ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์คชศึกษา(คต-สะ-สึก-ษา) หมู่บ้านช้าง ต.กะโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ นายกิติเมศวร์ รุ่งธนิเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สุรินทร์ เป็นประธานเปิดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติครั้งที่ 14 เพื่อการกระตุ้นการท่องเที่ยวและพิธีประกาศวิชาคชศาสตร์ (คต-สะ-สาด) ตำราการคล้องช้างและเลี้ยงช้างของชุมชนชาวกูย ต.กระโพ อ.ท่าตูม ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวกูย ที่ทำการคล้องป่ามาเลี้ยงในครัวเรือนตั้งแต่ในอดีต สืบทอดติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จนเป็นหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงช้างมากที่สุดในโลก ในปัจจุบันมีช้างเลี้ยง ในหมู่บ้านและศูนย์คชศึกษากว่า 300 เชือก โดยมีศิลปินจากต่างชาติ เข้าร่วมงาน 16 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮังการี อินโดนีเซีย เนปาล โปแลนด์ รัสเซีย เกาหลีใต้ ศรีลังกา อุซเบกิสถาน เนปาล อิสราเอล สหรัฐอเมริกา อินเดีย มอร็อกโค มาเลเชีย และบังคลาเทศ ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ อบจ.สุรินทร์ ได้สนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาการนำช้างออกไปเร่ร่อนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และควาญช้างได้นำช้างเข้าร่วมโครงการนำช้างคืนถิ่น กว่า 270 เชือก กลับบ้านเกิด และ อบจ.สุรินทร์ ได้จัดสร้างโครงการโลกของช้าง หรือ Elephant World เพื่อให้ช้างทุกเชือกได้อยู่ในพื้นที่มีอาหารเลี้ยงอย่างสมบูรณ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของช้างในรูปแบบธรรมชาติ และได้ประกาศความเป็นมาของวิชาคชศาสตร์ การคล้องช้างและเลี้ยง ที่มีเพียงแห่งเดียวในโลก โดยบรรดาศิลปินจาก 16 ประเทศ ที่ได้เดินทางมาร่วมการแสดงในครั้ง ได้เยี่ยมชม ความฉลาดแสนรู้ การแสดงของช้างภายในศูนย์คชศึกษาและที่สำนักสงฆ์ป่าอาเจียง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม อย่างประทับใจ จากนั้นได้มีการแสดงของศิลปินพื้นบ้านชาวต่างชาติบนเวที ของ อบจ.สุรินทร์ ภายในศูนย์คชศึกษา ทั้งการแสดงของนักเรียนโรงเรียนช้างบุญ ต.กระโพ การ่ายรำตำนานคล้องช้าง การรักษาผู้ป่วย ด้วยเสียงดนตรี ตามความเชื่อแกลเมอ รำแม่มด การแสดงของประเทศศรีลังกา อินเดีย อุซเบกิสถาน โปร์แลนด์ และประเทศรัสเชีย สร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้น แก่นักท่องเที่ยวและศิลปินจากต่างประเทศที่เดินทางมาร่วมงานนี้ โดยเฉพาะการได้สัมผัสช้างอย่างใกล้ชิด กับช้างแสนรู้ กว่า 30 เชือก ภายในสำนักสงฆ์ป่าอาเจียงและชมการแสดงของช้างภายในศูนย์คชศึกษา อบจ.สุรินทร์ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว หมู่บ้านช้างและศูนย์คชศึกษา ได้เป็นอย่างดีแพร่กระจายไปทั่วโลก