นายนริศ นิรามัยวงศ์ ผวจ.สมุทรสาคร ในฐานะประธานฯ จัดการประชุมหารือร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจ.สมุทรสาคร ตามแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ให้กับ ศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ” ก่อนผลักดันเข้าสู่ระบบการศึกษาจังหวัดฯโดย มีนายอาคม ศาณศิลปิน ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร, ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสมุทรสาคร และตัวแทน กอ.รมน.จังหวัดฯ พร้อมหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมหารือทิศทางการเรียนการสอนเตรียมนำเข้าสู่ระบบทางการศึกษา ทั้งนี้โดยการพิจารณาตรวจสอบของแนวทางการดำเนินงาน ภายใต้ข้อบังคับใช้กฎหมายของศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ เพื่อตรวจสอบหลังการปฏิบัติเป็นไป บทตามบัญญัติแห่งกฎหมายฯหรือไม่

โดยจากการรายงานของ สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระบุว่า ในปัจจุบันพบมีศูนย์การเรียนสำหรับเด็กข้ามชาติ รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง มีเด็กข้ามชาติเข้ารับการดูแลและศึกษาอยู่ในศูนย์ต่างๆ ประมาณกว่า 800 คน โดยจำแนกเป็น 1. ศูนย์อบรมและส่งเสริมความรู้ภาษาแก่เด็กข้ามชาติ (สัญชาติเมียนมาร์) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย โดยขณะนี้มีองค์กรหรือเครือข่ายมูลนิธิ LPN ในฐานะเป็นผู้ดูแล ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน, 2. ศูนย์ฝึกอบรมและส่งเสริมความรู้ภาษาพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็ก มีเครือข่ายมูลนิธิ LPN ผู้ดูแล อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่บ้านมหาชัยเมืองใหม่ ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร, 3.ศูนย์ฝึกอบรมภาษา ศาสนาวัฒนธรรม และการศึกษาเรียนรู้เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อสังคมของแรงงาน เด็กข้ามชาติในสมุทรสาคร มีเครือข่ายจาก มูลนิธิ LPN เป็นผู้ดูแล ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านมหาชัยนิเวศน์ ต.โคกขาม อ.เมืองฯ, 4.ศูนย์มาริส เพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น มีเครือข่าย ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนา ผู้ควบคุมดูแล ตั้งอยู่ที่ใน (ซอยหลังตลาดกลางกุ้ง) ต.มหาชัย อ.เมืองฯ และ ศูนย์คาทอลิกนักบุญยออากิม เพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น มีเครือข่าย ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนา เป็นผู้ดูแล 

จากการตรวจเช็คดูด้านข้อมูลศูนย์ฯในจำนวน 5 แห่ง พบว่า ขณะนี้ยังไม่เปิดดำเนินการเนื่องจากบ้างแห่งพบการปฏิบัติไม่เป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายของจังหวัดฯ อาทิ สถานที่ตั้งศูนย์ของมูลนิธิฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นอกพื้นที่ตั้งของมูลนิธิฯ ส่วน อาคารสถานที่เรียนไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด, การจ้างครูและบุคลากรทางการศึกษา, การจัดหลักสูตรทางการศึกษา และ ด้านการยื่นเอกสารขอทำการจัดตั้งศูนย์ฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตามนั้นในปีการศึกษาที่กำลังจะเปิดภาคเทอม (16 พ.ค.68)ใหม่นี้ โดยทางศูนย์การเรียนของเด็กข้ามชาติทั้ง 5 แห่ง ยังไม่สามารถไม่สามารถเปิดดำเนินการได้

"ซึ่งหากที่ใดมีเปิดรับเด็กเข้ามาเรียน(เพิ่ม) จะถือว่า เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งต้องถูกดำเนินการทางกฎหมายต่อไป โดยขณะที่แนวทางการแก้ปัญหาให้กับเด็กข้ามชาติ ประมาณ 800 คนที่เข้ารับการศึกษาในศูนย์การเรียนฯ ทั้ง 5 แห่งนั้น ล่าสุดทาง สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดฯ ได้มีการจัดหาสถานที่เรียนเพื่อให้ไว้รองรับแล้ว รวมทั้งหมด 43 โรงเรียน

ทั้งนี้ล่าสุดปรากฏว่า ยังไม่มีผู้แทนศูนย์การเรียนฯ หรือทางผู้ปกครองของเด็กบ้าง มีเข้าไปติดต่อที่โรงเรียน เพื่อขอนำบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ เข้าเรียนร่วมกับเด็กไทยในปีการศึกษาที่กำลังจะเปิดเทอมนี้ อย่างไรก็ตามซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ยังไม่รับรู้ หรือทราบข้อมูลข่าวสาร ที่ภาครัฐต้องให้บุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษา หรือไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขก็ได้ เป็นต้น”