วันนี้ (23 ม.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. - "บิ๊กบัว" พล.ต.ท. สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น ผช.น. มอบหมายให้ พล.ต.ต. จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. เป็นประธานในพิธีปล่อยแถว พร้อมด้วย พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ ผบก.จร., รอง ผบก.น.1 – 9 และรอง ผบก.จร.เข้าร่วมพิธีปล่อยแถวตามมาตรการ “ล้างท่อ รอรับรถ” เพื่อแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ข้าราชการตำรวจจราจร 88 สน. และบก.จร. ทั้งหมดกว่า 150 นาย พร้อมรถยกประจำ บก.น.1 – 9 และ จร. รวม 21 คัน เพื่อทำหน้าที่บังคับใช้กฏหมาย กับผู้ที่กระทำความผิดเน้นข้อหาจอดรถ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพการจราจร ได้แก่ 1. จอดในที่ห้ามจอด 2.จอดรถซ้อนคัน 3.จอดรถกีดขวางการจราจร โดยจะใช้มาตรการ “ยกรถ” เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร ในถนนที่สำคัญ 21 สายหลักทั่วกรุงเทพมหานครตามที่กรมควบคุมมลพิษได้เตือนให้ประชาชนทราบถึงค่าฝุ่นละออง PM.25 ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานและปกคลุมมีลักษณะคล้ายหมอกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือ สภาพการจราจรที่ติดขัดเป็นเวลานาน ทำให้รถปล่อยควันพิษและฝุ่นละอองดังกล่าว และเกิดการสะสมอยู่ในบรรยากาศเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร พล.ต.ท. สุทธิพงษ์ กล่าวว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาจราจร และลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเร่งดำเนินการตามมาตรการอย่างเข้มงวด รายละเอียดดังนี้ 1. มาตรการเร่งรัดการจราจร 1.1 การเข้าประจำจุดควบคุมสัญญาณไฟในช่วงเวลาเร็ว - ช่วงเร่งด่วนเช้า ก่อนเวลา 06.00 น. - ช่วงเร่งด่วนเย็น ก่อนเวลา 14.30 น. 1.2 การจัดเจ้าหน้าที่ต ารวจประจ าจุดที่มีปัญหาการจราจรในพื้นที่ เพื่ออำนวยการจราจรและ บังคับใช้กฎหมาย เช่น ซอยที่ตัดกระแสการจราจร, โรงเรียน, ตลาด, สถานีรถไฟ เป็นต้น 1.3 การจัดชุดปฏิบัติการ เพื่อตรวจและแก้ไขปัญหาทางแยกในพื้นที่ในช่วงนอกเวลาเร่งด่วนระหว่างเวลา 11.00 – 14.30 น. 2. มาตรการบังคับใช้กฎหมาย 2.1 การบังคับใช้กฎหมายตามข้อบังคับว่าด้วยการห้ามรถบรรทุกเดินรถในเขตกรุงเทพมหานครโดยเคร่งครัด ดังนี้ - รถบรรทุก 6 ล้อ ห้ามเดินรถ ระหว่างเวลา 06.00 น. –09.00 น. และ เวลา 16.00 น. –20.00 น.ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร - รถบรรทุก 10 ล้อ ห้ามเดินรถ ระหว่างเวลา 06.00 น. – 10.00 น. และ เวลา 15.00 – 21.00 น. ในเขตกรุงเทพมหานคร 2.2 การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการนำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน เกินเกณฑ์ที่ กฎหมายกำหนด มีมาตรการดังนี้ 1) มาตรการ การเพิ่มจุดตรวจควันดำ รอบกรุงเทพฯ ชั้นนอกจากจำนวน 12 จุด เป็น 20 จุด 2) เน้นการบังคับใช้กฎหมาย - พรบ.จราจร กวดขันจับกุมรถยนต์ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ (ควันดำ) เกินกว่า ค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด มีอัตราโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และทำบัญชีรายละเอียดรถที่ก่อให้เกิดมลพิษ ตาม พรบ.ขนส่ง ส่งให้กรมการขนส่งทางบกเร่งรัดดำเนินการให้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตาม มาตรฐาน หากไม่ดำเนินการให้ใช้มาตรการไม่ต่อภาษี หรือสั่งห้ามใช้รถ - พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมควบคุม มลพิษ กวดขันจับกุม รถยนต์ ขนาดเล็ก ซึ่งมีค่าควันดำเกินกว่าตรฐาน โดยติดสติ๊กเกอร์ระงับการใช้รถชั่วคราว และให้ปรับเปลี่ยนแก้ไขภายใน 30 วัน หากในระหว่างนี้มีการนำรถมาใช้และถูกตรวจจับอีก จะใช้อำนาจสั่ง ห้ามใช้รถ และเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 5,000 บาท - พรบ.ขนส่งทางบก ร่วมกับเจ้าหน้าที่ขนส่งในการตรวจวัดรถบรรทุกที่มีค่าควันดำ เกินกว่ามาตรฐาน หากตรวจพบจะใช้มาตรการระงับการใช้รถ โดยการพ่นสีทำสัญลักษณ์ และให้ดำเนินการแก้ไขภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ในการดำเนินการทั้ง 3 พรบ. จะได้มีการรวบรวมจำนวนรถ รายชื่อผู้ขับขี่ และผู้ประกอบการ สรุปให้เห็นภาพว่า รถที่เพิกเฉยต่อมาตรการควบคุมมลพิษ มีจำนวนเท่าใด และเป็นของผู้ใด เพื่อจะได้ออกมาตรการกดดันหรือกฎหมายอื่นต่อไป 2.3 การบังคับใช้กฎหมายในข้อหาที่ส่งผลต่อปัญหาจราจร (มาตรการ “ล้างท่อ รอรับรถ”) เน้นการกวดขันจับกุมข้อหา 1) จอดรถในที่ห้ามจอด 2) จอดรถซ้อนคัน 3) จอดกีดขวางการจราจร พล.ต.ท. สุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า การพิจารณาใช้มาตรการยกรถเพื่อไม่ให้รถกีดขวางการจราจร โดยกำหนดห้วงเวลาดังนี้ 1) วันที่ 18 – 24 ม.ค.62 การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้มาตรการยกรถ 2) วันที่ 25 ม.ค.62 เป็นต้นไป เริ่มดำเนินการมาตรการยกรถ 3. มาตรการคืนพื้นผิวการจราจร ให้ทุก สน. สำรวจพื้นที่การก่อสร้าง และเชิญเจ้าของโครงการและบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง มาร่วมประชุม เพื่อขอความร่วมมือในการคืนพื้นผิวจราจรในจุดที่ไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว เริ่มด าเนินการตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.62 เป็นต้นไป โดยจะมีการรายงานและ ติดตามผลการปฏิบัติมายัง ฝอ.บก.02 ทุกวัน จากปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศ ด้วยความหนาแน่น ความคับคั่งของการจราจรรวมถึงเขม่าควัน และฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ส่วนใหญ่เกิดจากการ เผาไหม้เครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ของทั้งรถยนต์ใหม่และเก่า เกิดจากการสันดาปภายในของเครื่องยนต์ ดีเซลและมีปริมาณสูงสุดช่วงรถติดมาก ๆ ส่งผลให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง ตามนโยบายของรัฐบาลที่มีความห่วงใยต่อสุขภาพของประชาชน กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ดำเนินการตามมาตรการอย่างเข้มงวดเพื่อแก้ไข ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จึงขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภารกิจ สำคัญในครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี