่วนที่ญี่ปุ่นยังไม่มี ก็ยังมีแผนสำรองรับ เช่น ส้มโอ ยังสนใจที่จะนำเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งที่ไทยก็ยังมีส้มโอ หลายชนิด ถ้าทางญี่ปุ่นยอมให้ทางส้มโอเข้าไปทำตลาดได้ ทางอ.ต.ก. มีสวนที่น่าสนใจสำหรับส้มโอ รวมถึงผลไม้ประเภทอื่น ๆ อีกด้วย”
แนวโน้มความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าเกษตรไทย
“แนวโน้มความต้องการตลาดสินค้าไทยในญี่ปุ่น กับการที่ไปออกงานมาสินค้าไทยไม่ได้มีแค่ผลไม้สดนะครับ นอกจากนั้นจะมีเครื่องปรุง ผัก ผลไม้แปรรูป เท่าที่เห็นสินค้าภายในงานซึ่งขายดีทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ในงานนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่น และมองว่าสินค้าเกษตรไทยมีโอกาสเติบโต ตั้งใจจะพัฒนาสินค้าเกษตรคุณภาพสูงให้มีคุณภาพอย่างที่คนญี่ปุ่นต้องการให้ตรงจุด”
แผนการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้นในอนาคต
“แผนพัฒนาสินค้าในขณะที่จะให้ตอบโจทย์มากขึ้น อย่างแรกคือการเจาะ Consumer Research เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของตลาดญี่ปุ่น ทางเราต้องทำการบ้านอย่างหนักเพราะตอนนี้เราเปิดทางได้แล้วว่าสินค้าไทย ทั้งผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปที่มาจากประเทศไทยคนญี่ปุ่นสนใจมากขึ้น อ.ต.ก.จำเป็นจะต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานทางที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อเก็บข้อมูลทำในเชิงวิจารณ์เพื่อได้ศึกษาเพื่อตรงเข้าไปเจาะตลาดได้ตรงจุดมากขึ้น”
แนวทางการส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยในตลาดต่างประเทศต่อไป
“แนวทางการส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ ณ วันนี้เราต้องควบคุมมาตรฐานให้ได้ มาตรฐานการปลูก มาตรฐานการบรรจุ รวมถึงการตรวจสอบทั้งด้านความปลอดภัยต่าง ๆ รวมถึงการรับรองจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งทั้งนี้สินค้าเกษตรไทยทุกการผลิตตอบรับตามนโยบายที่สอดคล้องกับการส่งออกต่างประเทศอยู่แล้วและมีความเข้มงวดมากขึ้น ในอนาคตรักษามาตรฐานคงไว้เพื่อรักษาคุณภาพและทางด้านชื่อเสียงชื่อเสียงของประเทศไว้ต่อไป”
การเตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมถัดไปเป็นอย่างไร
“คือจริงๆแล้วเราเตรียมความพร้อมต้องเช็คในเรื่อง Regulation ในการนำเข้าของผลไม้ไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น เพราะในส่วนของ อ.ต.ก. เชื่อมอยู่กับเกษตรกร ถ้าโจทย์เราทราบชัดเจนว่าถ้าปีหน้าจะนำอะไรเข้าไปได้บ้างเราก็จะคัดสรรผลผลิตที่ดีที่สุด ไปแสดง ทาง อ.ต.ก. เตรียมความพร้อมในเรื่องของรวบรวมผลไม้”